คุณลักษณะส่วนบุคคลและสุนทรียทักษะภาวะผู้นำที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน งานบริการการแพทย์แผนไทยของแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 7
คำสำคัญ:
Personal Characteristics, Leadership Soft Skills, The performance of thai traditional medicine service standardsบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและสุนทรียทักษะภาวะผู้นำที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานบริการการแพทย์แผนไทยของแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 7 ประชากรที่ศึกษา คือ แพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 7 จำนวน 181 คน สุ่มอย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 108 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สำหรับเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) มากกว่า 0.50 และค่าความเที่ยงของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.95 และแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 12 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม 2565 ถึงวันที่ 13 มกราคม 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 และเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 75 และสถิติเชิงอนุมาน หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุเชิงเส้นแบบขั้นตอน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมระดับสุนทรียทักษะภาวะผู้นำ และการปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานบริการการแพทย์แผนไทย อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 (S.D.=0.46) และ 4.46 (S.D.=0.45) ตามลำดับ สุนทรียทักษะภาวะผู้นำด้านสูงสุด 3 อันดับ คือ ทักษะในการทำงานเป็นทีม ทักษะในการพัฒนาตนเอง และทักษะในการติดต่อสื่อสาร อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 (S.D.= 0.44), 4.27 (S.D=0.60) และ 4.24 (S.D.=0.45) ตามลำดับ ด้านต่ำสุด 3 อันดับคือ ทักษะในการนำเสนอ ทักษะในการคิดริเริ่ม และทักษะในการวางแผนและการจัดองค์กร อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.11 (S.D.=0.58), 4.14 (S.D.=0.54) และ 4.18 (S.D.=0.62) ตามลำดับ การปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานบริการการแพทย์แผนไทย ด้านสูงสุด 3 อันดับคือ ด้านบุคลากร ด้านการปฏิบัติงาน และด้านการควบคุมคุณภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 (S.D.=0.49), 4.56 (S.D.=0.50) และ 4.52 (S.D.=0.53) ตามลำดับ ด้านต่ำสุด 2 อันดับคือ ด้านสถานที่ เครื่องมือ เครื่องใช้ และสิ่งแวดล้อม และด้านการจัดบริการ อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 (S.D.=0.71) และ 4.34 (S.D.=0.54) ตามลำดับ โดยพบว่าคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านรายได้ และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์ระดับต่ำกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานบริการการแพทย์แผนไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.299, p-value=0.002, 95% CI: 0.116-0.463) และ (r=0.290, p-value= 0.002, 95% CI: 0.137-0.428) ตามลำดับ และภาพรวมของสุนทรียทักษะภาวะผู้นำมีความสัมพันธ์ระดับสูงกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานบริการการแพทย์แผนไทยของแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.729, p-value<0.001, 95% CI: 0.609-0.834) และพบว่าตัวแปรทั้ง 5 ตัวแปร ประกอบด้วย สุนทรียทักษะภาวะผู้นำ ด้านทักษะในการสอนงาน ด้านทักษะในการทำงานเป็นทีม คุณลักษณะส่วนบุคคล ด้านเพศ (หญิง) ด้านระยะเวลา
ในการปฏิบัติงาน และสุนทรียทักษะภาวะผู้นำ ด้านทักษะในการนำเสนอมีผลและสามารถร่วมกันในการพยากรณ์การปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานบริการการแพทย์แผนไทยของแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 7 ได้ร้อยละ 58.6 (R2=0.586, p-value<0.001) และพบว่าปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการการปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานบริการการแพทย์แผนไทยของแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 7 พบว่า บุคลากรในองค์กรบางคนยังต้องการพัฒนาทักษะในการทำงานเป็นทีม การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสหวิชาชีพและการมีส่วนร่วมในการวางแผนอย่างเป็นระบบ
References
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2556). มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน (รพ.สส.พท.). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2565). มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน(รพ.สส.พท.) ฉบับปรับปรุงใหม่ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). นนทบุรี: กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.
กรรณิการ์ เบ็ญจวนิช, & ชัญญา อภิปาลกุล. (2560). สุนทรียทักษะผู้นำที่มีผลต่อบทบาทในการควบคุมกำกับการดำเนินงานตามโครงการของผู้อำนวยการโรงพยาบาสส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยชอนแก่น, 5(4), 569-588.
กฤษณะ อุ่นทะโคตร, ประจักร บัวผัน, & สุรชัย พิมหา. (2562). ปัจจัยแห่งความสำเร็จและสุนทรียทักษะผู้นำที่มีผลต่อการประเมินโครงการของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดกาพสินธุ์, วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(2), 7-18.
กัญญารัตน์ จันทร์โสม, ประจักร บัวผัน, & มกราพันธุ์ จูฑะรสก. (2563). คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานบริการแพทย์แผนไทยของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 20(2), 60-71.
