ประสิทธิผลและความปลอดภัยของการนวดและประคบเต้านมด้วยสมุนไพรต่อการไหลของน้ำนมมารดาหลังคลอดด้วยวิธีการคลอดปกติและผ่าตัดทางหน้าท้อง
คำสำคัญ:
Milk, Breast, Postpartum mothers, Massage and Breast Compressบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของการนวดและประคบเต้านมด้วยสมุนไพรต่อการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอดด้วยวิธีการคลอดปกติและวิธีผ่าตัดทางหน้าท้อง ทำการเก็บข้อมูลมารดาหลังคลอดที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีปัญหาภาวะน้ำนมมาช้า น้ำนมไม่ไหลหรือน้ำนมไหลน้อยที่โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระยอง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ตามเกณฑ์การคัดเข้า จำนวน 47 ราย และศึกษาข้อมูลการไหลของน้ำนม โดยเปรียบเทียบคะแนนการไหลของน้ำนมก่อนและหลังการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที
ผลการศึกษาเปรียบเทียบคะแนนการไหลของน้ำนม พบว่ามารดาหลังคลอดทั้งสองวิธีก่อนและหลังได้รับการนวดและประคบเต้านมด้วยสมุนไพรมีคะแนนเฉลี่ยการไหลของน้ำนมเพิ่มขึ้นจาก 0.51 เป็น 2.06 อย่างมีค่านัยสำคัญทางสถิติ (95% CI: 1.40-1.70, p-value <0.01) เปรียบเทียบคะแนนการไหลของน้ำนมแยกตามวิธีการคลอด พบว่ามารดาที่คลอดด้วยวิธีการคลอดปกติและวิธีผ่าตัดทางหน้าท้องหลังได้รับการนวดและประคบเต้านมด้วยสมุนไพรมีคะแนนเฉลี่ยการไหลของน้ำนมเพิ่มขึ้นที่ 2.38 (95% CI: 1.45-1.85) และ 1.81 (95% CI: 1.26-1.67) ตามลำดับ อย่างมีค่านัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.01) แสดงให้เห็นว่าการนวดและประคบเต้านมด้วยสมุนไพรสามารถทำให้การไหลและปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้นได้ทั้งมารดาที่คลอดด้วยวิธีปกติและวิธีผ่าตัดทางหน้าท้อง เปรียบเทียบความต่างของคะแนนการไหลของน้ำนมหลังได้รับการนวดและประคบเต้านมด้วยสมุนไพร พบว่ามารดาหลังคลอดด้วยวิธีคลอดปกติมีความต่างของคะแนนเฉลี่ยการไหลของน้ำนมที่ดีกว่าวิธีผ่าตัดทางหน้าท้องที่ 0.57 อย่างมีค่านัยสำคัญทางสถิติ เปรียบเทียบคะแนนการไหลของน้ำนมแยกตามจำนวนการตั้งครรภ์ พบว่าหลังได้รับการนวดและประคบเต้านมด้วยสมุนไพรในมารดาหลังคลอดครรภ์แรก ครรภ์ที่ 2 และครรภ์ที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยการไหลของน้ำนมเพิ่มขึ้นที่ 2.33 (95% CI: 1.12-2.21) 2.03 (95% CI: 1.30-1.70) และ 2.00 (95% CI: 1.31-1.92) ตามลำดับ อย่างมีค่านัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.01) และการศึกษาผลข้างเคียงและความปลอดภัยไม่พบรายงานอาการไม่พึงประสงค์ แสดงให้เห็นว่าการนวดและประคบเต้านมด้วยสมุนไพรมีความปลอดภัยต่อมารดาหลังคลอดด้วยวิธีปกติและวิธีผ่าตัดทางหน้าท้อง
References
กรมอนามัย. (2565). ระบบสารสนเทศสนับสนุนด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กลุ่มสตรีและเด็กปฐมวัย, ค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2566, จาก https://dashboard.anamai.moph.go.th/motherandchild?year=2022
กฤษณา ปิงวงศ์, & กรรณิการ์ กันธะรักษา. (2560). การนวดเต้านมเพื่อส่งเสริมการสร้างและการหลั่งน้ำนม. พยาบาลสาร, 44(4), 169-176.
