ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแสวงหาระบบบริการสุขภาพของพระสงฆ์ จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐกิตต์ แสงขัน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สินีนาฏ ชาวตระการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วราภรณ์ บุญเชียง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พัลลภ เซียวชัยสกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ระบบบริการสุขภาพ, พฤติกรรมการแสวงหาบริการสุขภาพ, พระสงฆ์

บทคัดย่อ

การดำเนินชีวิตของพระสงฆ์มีข้อจำกัดในหลายด้านที่ส่งผลต่อการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ เมื่อมีอาการเจ็บป่วยจึงเลือกระบบสุขภาพที่แตกต่างกันตามความเหมาะสมของตนเอง การศึกษาวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการแสวงหาระบบบริการสุขภาพของพระสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่างพระสงฆ์ ที่อยู่
จำพรรษาในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 311 รูป ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากรายชื่อพระสงฆ์โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล และได้วิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการแสวงหาระบบบริการสุขภาพของพระสงฆ์โดยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก (Logistic Regression Analysis) ด้วยโปรแกรมวิเคราะห์สถิติสำเร็จรูป

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เคยรับการถวายความรู้ด้านสุขภาพ (64.95%) และเกือบครึ่งหนึ่งไม่เคยรับถวายการตรวจสุขภาพประจำปี (49.52%) ซึ่งจากการศึกษาครั้งนี้ พบว่า ประเภทวัด (Adj OR=1.88; 95%CI: 1.10-3.20) การทราบสิทธิรักษาพยาบาล (Adj OR=1.98; 95%CI: 1.11-3.50) และการสนับสนุนทางสังคม (Adj OR=0.97; 95%CI: 0.94-0.99) เป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการแสวงหาระบบบริการสุขภาพของพระสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่อย่างนัยสำคัญทางสถิติ

ดังนั้น พฤติกรรมการแสวงหาระบบบริการสุขภาพของพระสงฆ์ที่เหมาะสม ควรดำเนินไปภายใต้การเลือกระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ เพื่อป้องกันความรุนแรงของโรคและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

Author Biographies

ณัฏฐกิตต์ แสงขัน, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สินีนาฏ ชาวตระการ, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ระบาดวิทยา, ระเบียบวิธีวิจัย, การบริหารสาธารณสุข

วราภรณ์ บุญเชียง, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การส่งเสริมสุขภาพในชุมชน และพฤติกรรมศาสตร์สุขภาพ สารสนเทศสาธารณสุข

พัลลภ เซียวชัยสกุล, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ระบาดวิทยาของโรคไม่ติดต่อ ชีวสถิติ

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2567). ปี 67 เดินหน้าสร้างสุขภาวะ ‘พระสงฆ์’ พระแข็งแรง วัดมั่นคง ชุมชนเป็นสุข. ค้นเมื่อ 4 มกราคม 2567, จาก https://www.bangkokbiznews.com/health/public-health/1106851

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, & คณิศร เต็งรัง. (2554). วิถีชุมชน เครื่องมือ 7 ชิ้นที่ทำให้งานชุมชนง่ายได้ผลและสนุก (พิมพ์ครั้งที่ 9). นนทบุรี: สุขศาลา.

คณิศฉัตร์ วุฒิศักดิ์สกุล. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์ในเขตอำเภอฝางจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ, 24(1), 71-83.

จงจิตร อังคทะวานิช. (2560). สงฆ์ไทยไกลโรค-เข้าพรรษา-อย่าลืมตักบาตรถาม(สุขภาพ)พระ. ค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2565, จาก https://www.nationalhealth.or.th/index.php/en/node/937

ธวัชชัย ยืนยาว, นรีมาลย์ นีละไพจิตร, & จุฬารักษ์ กวีวิวิธชัย. (2560). พฤติกรรมการแสวงหาบริการสุขภาพของผู้สูงอายุชาวกูยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(3), 120-132.

นิภาพร นามมันทะ. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมแสวงหาบริการสุขภาพของบุคคลที่มีความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระครูพิพิธสุตาทร. (2561). พระสงฆ์กับระบบหลักประกันสุขภาพโจทย์ใหญ่ที่ยังต้องขับเคลื่อนอีกมาก. ค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2566, จาก https://www.hfocus.org/content/2018/09/16305

พระครูรัตนกิจจาภิวัฒน์, สิทธิพรร์ สุนทร, & เสาวลักษณ์ นิกรพิทยา. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตพระสงฆ์ในเขตอำเภอ

รัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(2), 16-30.

