แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • sirinapa poochada -
  • Prachack Bouphan
  • Makaraphan Jutarasaka

คำสำคัญ:

Keywords : Motivation, critical success, The Happiness at Work

บทคัดย่อ

นักวิชาการสาธารณสุขเป็นบุคลากรสาธารณสุขที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสร้างหลักประกันความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนด้วยเหตุนี้ แรงจูงใจและความสุขในการทำงานจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานและความพึงพอใจในงาน  การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Descriptive Research) ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ใช้ศึกษาคือ นักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 331 คน สุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 151 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามสำหรับเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 0.98 และแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 12 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 ถึงวันที่ 16 ธันวาคม 2565 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน โดยมีการกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมระดับแรงจูงใจ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ และความสุขในการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุข อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.35 (S.D.=0.48), 4.19 (S.D.=0.49) และ 4.23 (S.D.=0.44) ตามลำดับ ภาพรวมแรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จมีความสัมพันธ์ระดับสูงกับความสุขในการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุข อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.852, p-value<0.001, 95%CI: 0.807-0.887 และ r=0.809, p-value<0.001, 95%CI: 0.754-0.857) ตามลำดับ และพบว่า ตัวแปรทั้ง 5 ตัวแปร ประกอบด้วย ปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านการลงมือปฏิบัติงานในพื้นที่มีความพร้อมและสมัครใจในการมีส่วนร่วม ปัจจัยค้ำจุนด้านสถานภาพของวิชาชีพ ปัจจัยจูงใจด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ปัจจัยค้ำจุนด้านสภาพการปฏิบัติงาน และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีผลและสามารถร่วมกันในการพยากรณ์ความสุขในการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น ได้ร้อยละ 75.8 (R2adj=0.758, p-value<0.001)

ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จมีผลต่อความสุขในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่า ตัวแปรทั้ง 5 ตัว ได้แก่ ด้านการลงมือปฏิบัติงานในพื้นที่มีความพร้อมและสมัครใจในการมีส่วนร่วม ด้านสถานภาพของวิชาชีพ  ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ด้านสภาพการปฏิบัติงาน และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นปัจจัยที่สำคัญในการพยากรณ์ความสุขในการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุข ผลการศึกษานี้ผู้กำหนดนโยบายและผู้บริหารสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงด้านแรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จเพื่อส่งเสริมความสุขในการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุข

References

กัญญารัตน์ จันโสม, ประจักร บัวผัน, & มกราพันธุ์ จูฑะรสก. (2563). คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานบริการแพทย์แผนไทยของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 20(2), 60-71.

คมกริช ถานทองดี & ประจักร บัวผัน. (2562). คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจที่มีผลต่อการทำงานเป็นทีมของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 19(3), 154-165.

ชนากานต์ นาพิมพ์,ประจักร บัวผัน, & ชัญญา อภิปาลกุล. (2561). คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 18(4), 154-166.

ชนาพร ปิ่นสุวรรณ, ประจักร บัวผัน, & มกราพันธุ์ จูฑะรสก. (2565). คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพ การบริการแบบต่อเนื่องของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 22(1), 131-144.

ชูชัย ศุภวงศ์, สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์, ลัดดา ดำริการเลิศ, สุพัตรา ศรีวณิชชากร, & เกษม เวชสุทรานนท์. (2553). คู่มือการให้บริการของ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ณัฐพล โยธา, ประจักร บัวผัน, & สุรชัย พิมหา. (2562). ปัจจัยแห่งความสำเร็จและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 19(1), 149-160.

เทพอินทร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา, & สุวิทย์ อุดมพาณิชย์. (2562). แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาลัยขอนแก่น, 12(2), 42-51.

ธีร์ธวัช พิมพ์วงค์, & สุวิทย์ อุดมพาณิชย์ (2561). แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 7(2), 155-126.

