ผลของโปรแกรมเสริมสร้างขีดความสามารถอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันการพลัดตกหกล้มแบบพหุปัจจัยของผู้สูงอายุ จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • Warunsicha Supprasert Sirindhorn College of Public Health Chonburi, Faculty of Public Health and Allied Health Sciences, Praboromarajchanok Institute

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างขีดความสามารถ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, การป้องกันการพลัดตกหกล้ม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างขีดความสามารถอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันการพลัดตกหกล้มแบบพหุปัจจัยของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีประสบการณ์ทำงานไม่ต่ำกว่า 1 ปี จำนวนทั้งสิ้น 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมตามโปรแกรมฯ จำนวน 4 กิจกรรม สัปดาห์ละ 1 กิจกรรม เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมจะได้รับเพียงกิจกรรมการเสริมสร้างความรู้ตามปกติที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจัดให้ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยระหว่างก่อน-หลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ ภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ Paired Sample t-test และระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ด้วยสถิติ Independent sample t-test

ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ ทักษะ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และความสามารถในการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย เท่ากับ -3.40, -7.84, -14.54 และ -4.90 ตามลำดับ) และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.90, 9.14, 16.27 และ 3.94 ตามลำดับ)

ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยนี้ หน่วยงานสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในการอบรมเตรียมความพร้อมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อให้มีศักยภาพในการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุในชุมชนลดโอกาสเสี่ยงจากการพลัดตกหกล้มและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ข้อมูลการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป. ค้นเมื่อ 11 เมษายน 2565, จาก https://ddc.moph.go.th/dip/news.php?news=23567&deptcode=

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2554). คู่มือ อสม. ยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). คู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่ หลักสูตรฝึกอบรม สมาร์ท อสม. และ อสม. หมอประจำบ้าน ปีงบประมาณ 2565. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จารุภา เลขทิพย์, ธีระ วรธนารัตน์, ศักรินทร์ ภูผานิล, & ศราวุธ ลาภมณีย์. (2562). ปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 26(1), 88-102.

ณฐา เชียงปิ๋ว, วราภรณ์ บุญเชียง, & ศิวพร อึ้งวัฒนา. (2561). ผลของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองต่อความรู้ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. พยาบาลสาร, 45(1), 87-99.

ดนัย เทียนพุฒ. (2546). การบริหารทรัพยากรบุคคลสู่ศตวรรษที่่ 21. กรุงเทพฯ: นาโกตา.

นาฏยา นุชนารถ, ศิริชัย เพชรรักษ์, & สุเทพ เชาวลิต. (2561). การพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 6(2), 768-779.

ปิยนุช ภิญโย. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถแห่งตนต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลของอาสาสมัครสาธารณสุขประหมู่บ้านในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน จังหวัดขอนแก่น. วารสารพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข, 37(1), 109-120.

ยุภา พูลสวัสดิ์. (2557). ผลลัพธ์ของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านด้านการใช้ยาที่บ้านในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังในจังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ. (2565). การคัดกรองผู้สูงอายุ 10 เรื่อง. ค้นเมื่อ 10 เมษายน 2567, จาก https://cbi.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=6966b0664b89805a484d7ac96c6edc48&id=df0700e8e3c79802b208b8780ab64d61

รัตติพร พาณิชย์กุล. (2562). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการออกกำลังกายแบบบาสโลบต่อการทรงตัวและความกลัวการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

รุจิรางค์ วรรณ์ธนาทัศน์. (2560). การศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ และการรับรู้ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ. 2 ส. ของผู้สูงอายุ จังหวัดนครปฐม. วารสารสุขภาพภาคประชาชน, 17(1), 231- 244.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแสนสุข. (2565ก). รายชื่ออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. ชลบุรี: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแสนสุข. (เอกสารอัดสำเนา).

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแสนสุข. (2565ข). สรุปผลการประเมินขีดความสามารถในการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. ชลบุรี: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแสนสุข. (เอกสารอัดสำเนา).

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.(2564). คู่มือการคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สงเคราะห์องค์การทหารผ่านศึก.

สุมิตรพร จอมจันทร์, ธณัชช์นรี สโรบ, นิตยา บุญลือ, & เกศราภรณ์ ชูพันธ์. (2561). การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลภาวะฉุกเฉินผู้สูงอายุที่เสพสุรา ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ, 24(2), 37-47.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: W. H. Freeman.

Best, J. W. (1997). Research in Education (3rd ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Bloom, B. S. (1956). Taxonomy of educational objectives. New York: David McKay.

Dhargave, P., &, Sendhilkumar, R. (2016). Prevalence of risk factors for falls among elderly people living in long-term care homes. Journal of Clinical Gerontology & Geriatrics, 1(7), 99-103.

Karuhadej, P., Popijan, M., & Danpradit, P. (2019). Effectiveness of increase health volunteer ability program in basic care for the dependent elderly in the communities, Nakhon Pathom Province, Thailand. Journal of Health Research, 33(3), 219-227.

Lemeshow, S., Hosmer, D. W., Klar, J., & Lwanga, S. K. (1990). Adequacy of sample size in health studies.

New York: John Wiley & Sons.

Stevens, M., Holman, C. D., & Bennett, N. (2001). Preventing falls in older people: impact of an intervention to reduce environmental hazards in the home. Journal of the American Geriatrics Society, 49(11), 1442-1447.

World Health Organization. (2021). WHO Global Health Estimates database, fall-related deaths and non-fatal injuries. Retrieved April 10, 2024, from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/falls

Wu, T. Y., Chie, W. C., Yang, R. S., Kuo, K. L., Wong, W. K., & Liaw, C. K. (2013). Risk factors for single and recurrent falls: a prospective study of falls in community dwelling seniors without cognitive impairment. Preventive medicine, 57(5), 511-517.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-19