พระครูสุวิธานพัฒนบัณฑิต, ธวัลรัตน์ แดงหาญ, & สรัญญา วภัชชวิธี. (2558). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพองค์รวมของพระสงฆ์ในจังหวัดขอนแก่น โดยเน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่าย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น, 22(2), 117-130.

พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี, & พระมหาพรชัย สิริวโร. (2565). รูปแบบวัดสมานรัตนารามที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 29(2), 21-53.

พระมหามินภัทร คำชะนาม. (2552). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระวิสิทธิ์ ฐิตวิสิทโธ (วงศ์ใส), พระครูปลัดธันรบ โชติวํโส (วงศ์ษา), & สันติพงษ์ มูลฟอง. (2566). การศึกษาปัญหาพระภิกษุสงฆ์และสามเณร ไร้รัฐ ไร้สัญชาติ: การเข้าถึงบริการสาธารณสุข จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 10(2), 13-24.

พระอธิการเฉลิม กนฺตสาโร, & ศิริโรจน์ นามเสนา. (2565). พระคิลานุปัฏฐาก: บทบาทการดูแลสุขภาวะพระสงฆ์. วารสารวิจยวิชาการ, 5(2), 275-284.

โรงพยาบาลสงฆ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานประจำปี 2565 โรงพยาบาลสงฆ์. ค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.priest-hospital.go.th/pdf/2565/mobile/index.html

ศศวรรณ อัตถวรคุณ, นิตยา งามดี, & วิเชษฐ์ เชิดสันเทียะ. (2562). สุขภาพพระสงฆ์ในเขตเมือง: ปัญหาที่ควรได้รับการดูแล.

วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 63(พิเศษ), 177-184.

ศิโรรัตน์ โชติกสถิต, & เสาวนีย์ พงผึ้ง. (2553). ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระนอง. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 6(3), 297-307.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2566). ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พุทธศักราช 2566. กรุงเทพฯ: วุฒิวัฒน์

การพิมพ์.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2562). คู่มือการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสำหรับพระภิกษุสามเณร. นนทบุรี:

สหมิตรพริ้นติ้ง พับลิชชิ่ง.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2564). สปสช.เผยภาพรวมกลุ่มพระสงฆ์เข้าถึงหลักประกันสุขภาพมากขึ้น. ค้นเมื่อ วันที่ 3 ธันวาคม 2566, จาก https://www.nhso.go.th/news/3382

อลงกรณ์ สุขเรืองกูล, ทวีลักษณ์ วรรณฤทธิ์, ประทับจิต บุญสร้อย, & ไพโรจน์ อุตศรี. (2560). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ในจังหวัดเชียงราย. พยาบาลสาร, 44(พิเศษ2), 38-48.

อัมพิกา ชุมมัธยา, & ณวิทย์ อ่องแสวงชัย. (2561). การขยายตัวของเมืองกับการเปลี่ยนแปลงบริบทของย่านเมืองเก่าในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม, 5(1), 61-81.

Brook, R. H., Ware J. E., Jr., Davies-Avery, A., Stewart, A. L., Donald, C. A., Rogers, W. H., et al. (1979). Essentials of psychological testing (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Dhand, N. K., & Khatkar, M. S. (2014). Statulator: An online statistical calculator, sample size calculator for comparing two paired proportions. Retrieved August 24, 2020, from http://statulator.com/SampleSize/ ss2PP.html

House, J. S. (1981). Work stress and social support. Reading, MA: Addison-Wesley.

Kleinman, A. (1978). Culture, illness and care. Annuals of Internal Mediicine, 88(2), 251-258.

Kleinman, A. (1980). Patial and healer in the context of culture. London: University of California.

Poortaghi, S., Raiesifar, A., Bozorgzad, P., Golzari, S. E., Parvizy, S., & Rafii, F. (2015). Evolutionary concept analysis of health seeking behavior in nursing: A systematic review. BMC Health Services Research, 15(1), 523.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-19