ปัจจัยความรอบรู้ทางสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • Sawita Srisawat -
  • อนันต์ อิฟติคาร์

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ทางสุขภาพ, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณาแบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Descriptive Study) มีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ทางสุขภาพและระดับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ และ2)เพื่อศึกษาปัจจัยความรอบรู้ทางสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ในจังหวัดสกลนคร โดยกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุ (อายุตั้งแต่ 60-69 ปี) ที่อาศัยอยู่ในชุมชนมะขามป้อม ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร จำนวน 108 คน รวบรวมข้อมูลข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนกันยายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิตเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกอย่างง่าย (Simple logistic regression) นำเสนอผลการวิเคราะห์ด้วยค่า Crude Odd ratio (ORcrude), ค่า 95%CI และค่า p-value โดยใช้โปรแกรม STATA Version 14.0

ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุมีคะแนนระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพมีคะแนนเฉลี่ย 109.56 (S.D.=16.31) ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาคะแนนรายด้านผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจทางด้านสุขภาพเฉลี่ย 5.18 (S.D.=1.19) ด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ 20.56 (S.D.=4.41) ด้านทักษะในการสื่อสาร 21.47 (S.D.=3.67) ด้านการจัดการตนเอง 21.47 (S.D.=3.58) ด้านการรู้เท่าทันสื่อ 17.57 (S.D.=3.90) และด้านทักษะการตัดสินใจ 22.38 (S.D.=3.91) ในส่วนของระดับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับดี ร้อยละ 47.22 มีคะแนนโดยเฉลี่ย 25.26± 3.88 ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพรายด้านที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุระดับดี อย่างมีนัยสำคัญที่ p-value<0.05 คือ ด้านที่ 1 ความรู้ ความเข้าใจทางสุขภาพ (ORcrude=2.72; 95%CI=1.42-5.19) และด้านที่ 2 การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ (ORcrude=1.73; 95%CI=1.05-2.84)

ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยมุ่งเน้นประเด็นการสร้างการรู้เท่าทันสื่อ การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ และการจัดการตนเอง ควรสร้างโอกาสแนวทางการเรียนรู้และการปฏิบัติที่เหมาะสมในบุคคลต้นแบบและเสริมทักษะการวิเคราะห์การตัดสินใจและการปฏิบัติตามพฤติกรรมที่เหมาะสม

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). สถานการณ์และแนวโน้มสังคมผู้สูงอายุไทย. ค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2565, จาก https://www.dop.go.th

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2563). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด ณ.วันที่ 31 ธันวาคม 2563. ค้นเมื่อ 28 เมษายน 2566, จาก https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1610815306-335_1.xlsx

กรมอนามัย. (2565). รายงานสถานการณ์โควิด-19ทั่วโลก. ค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2565, จาก https://covid19.anamai.moph.go.th

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเด็กวัยเรียน กลุ่มวัยทำงาน. กรุงเทพฯ: บริษัทนิวธรรมดารการพิมพ์ (ประเทศไทย).

กิจปพน ศรีธานี. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง. วารสารวิจัยระบบสารธารณสุข, 11(1), 26-36.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, & ดวงเนตร ธรรมกุล. (2558). การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในประชากรผู้สูงวัย. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 9(2), 1-8.

ชาตรี แมตสี่, & ศิวิไลซ์ วนรัตร์วิจิตร. (2560). การสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 9(2), 96-111.

ธัญชนก ขุมทอง, วิราภรณ์ โพธิศิริ, & ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. (2559). รูปแบบอิทธิพลเชิงสาเหตุและผลของความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีต่อพฤติกรรมสุขภาพและภาวะสุขภาพของประชาชนไทยวัยผู้ใหญ่ที่เสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในจังหวัดอุทัยธานีและอ่างทอง. วารสาร Veridian E-Journal Science and Technology Silpakorn University, 3(6), 67-85.

วัชราพร เชยสุวรรณ. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: แนวคิดและการประยุกต์สู่การปฏิบัติการพยาบาล Health Literacy : Concept and Application for Nursing Practice. วารสารแพทย์นาวี, 44(3), 183-197.

วรรณศิริ นิลเนตร. (2557). ความฉลาดทางสุขภาพของผู้สูงอายุไทยในชมรมผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, & วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. (2564). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. ค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2565, จาก https://online.fliphtml5.com/bcbgj/znee/#p=1

สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์. (2555). รายงานประจำปี สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและการพัฒนาผู้สูงอายุ.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2564). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร. ค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2565, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH

สำนักงานสถิติจังหวัดสกลนคร. (2565). จำนวนและอัตราตายด้วย5โรคNCD. ค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2565, จาก http://thaincd.com/2016

แสงเดือน กิ่งแก้ว, & นุสรา ประเสริฐศรี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(3), 43-54.

ทิพย์กมล อิสลาม. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุไทย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11, 8(1), 1-15

นัชชา เรืองเกียรติกุล. (2565). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุไทย. วารสารกรมการแพทย์, 47(1), 80-86.

นัฐธิรา ดวงจันทร์, เกษมณี อภิวัฒน์สมบัติ, ญาณิน แซ่ว้าน, ธีรภัทร์ กลมกลิ้ง, ปภัสสร มั่นบัว, ปริชาติ บันดาลปิติ, และคณะ. (2565). ความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนกึ่งเมืองแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารการพยาบาล สุขภาพเเละสาธารณสุข, 1(1), 28-39.

เบญจมาศ สุรมิตรไมตรี. (2556). การศึกษาความฉลาดทางสุขภาพ (Health Literacy) และสถานการณ์การดำเนินงานสร้างเสริมความฉลาดทางสุขภาพของคนไทยเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: กระทรวงการต่างประเทศ.

ปฐญาภรณ์ ลามุน, นภาพร มัธยมางกูร, & อนันต์ มาลรัตน์. (2554). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรม โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 18(3), 160-169.

เยาวลักษณ์ มีบุญมาก, จิริยา อินทนา, กรรณิการ์ กิจนพเกียรติ, เพ็ญจมาศ คำธนะ, & นงณภัทร รุ่งเนย. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนกึ่งเมืองแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 6(ฉบับพิเศษ),

-141.

อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข, พิชสุดา เดชบุญ, กฤติเดช มิ่งไม้, ศศิวิมล โพธิ์ภักตร์, สานุรักษ์ โพธิ์หา, & สุชานรี พานิชเจริญ. (2560). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังในอำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น. วารสารราชพฤกษ์, 15(2), 16-26.

Bloom, B. S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill.

Geboers, B., de Winter, A. F., Luten, K. A., Jansen, C. J., & Reijneveld, S. A. (2014). The association of health literacy with physical activity and nutritional behavior in older adults, and its social cognitive mediators. Journal of Health Communication, 19(2), 61-76.

Liu, Y. B., Liu, L., Li, Y. F., & Chen, Y. L. (2015). Relationship between health literacy, health-related behaviors and health status: A survey of elderly Chinese. International Journal of Environmental Research and Public Health, 12,

-9725.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-20