ความชุก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออาการผิดปกติระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในแรงงานเกษตรกร อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
คำสำคัญ:
Ergonomic, Prevalence, Musculoskeletal Disorders, Famersบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงวิเคราะห์ชนิดภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างของแรงงานเกษตรกร กลุ่มตัวอย่าง คือ แรงงานเกษตรกรที่อาศัยอยู่ในตำบลวังมะปรางเหนือ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง จำนวน 215 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม แบบประเมินด้านการยศาสตร์ การยศาสตร์ท่าทางในการทำงานแบบใช้ร่างกายทุกส่วน และอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติโลจิสติกถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า แรงงานเกษตรกรมีอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างตามตำแหน่งที่เกิดอาการในช่วง 7 วัน คือ สะโพก/ก้น/ต้นขา (ร้อยละ 23.26, 95% CI: 17.78-29.48) หลังส่วนล่าง (ร้อยละ 21.86, 95% CI: 16.53-27.99) และข้อมือ/มือ (ร้อยละ 21.86, 95% CI: 16.53-27.99) ตามลำดับ สำหรับในช่วง 12 เดือน แรงงานเกษตรกรมีอาการบาดเจ็บทางกระดูกและกล้ามเนื้อ คือ หลังส่วนล่าง (ร้อยละ 24.19, 95% CI: 18.62-30.48) ข้อมือ/มือ (ร้อยละ 22.33, 95% CI: 16.94-28.49) และสะโพก/ก้น/ต้นขา (ร้อยละ 19.53, 95% CI: 14.46-25.47) ตามลำดับ และพบว่า ในช่วง 7 วัน ปัจจัยดัชนีมวลกาย (AOR=2.60, 95% CI: 1.20-5.65) และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและขา (AOR=8.64, 95% CI: 2.37-31.48) มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการระบบกระดูกและกล้ามเนื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และในช่วง 12 เดือน ปัจจัยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและขา (AOR=3.76, 95% CI: 1.27-11.13) การนั่งหรือยืนทำงานต่อเนื่องโดยไม่ได้เปลี่ยนท่าทาง (AOR=2.17, 95% CI: 1.02-4.35) และการบิด เอี้ยวลำตัว ขณะทำงาน (AOR=2.46, 95% CI: 1.13-5.35) มีความสัมพันธ์ต่ออาการผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
กฤชกันทร สุวรรณพันธ์ุ, เจตนิพิฐ สมมาตย์, สุกัญญา ฆารสินธ์ุ, & อัจฉรา ชนะบุญ. (2562). ปัจจัยด้านการยศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด ในเขตสุขภาพที่ 8. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 12(2), 35-46.
กวิสทรารินทร์ คะณะพันธ์, & ไพรสุวรรณ คะณะพันธ์. (2562). ความเสี่ยงทางการยศาสตร์และสมรรถภาพของกล้ามเนื้อของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(2), 21-31.
จามรี สอนบุตร, อุไรวรรณ ศิริธรรมพันธ์, & อับดุลบาซิส ยาโงะ. (2564). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อโครงร่างในพนักงานโรงงานแปรรูปไม้ยางพารา จังหวัดยะลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและสาธารณสุขภาคใต้, 8(3), 85-98.
ชวพรพรรณ จัทร์ประสิทธิ์, วรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุล, ธานี แก้วธรรมานุกูล, & รุจาธร อินทรตุล. (2563). ปัจจัยด้านการยศาสตร์และความชุกของอาการผิดปกติระบบโครงร่างกล้ามเนื้อในแรงงานนอกระบบตัดเย็บผ้า. พยาบาลสาร, 47(2), 64-74.
ปณิตา วงค์ษามิ่ง, & กฤชกันทร สุวรรณพันธ์ุ. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ตำบลกุดปลาดุก อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน, 3(1), 106-117.
พรพิรมย์ ทัศนาวงค์, วิโรจน์ จันทร, & จุฑารัตน์ รักประสิทธิ์. (2561). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในเกษตรกรเก็บใบชาตำบลเทอไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย.ศรีนครินทร์เวชสาร, 33(5), 457-464.
มนัส รงทอง, อัมรินทร์ คงทวีเลิศ, ดุสิต สุจิรารัตน์, & เพชรรัตน์ ภูอนันตานนท์. (2562). ความชุกของอาการผิดปกติทางระบบกลามเนื้อและกระดูกโครงร่างในแรงงานใหม่เก็บเกี่ยวปาลมน้ำมัน.วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติวิชาการ, 23(1), 77-92.
ระบบคลังสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (2565). จำนวนผู้ป่วยโรคกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงาน. ค้นเมื่อ 26 กันยายน 2565, จาก https://trg.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?cat_id=f16421e617aed29602f9f09d951cce68&id=
b76100cf013d00077b73274d1dc690
ระบบคลังสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2565). โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. ค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2565, จาก https://trg.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?cat_id=f16421e617aed29602f9f09d951cce68&id=27b76100cf013d00077b73274d1dc690
รัฐวุฒิ สมบูรณ์ธรรม. (2560). การปรับปรุงสภาพงานโดยใช้หลักการยศาสตร์แบบมีส่วนร่วมเพื่อลดความเสี่ยงบริเวณหลังส่วนล่างในพนักงานแผนกลอกยางของโรงงานยางพาราแผ่นรมควันแห่งหนึ่งใน จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
วามริน คีรีวัฒน์, อัมรินทร์ คงทวีเลิศ, จุฑาธิป ศีลบุตร, & เพชรรัตน์ ภูอนันตานนท์. (2565). อาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งหนึ่ง ในจังหวัดสมุทรปราการ.วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข.2565, 8(3), 443-453.
วิบูลย์ เจียมทับทักษิณ. (2562). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก โครงร่างของบุคลากรเภสัชกรรมในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะแพทยสาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรวิษฐ์ เงินเชื้อ, จิราเมธ เหล็กสุวรรณ, & ยุวดี ทองมี. (2564). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างของครูในสังกัดเทศบาล เมืองสวรรคโลก จังหวัด สุโขทัย.วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 3(3), 29-39.
สตรีรัตน์ แก้วเยื้อง. (2564). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกโครง ร่างในผู้ปฏิบัติงานในอู่ซ่อมเรือทหารเรือแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานกองทุนเงินทดแทน กระทรวงแรงงาน. (2562). รายงานประจำปี 2562. ค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2565, จาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER66/DRAWER004/GENERAL/DATA0000/00000222.PDF
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. (2560). แนวทางการจัดบริการอาชีวอนามัยให้กับแรงงานในชุมชนด้านการยศาสตร์ สำหรับเจ้าหน้าที่หน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ. นนทบุรี: กลุ่มอาชีวอนามัย สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. (2560). สถานการณ์โรคกระดูกและกล้ามเนื้อ. ค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2565, จาก http://www.agriinfo.doea.go.th
สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2564). การประเมินความเสี่ยงทางอาชีวอนามัยต่อความผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการสัมผัสปัจจัยทางการยศาสตร์ในการทำงานของเกษตรกรปลูกยางพารา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(2), 32-44.
อนุสรณ์ พินธุ. (2558). การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของลูกจ้างสายการบรรจุข้าวสาร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อรรถพล แก้วนวล, บรรพต โลหะพูนตระกูล, & กลางเดือน โพชนา. (2560). ความชุกของความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในอาชีพต่างๆ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 12(2), 54-64.
World Health Organization. (2022). Musculoskeletal health. Retrieved August 10, 2022, from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/musculoskeletal-conditions
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.