การพัฒนาหลักสูตรการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแบบบูรณาด้านเศรษฐกิจ สังคม และ สุขภาพ โดยใช้โรงเรียนผู้สูงอายุเป็นฐาน ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • รศ.ดร.อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแบบบูรณาการด้านเศรษฐกิจ สังคม และ สุขภาพ โดยใช้โรงเรียนผู้สูงอายุเป็นฐาน และ ศึกษาผลลัพธ์ของการพัฒนา การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ระยะที่ 2 พัฒนาหลักสูตร และ ระยะที่ 3 การศึกษาผลลัพธ์การพัฒนา กลุ่มเป้าหมายเลือกแบบเจาะจง จำนวน 126 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ สถิติเชิงอนุมาน Paired t-test นำเสนอด้วยค่า Mean difference, 95%CI และ p-value

ผลการวิจัย พบว่า 1) หลักสูตรการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแบบบูรณาด้านเศรษฐกิจ สังคม และ สุขภาพ โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน จำนวน 2 หลักสูตร ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุในพื้นที่ที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมตามหลักสูตร ประกอบด้วยสาระการเรียนรู้ 3 ด้าน คือ ด้านสังคม ด้านสุขภาพ และ ด้านเศรษฐกิจ และ 2) ผลลัพธ์ของการพัฒนาหลักสูตร พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยรวม หลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงขึ้น (Mean diff.=4.16, 95%CI: 3.93-4.38) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.001

References

จรัญญา วงษ์พรหม, คีรีบูน จงวุฒิเวศย์, นวลฉวี ประเสริฐสุขม, & นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2558). การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ. Veridian E-Journal, Slipakorn University. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(3), 41-54.

นริสา วงศ์พนารักษ์, จุฑามาศ คชโคตร, & กัญจน์ณิชา เรืองชัยทวีสุข. (2562). คุณภาพชีวิตและความพึงพอใจในชีวิตผู้สูงอายุในคลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวขัว อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(4), 1-10.

มนัส จันทร์พวง, วิยะณี ดังก้อง, ปาริฉัตร กุลเกลี้ยง, สุภาพร ธนะขว้าง, ณัฐกมล บัวบาน, & เอกภพ นิลพัฒน์. (2560). การพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่, 3(1), 87-102.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ยุพิน ทรัพย์แก้ว. (2559). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 9(2), 25-39.

รวิพรรดิ พูลลาภ. (2562). การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุกรณีศึกษาโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย ตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์, 8(1), 1-13.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. (2563). รายงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. ค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2564, จาก http://nma.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_ pk.php

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. (2540). เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก ทุก 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง.

อภิวัฒชัย พุทธจร. (2564). การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้วยหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี. มหาจุฬานาครทรรศน์, 7(11), 25-40.

อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง, & ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์. (2561). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะผู้สูงอายุในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง โรงเรียนผู้สูงวัยสัมฤทธิ์วิทยา ตำบลสัมฤทธิ์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสำนักงานควบคุมป้องกันโรคที่ 9 นครราชสีมา, 24(2), 80-89.

อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง, ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์, & รชานนท์ ง่วนใจรัก. (2564). การพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการดูแลสุขภาพและป้องกันการเกิดภาวะพึ่งพิงในกลุ่มผู้สูงอายุ. วารสารควบคุมโรค, 47(4), 1005-1015.

อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง, ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์, พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์, รชานนท์ ง่วนใจรัก, & ศิริพร พึ่งเพ็ชร์. (2562). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมในโรงเรียนผู้สูงอายุ. ในการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 11 “ถักทองานวิจัยท้องถิ่น...ก้าวไกลสู่สากล” (Connecting Local Research to International Perspectives) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 6-7 สิงหาคม 2562. (หน้า 1111-1120). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

Kemmis, S., & McTaggart, C. (1998). The action research planner (3rd ed.). Victoria: Deakin University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-24

How to Cite

สิงห์ศาลาแสง ร. (2025). การพัฒนาหลักสูตรการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแบบบูรณาด้านเศรษฐกิจ สังคม และ สุขภาพ โดยใช้โรงเรียนผู้สูงอายุเป็นฐาน ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 17(4), 14–124. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/267431