ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยกับสมรรถนะที่จำเป็นด้านการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในวิถีชีวิตแบบใหม่ สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • รศ.ดร.อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ภัทรกร จันทวร
  • พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์

คำสำคัญ:

สมรรถนะด้านการฟื้นฟูสภาพ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, โรคหลอดเลือดสมอง, วิถีชีวิตแบบใหม่

บทคัดย่อ

สมรรถนะที่จำเป็นด้านการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในวิถีชีวิตแบบใหม่  สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)  มีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย ของ อสม. ซึ่งการวิจัยแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะที่จำเป็นด้านการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในวิถีชีวิตแบบใหม่ สำหรับ อสม. จังหวัดนครราชสีมา เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามในตัวอย่างที่เป็นอสม. จำนวน 200 คน สถิติเชิงพรรณนาที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน)  และหาความสัมพันธ์ โดย Multiple logistic regression นําเสนอค่า Adjusted OR พร้อมช่วงเชื่อมั่น 95% และ ค่า p-value

ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะที่จำเป็นด้านการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในวิถีชีวิตแบบใหม่ สำหรับ อสม. ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.70, S.D.=0.54) โดยพบว่า ด้านทัศนคติมากที่สุด ( =3.86, S.D.=0.62) รองลงมาคือ ด้านความรู้ ( =3.69, S.D.=0.62) และด้านทักษะ ( =3.59, S.D.=0.57) อสม. ส่วนใหญ่มีสมรรถนะที่จำเป็นด้านการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในวิถีชีวิตแบบใหม่ อยู่ในระดับสูง จำนวน 128 คน คิดเป็นร้อยละ 64.0 ทั้งนี้เมื่อควบคุมปัจจัยอื่นๆ พบว่า ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนมีความสัมพันธ์กับสมรรถนะที่จำเป็นด้านการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในวิถีชีวิตแบบใหม่ สำหรับ อสม. (AOR=31.02, 95% CI: 11.65-82.59, p-value<0.001)

สรุปและข้อเสนอแนะ อสม. มีสมรรถนะที่จำเป็นด้านการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในวิถีชีวิตแบบใหม่ ระดับมาก ปัจจัยด้านประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนมีอิทธิพลต่อสมรรถนะที่จำเป็นด้านการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในวิถีชีวิตแบบใหม่ สำหรับ อสม. ดังนั้นการพัฒนาสมรรถนะด้านการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในวิถีชีวิตแบบใหม่ สำหรับ อสม. ครอบคลุมทั้งด้านทัศนคติ ความรู้ และทักษะ โดยเน้นให้ อสม.
มีประสบการณ์ด้านการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้ อสม. มีความสามารถในการแนะนำ หรือฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนให้ช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2554). คู่มือ อสม.ยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงสาธารณสุข. (2559). คู่มืออาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) กลุ่มดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD). นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. (2565). แผนและมาตรการ Endemic การบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น (Endemic Approach to COVID-19). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2566). จำนวนและอัตราป่วย/ตาย ปี 2559-2562. ค้นเมื่อ 28 มกราคม 2566, จาก https://ddc.moph.go.th/dncd/new.php?new=39911

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2567ก). จำนวนและอัตราตาย 5 โรคไม่ติดต่อ ปี 2560-2564. ค้นเมื่อ 28 มกราคม 2566, จาก https://ddc.moph.go.th/dncd/new.php?new=39911

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2567ข). จำนวนและอัตราตาย 5 โรคไม่ติดต่อ ปี 2561-2565. ค้นเมื่อ 28 มกราคม 2566, จาก https://ddc.moph.go.th/dncd/new.php?new=39911

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2559). คู่มืออาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือ อสม. หมอประจำบ้าน. ค้นเมื่อ 25 มกราคม 2566, จาก https://ddc.moph.go.th/www_hss/data_center/dyn_mod/OSM_Doctor.pdf

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, อลงกรณ์ เปลกาลี, จำเนียร ชุณหโสภาค, & ชาติชาย สุวรรณนิตย์ (2559). บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในทีมหมอครอบครัว. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(2), 6-16.

จารุวรรณ ปิยหิรัญ. (2563). ความรู้และทักษะที่จำเป็นของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในสถานการณ์การ แพร่ระบาดทั่วโลกของเชื้อไวรัสโคโรนา 19. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 34(3), 152-163.

ฉัตรทอง จารุพิสิฐไพบูลย์, นฤมล เปรมาสวัสดิ์, อารีย์รัตน์ เปสูงเนิน, นงณภัทร รุ่งเนย, & ผุสดี ด่านกุล. (2563). แนวทางการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30(3), 74-89.

ชุลีกร คงบุญ. (2566). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อมาตรฐานสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดนครพนม. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ, 4(1), 139-149.

ฐิติมา พรหมศิริ. (2563). การแพทย์วิถีใหม่ (New Normal of medical service). วารสารกรมการแพทย์, 46(1), 50-51.

ทัศนีย์ ตันติฤทธิ์ศักดิ์. (2563). แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. กรุงเทพฯ: สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์.

ปัฐยาวัชร ปรากฏผล. (2560). พยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคเรื้อรัง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, 28(1), 112-121.

ปิยนุช ภิญโย, กิตติภูมิ ภิญโย, เพชรไสว ลิ้มตระกูล, สมศักดิ์ เทียมเก่า, จิราพร วรวงศ์, วิฑูรย์ เชื้อสวน, และคณะ. (2558). การพัฒนา การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในบริบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 35(2), 93-111.

พิศักดิ์ ชินชัย, ศิริพันธุ์ คงสวัสดิ์, สุรพงศ์ กาบวัง, & นิรันดร์ จันทร์ชัย. (2565). คุณภาพชีวิตและการมีส่วนร่วมในชุมชนของผู้พิการจากโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ณ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(ฉบับเพิ่มเติม 2), s304-s317.

ยุพดี ตรีชาลา. (2565). สมรรถนะการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.). วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วัฒนีย์ ปานจินดา, & พุทธวรรณ ชูเชิด. (2559). การดูแลแบบองค์รวมในการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร, 5(2), 70-78.

สถาบันประสาทวิทยากรมการแพทย์, สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย. (2563). แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคระบบประสาทในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

สมเกียรติ โพธิสัตย์ และคณะ. (2557). การทบทวนวรรณกรรมสถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. นนทบุรี: อาร์ต ควอลิไฟท์.

สมตระกูล ราศิริ, สุชาดา อินทรกําแหง ณ ราชสีมา, & ธิติรัตน ราศิริ. (2564). บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 7(2), 80-97.

สมศักดิ์ เทียมเก่า. (2560). Stroke Network. วารสารประสาทวิทยา, 33(1), 57-60.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. (2565). ข้อมูลสุขภาพ. ค้นเมื่อ 25 มกราคม 2566, จาก http://www.korathealth.com/ korathealth/index.php

อรจิรา พลจร. (2563). สมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ.

อังคณา หิรัญภิญโญภาศ, & กัญญดา ประจุศิลปะ. (2559). ปัจจัยทำนายสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพหน่วยผู้ป่วยวิกฤตหัวใจและหลอดเลือด. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 27(2), 71-84.

Daniel, W. W. (1999) Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences (7th ed.). Hoboken: John Wiley & Sons.

Kiess, H. O. (1989). Statistic concept for behavior sciences. Biston: Allyn and Bacon.

Yaowapanon, N., Buddhirakkul, P., Srisuphan, W., Senaratana, W., Potempa, K., & Chontawan, R. (2018). Situational analysis: Community care for survivors of stroke and suggestions for improving the provision of care. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 22(4), 372-385.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-19