นครินทร์ ประสิทธิ์, & ประจักร บัวผัน (2561). แรงจูงใจและบรรยากาศองค์การที่มีผลลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 18(2), 65-77.

นาตยา คำเสนา, ประจักร บัวผัน, & มกราพันธุ์ จูฑะรสก. (2563). แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการ ทำงานของเจ้าพนักงานสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 20(2), 84-95.

นิออน ลีคะ,ประจักร บัวผัน, & มกราพันธุ์ จูฑะรสก. (2560). คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานควบคุมป้องกันวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 12(3), 452-458.

ปภินวิทย์ คำสมาน,มกราพันธุ์ จูฑะรสก, & ประจักร บัวผัน. (2564). ปัจจัยแห่งความสำเร็จและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและควบคุมวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 21(3), 223-235.

ปรัตถกร วงศ์กาฬสินธุ์, & ประจักร บัวผัน. (2560). แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการบริหารเวชภัณฑ์ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 17(2), 37-48.

เปรมมากร หยาดไธสงค์, & ประจักร บัวผัน. (2565). แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 22(2), 175-188.

พีรพงศ์ ภูสด,ประจักร บัวผัน, & มกราพันธุ์ จูฑะรสก. (2562). แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 19(3), 109-119.

ยุทธนา แก้วมืด, ประจักร บัวผัน, & สุรชัย พิมหา. (2563). ปัจจัยแห่งความสำเร็จและแรงจูงใจสำเร็จและแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของ

เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 20(2),47-59.

วิลาสินี วงค์ผาบุตร, & ประจักร บัวผัน. (2564). แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการดำเนินงานป้งกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยมข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 21(3), 186-199.

วีนัส พีชวณิชย์, สมจิต วัฒนาชยากูล, & เบญจมาศ ตุลยนิติกุล. (2547). สถิติพื้นฐานสำหรับนักสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โฟร์พริ้นติ้ง.

ศิรินันท์ กิตติสุขสสถิต, กาญจนา ตั้งชลทิพย์, สุภรต์ จรัสสิทธิ์, เฉลิมพล สายประเสริฐ, พอตา บุนตีรณะ, & วรรณภา อารีย์.(2555). คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเอง HAPPINOMETER. กรุงเทพฯ:สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศุมาลิณ ดีจันทร์, & ประจักร บัวผัน. (2562). แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานแพทย์แผนไทยของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดเลย. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 19(2), 166-176.

สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. (2565). กลุ่มงานการเงินและการบัญชี. ขอนแก่น: สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2552). คู่มือมาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. ค้นเมื่อ 18 เมษายน 2565, จาก http://lpn.mcu.ac.th/lpn/wp-content/uploads/2017/06/ องค์กรแห่งความสุข-สสส.pdf

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2554). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (2554). กรุงเทพฯ: กลุ่มสื่อสารองค์กร สำนักงาน ก.พ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2540). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ฉบับบที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. (2565ก). ข้อมูลพื้นฐาน ปี 2565. ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. (2565ข). สรุปผลการประเมินความสุขบุคลากรสาธารณสุขสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น (Happinometer) ปีงบประมาณ 2565. ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.

สำนักนโยบายและแผนยุทศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนยุทธศาสตร์ระยะ20ปี ด้านสาธารณสุข (2560-2579). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

สุขสันต์ สลางสิงห์, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2562). บรรยากาศองค์กการและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 12(3), 604-612.

อรวรรณ สินค้า, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2562). ปัจจัยทางการบริหารและแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 12(3), 613-622.

อิ่มฤทัย ไชยมาตย์, & ประจักร บัวผัน. (2564). แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบล จังหวัดกาพสินธุ์. วารสารวิจัย มข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา), 21(3), 172-185.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). New jersey: Lawrence Erlbaum

Associates.

Herzberg, F., Mausner B., & Snyderman B. B. (2017). The motivation to work. New York: Taylor & Francis.

Likert, R. (1967). The human organization: Its management and values. New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-20