ปัจจัยแห่งความสำเร็จและกระบวนการบริหารที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติการในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • Anurak Ampawan -
  • Surachai Phimha
  • Chanaporn Pinsuwan

คำสำคัญ:

KEY SUCCESS FACTORS, ADMINISTRATIVE PROCESSES, COMPETENCIES

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จและกระบวนการบริหารที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติการในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 215 คน จากประชากรทั้งหมด 340 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) ทำการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 12 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา สถิติอนุมานหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านการพัฒนาภาพลักษณ์ของสถานบริการ และกระบวนการบริหารด้านการควบคุมกำกับ และด้านการจัดองค์การ มีผลและสามารถร่วมกันพยากรณ์สมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ร้อยละ 73.3 (R2= 0.733, p-value <0.001)     โดยผลการวิจัยในครั้งนี้หน่วยงานสาธารณสุขสามารถนำไปใช้ในการวางแผนปรับปรุงพัฒนาสมรรถนะหลักนักวิชาการสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิ

References

กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ, ไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ, เสาวลักษณ์ คงสนิท, & จินตนา เซ่งสิ้ม. (2563). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะตนเองเพื่อการปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ (คลินิกหมอครอบครัว) ของนักวิชาการสาธารณสุขในเขตสุขภาพที่ 12. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(2), 149-168.

กัญญารัตน์ จันทร์โสม, ประจักร บัวผัน, & มกราพันธุ์ จูฑะรสก. (2563). คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานบริการแพทย์แผนไทยของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 20(2), 60-71..

กานต์ธีรา พรหมรักษา, & อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. (2562). ปัจจัยบริหารและกระบวนการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานควบคุมโรคความดันโลหิตสูง ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกระบี่. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน, 2(1), 38-51.

ขวัญใจ จิรัฐจินดา. (2557). รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะหลักสำหรับบุคลากรสาธารณสุข ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จรัสศรี อาจศิริ. (2564). ปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการบริการแพทย์แผนไทยตามเกณฑ์คุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย. วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา ปีที่ 4

ชายณรงค์ ไชยสัตย์, & อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. (2559). ปัจจัยบริหารและกระบวนการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(3-4), 62-70.

ชูชัย ศุภวงศ์ และคณะ. (2553). คู่มือการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ.

ณัฐพล โยธา, ประจักร บัวผัน, & สุรชัย พิมหา. (2562). ปัจจัยแห่งความสำเร็จและบรรยากาศองค์การ ที่มีผลต่อการทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 19(1), 149-160.

ทศพล ใจทาน, ประจักร บัวผัน, & สุรชัย พิมหา. (2564). ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการดำเนินงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเลย. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 21(3), 161-171.

นัฐรินทร์ ช่างศรี, & ประจักร บัวผัน. (2564). ปัจจัยแห่งความสำเร็จและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 21(2), 166-178.

ปภินวิทย์ คำสมาน, มกราพันธุ์ จูฑะรสก, & ประจักร บัวผัน. (2564). ปัจจัยแห่งความสำเร็จและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและควบคุมวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 21(3), 223-235.

ปริญญา จิตอร่าม. (2563). การพัฒนาตัวชี้วัดสมรรถนะการแก้ปัญหาและการพัฒนาสาธารณสุขชุมชนของนักสาธารณสุขชุมชน. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 6(1), 84-99.

ยุทธนา แก้วมืด ,ประจักร บัวผัน, & สุรชัย พิมหา. (2563). ปัจจัยแห่งความสำเร็จและแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 20(2), 47-59.

ศิรภัสสร มูลสาร, ชนะพล ศรีฤาชา, & ศรีบุษย์ ศรีไชยจรูญพง. (2564). ปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตสุขภาพที่ 10. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 7(1), 74-86.

สมโภช ยอดดี, & อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. (2561). ปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงาน เฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของบุคลากรสาธารณสุขใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสงขลา. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน, 1(2), 41-54.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). แนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการ

พลเรือน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560–2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. (2565ก). บุคลากร. ค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2565, จาก https://brm.moph.go.th/hrbrm/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. (2565ข). รายงานการปฏิบัติงานประจำปี 2565. ค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2565. จาก https://brm.moph. go.th/broweb/

สำเริง จันทรสุวรรณ, & สุวรรณ บัวทวน. (2547). สถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุวิชัย ถามูลเลศ, & ประจักร บัวผัน. (2561). ปัจจัยการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น, 25(1), 23-34.

เสนาะ ติเยาว์. (2544). หลักการบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.

อิ่มฤทัย ไชยมาตย์, & ประจักร บัวผัน. (2564). แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 21(3), 172-185.

Bouphan, P., & Srichan, R. (2017). Factors affecting the research for solving health problem of health personnel at sub-district health promoting hospitals. Procedia-Social and Behavioral Sciences, (237), 1097-1104.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis of the behavioral sciences. New York: Lawrence Erlbaum Associates.

Elifson, K. W., Runyon, R. P., & Haber, A. (1990). Fundamentals of social statistics (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.

Likert, R. (1967). The human organization: Its management and value. New York: McGraw-Hill.

Weihrich, H., & Koontz, H. (1993). Management: Global perspective (10th ed.). New York: Mc Graw–Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-20