นันทนา วัชรเผ่า, พนิตนาฎ โชคดี, โสภิดา ชูขวัญ, กาญจนา หล้าฤทธิ์, & นิสาชล เนียมหน่อ. (2564). ประสิทธิผลของการนวดเต้านมเพื่อกระตุ้นการไหลของนํ้านมในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง โรงพยาบาลอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการทางคลินิกวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 36, 64-73.
ประวิทย์ อินทรสุขุม. (2557). การหลั่งของน้ำนมเต็มเต้าในมารดาหลังการผ่าตัดเปรียบเทียบระหว่างการผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉินและการผ่าตัดคลอดแบบมีกำหนดการ. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 23(6),1059-1066.
มัชฌิมา ตรีนุชกร, รัฐศาสตร์ เด่นชัย, บัวกาญจน์ กายาผาด, สุวนันท์ ผองแก้ว, & เขมกัญญา อนันต์. (2565). ประสิทธิผลของการนวดกระตุ้นเต้านมต่อการไหลของน้ำนมในหญิงหลังคลอด. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(2), 269-279.
มารียา มะแซ, ศศิกานต์ กาละ, & วรางคณา ชัชเวช. (2562). ผลของโปรแกรมการนวดเต้านมด้วยตนเองต่อการไหลของน้ำนมในมารดาครรภ์แรก. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 11(3), 1-14.
ลาวัลย์ ใบมณฑา, มยุรี นิรัตธราดร, & สุดาพร กมลวารินทร์. (2015). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อความสามารถ ในการให้นมและการไหลของน้ำนมในมารดาที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง. พยาบาลสาร, 42(4), 65-75.
วาสนา งามการ, วริศนันท์ ลี้ศิริวัฒนกุล, ฐิติชญา พฤกษานุศักดิ์, & ศศิธารา น่วมภา. (2564). ผลโปรแกรมการพยาบาลในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่องร่วมกับการสนับสนุนของครอบครัวการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อโดยเร็วหลังคลอดต่อประสิทธิภาพการดูดนมแม่ ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 1 เดือน. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า, 38(1), 67-76.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). โครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2562 (รายงานผลฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย.
สุภาภรณ์ ตันตินันทตระกูล, กัญญา ชื่นอารมณ์, มลิจันทร์ เกียรติสังวร, นวลศิริ ศรีศิริ, & วรรณดา มลิวรรณ์. (2564). สมุนไพรประคบเต้านมในมารดาหลังคลอด. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(12), 179-189
อภิชาติ ลิมติยะโยธิน. (2560). เส้นประธานสิบกับการนวดแบบราชสำนัก. นนทบุรี: มูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา.
อมรินทร์ ชะเนติยัง. (2561). ผลการนวดและประคบเต้านมเพื่อกระตุ้นการไหลของน้านมในมารดาหลังคลอด โรงพยาบาลภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารหมอยาไทยวิจัย, 4(1), 42-52.
อุรี จันทะมล, ระพีพรรณ นันทะนา, & พิชัย บุญมาศรี. (2562). ผลของการนวดประคบด้วยสมุนไพรอย่างต่อเนื่องและการให้น้ำขิงต่อการไหลของน้ำนมแม่ในมารดาหลังคลอด. ใน รายงานการประชุมวิชาการพยาบาลนมแม่ประเทศไทย ครั้งที่ 1: “รวมพลังสร้าง สาน พัฒนางานนมแม่” วันที่ 6-8 พฤศจิกายน 2562 ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพฯ. (หน้า 108). กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
World Health Organization [WHO]. (2023). Breastfeeding. Retrieved December 4, 2023, from https://www.who.int/ topics/breastfeeding/en
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.