เขตสุขภาพที่ 7. (2564). รายงานผลการดำเนินงานแพทย์แผนไทยปฏิบัติงานประจำจังหวัดที่เป็นที่ตั้งเขตสุขภาพหรือจังหวัดตามที่ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารสุขเห็นชอบ ปีงบประมาณ 2564. ขอนแก่น: เขตสุขภาพที่ 7.
เขตสุขภาพที่ 7. (2565). ข้อมูลแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 7 ปีงบประมาณ 2565. ขอนแก่น: เขตสุขภาพที่ 7.
คเณศวร โคตรทา, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2560). สุนทรียทักษะภาวะผู้นำที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะการมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอ ในเขตสุขภาพที่ 8. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขกาคใต้, 4(ฉบับพิเศษ), 273-291.
คมกริช ถานทองดี, & ประจักร บัวผัน. (2562). คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจที่มีผลต่อการทำงานเป็นทีมของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 19(3), 154-165.
จรัญญ ทองอเนก, & ประจักร บัวผัน. (2557). สุนทรียะทักษะผู้นำที่มีผลต่อบทบาทควบคุมกำกับการเนินงานตามโครงการของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 7(2), 218-229.
จรัสศรี อาจศิริ. (2564). ปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการบริการแพทย์แผนไทยตามเกณฑ์คุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา, 4(2), 57-68.
ชนากานต์ นาพิมพ์, & ประจักร บัวผัน. (2561). คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 18(4), 154-166.
ทักษิณา บุญขันธ์, ประจักร บัวผัน, & ชัญญา อภิปาลกุล. (2562). คุณลักษณะส่วนบุคคลและสุนทรียทักษะผู้นำที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 19(3), 142-153.
ธามน เต็มสงสัย, อารยา ประเสริฐชัย, & พาณี สีตกะลิน. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมในงานพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลของบุคลากร โรงพยาบาลเทศบาลนครนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์น-เอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 10(1), 117-127.
นฤมล ศิลวิศาล, & วาสินี วิเศษฤทธิ์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การปฏิบัติงานการอบรมเฉพาะทางความฉลาดทางอารมณ์ สภาพแวดล้อมในการทำงานกับสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลตติยภูมิ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก,30(1), 46-59.
นิลุบล ดีพลกรัง, ประจักร บัวผัน, & สุรชัย พิมหา. (2563). สุนทรียทักษะภาวะผู้นำและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัตนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 20(2), 72-83.
มณีรัตน์ ช่างไม้, & ชนะพล ศรีฤชา. (2561). คุณลักษณะส่วนบุคคลและสุนทรียทักษะผู้นำที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(4), 65-72.
มนฤดี อุดมดัน, ประจักร บัวผัน, & มกราพันธุ์ จูฑะรสก. (2562). การดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 19(1), 161-171.
รัตนาภรณ์ ประชากูล, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2562). สุนทรียทักษะภาวะผู้นำที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพรงพยาบาลชุมชน จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1), 86-94.
วีนัส พีชวณิชย์, สมจิต วัฒนาชยากูล, &เบญจมาศ ตุลยนิติกุล. (2547). สถิติพื้นฐานสำหรับนักสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โฟร์พริ้นติ้ง.
ศุภลักษณ์ คุ้มวงศ์, & สุวิทย์ อุดมพาณิชย์. (2562). ศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการดำเนินงานข้อมูลสารสนเทศของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(3), 19-30.
สฤษณ์พลชัย บัวจันทร์, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2559). สุนทรียทักษะภาวะผู้นำที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 23(3), 77-85.
สาธิต ปิตุเตชะ. (2565). ทิศทางการพัฒนาสู่ระบบสุขภาพที่เข้มแข็ง. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
สุระศักดิ์ เจริญคุณ, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2563). สุนทรียทักษะภาวะผู้นำที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถะการมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดชอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 13(3), 69-77.
อรสา ภูพุฒ, ประไพจิตร์ วงศ์แสน, & ประภัสสร ขจรพิพัฒน์. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, 3(6), 1-9.
อ้อมขวัญ ศรีทะ, ประจักร บัวผัน, & สุทิน ชนะบุญ. (2562). คุณลักษณะส่วนบุคคลและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการควบคุมกำกับการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 12(3), 595-603
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.
Crosbie, R. (2005). Learning the soft skills of leadership. Industrial and Commercial Training, 37(1), 45-51.
Elifson, K. W., Runyon, R. P., & Haber, A. (1990). Fundamentals of social statistics (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.
Likert, R. (1967). The human organization: Its management and values. New York: McGraw-Hill.
Schermerhorn, J. R., Richard, N., Osborn, R. N., Uhl-Bien, M., & Hunt, J. G. (2011). Organizational behavior (11th ed.).
New York: John Wiley & Sons.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.