สุนทรียทักษะภาวะผู้นำและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อบทบาทในการนำเสนอผลงานวิชาการของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • Alisa Painoosee Public Health Administration, Faculty of Public Health, Khon Kaen University
  • Prachak Bouphan
  • Surachai Phimha

คำสำคัญ:

สุนทรียทักษะภาวะผู้นำ, การสนับสนุนจากองค์การ, บทบาทในการนำเสนอผลงานวิชาการของนักวิชาการสาธารณสุข

บทคัดย่อ

         

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสุนทรียทักษะภาวะผู้นำและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อบทบาทในการนำเสนอผลงานวิชาการของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ศึกษา คือ นักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 331 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 133 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสำหรับเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ซึ่งจากข้อคำถามทั้งหมด 87 ข้อ ข้อคำถามทุกข้อมีค่ามากกว่า 0.50 โดยข้อคำถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 1 จำนวน 60 ข้อ และข้อคำถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.67 จำนวน 27 ข้อ และค่าความเที่ยงของแบบสอบถามทั้งชุดได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 0.97 และใช้แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 12 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 4 ธันวาคม 2565 ถึง วันที่ 4 มกราคม 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด และสถิติเชิงอนุมาน หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุเชิงเส้นแบบขั้นตอน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมระดับสุนทรียทักษะภาวะผู้นำ การสนับสนุนจากองค์การ และบทบาทในการนำเสนอผลงานวิชาการของนักวิชาการสาธารณสุข อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 (S.D.=0.45), 3.84 (S.D.=0.61) และ 4.07 (S.D.=0.50) ตามลำดับ โดยพบว่าภาพรวมของสุนทรียทักษะภาวะผู้นำมีความสัมพันธ์ระดับสูง (r=0.800, p-value<0.001, 95% CI 0.725-0.852) และการสนับสนุนจากองค์การมีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง (r=0.689, p-value<0.001, 95% CI 0.584-0.775) กับบทบาทในการนำเสนอผลงานวิชาการของนักวิชาการสาธารณสุข อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่าสุนทรียทักษะภาวะผู้นำทักษะด้านการเป็นผู้นำ การสนับสนุนจากองค์การด้านการบริหารจัดการ และสุนทรียทักษะภาวะผู้นำทักษะด้านการพัฒนาตนเอง มีผลและสามารถร่วมกันในการพยากรณ์บทบาทในการนำเสนอผลงานวิชาการของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น ได้ร้อยละ 69.2 (R2=0.692, p-value<0.001)

References

กรรณิการ์ เบ็ญจวนิช, & ชัญญา อภิปาลกุล. (2560). สุนทรียทักษะผู้นำที่มีผลต่อบทบาทในการควบคุมกำกับการดำเนินงานตามโครงการของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(4), 569-588.

กระทรวงสาธารณสุข. (2552). คู่มือการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. กรุงเทพฯ: ทีคิวพี.

กฤษณะ อุ่นทะโคตร, ประจักร บัวผัน, & สุรชัย พิมพา. (2562). ปัจจัยแห่งความสำเร็จและสุนทรียทักษะผู้นำที่มีผลต่อการประเมินโครงการของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(2), 7-18.

คเณศวร โคตรทา, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2560). สุนทรียทักษะภาวะผู้นำที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะการมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอ ในเขตสุขภาพ ที่ 8. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(ฉบับพิเศษ), 273-291.

จินตนา กีเกียง, & ประจักร บัวผัน. (2562). บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 19(2), 154-165.

ณัฐพล โยธา, ประจักร บัวผัน, & สุรชัย พิมหา. (2562). ปัจจัยแห่งความสำเร็จและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 19(1), 149-160.

ทองหล่อ เดชไทย. (2549). หลักการบริหารสาธารณสุข (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์.

ทักษิณา บุญขันธ์, ประจักร บัวผัน, & ชัญญา อภิปาลกุล. (2562). คุณลักษณะส่วนบุคคลและสุนทรียทักษะผู้นำที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 19(3), 142-153.

ธนัญชนก รัตนสิมากร, ประจักร บัวผัน, & มกราพันธุ์ จูฑะรสก. (2565). ปัจจัยแห่งความสำเร็จและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการดำเนิน งานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี. วารสาร

ทันตาภิบาล, 33(2), 111-128.

นันทวดี วงษ์เสถียร. (2550). การนำเสนอผลงานเป็นภาษาอังกฤษ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

นาตยา คำเสนา, ประจักร บัวผัน, & มกราพันธุ์ จูฑะรสก. (2563). แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าพนักงานสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 20(2), 84-95.

นิชาภา หลังแก้ว, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2564). บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 15(38), 685-704.

นิลุบล ดีพลกรัง, ประจักร บัวผัน, & สุรชัย พิมหา. (2563). สุนทรียทักษะภาวะผู้นำและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 20(2), 72-83.

ประจักร บัวผัน (2558). หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4 ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พงศ์สมุทร เจณบริรักษ์, ประจักร บัวผัน, & ชัญญา อภิปาลกุล. (2562). คุณลักษณะส่วนบุคคลและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 12(2), 216-229.

พยุดา ชาเวียง, & ประจักร บัวผัน. (2560). แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการดำเนินงานพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 17(1), 56-68.

พรรษา อินทะรัมย์, & ประจักร บัวผัน. (2565). บรรยากาศองค์การและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 22(2), 201-212.

พัทธ์ชนก พุทธมนต์สิงห์, ประจักร บัวผัน, & ชัญญา อภิปาลกุล. (2562). ปัจจัยแห่งความสำเร็จและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวของเจ้าหน้าที่สารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 19(3), 120-130.

มณีรัตน์ ช่างไม้, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2561). คุณลักษณะส่วนบุคคลและสุนทรียทักษะผู้นำที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(4), 65-72.

รัตนาภรณ์ ประชากูล, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2562). สุนทรียทักษะภาวะผู้นำที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1), 86-94.

วรรณกร ตาบ้านดู่, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2560). สุนทรียทักษะภาวะผู้นำที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความขัดแย้งของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 10(1), 220-228.

วีนัส พีชวณิชย์, สมจิต วัฒนาชยากูล, & เบญจมาศ ตุลยนิติกุล. (2547). สถิติพื้นฐานสำหรับนักสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โฟร์พริ้นติ้ง.

สฤษณ์พลชัย บัวจันทร์, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2559). สุนทรียทักษะภาวะผู้นำที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 23(3), 77-85.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2554). การปรับปรุงมาตรฐานกำหนดตำแหน่งประเภทวิชาการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. (2565ก). สรุปผลข้อมูลพื้นฐาน ปี 2565. ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. (2565ข). สรุปผลการดำเนินงานบริหารทรัพยากรบุคคล ปีงบประมาณ 2564. ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.

สำเริง จันทรสุวรรณ, & สุวรรณ บัวทวน. (2547). ระเบียบวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สิริสา เทียมทัน, & ประจักร บัวผัน. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 18(1), 49-61.

สุขสันต์ สลางสิงห์, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2562). บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 12(3), 604-612.

สุพัตรา ถิ่นไผ่บูรณ์, ศรีบุษย์ ศรีไชยจรูญพง, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2564). บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 14(1), 431-440.

สุรชัย พิมหา, & ประจักร บัวผัน. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสารในการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 15(3), 79-88.

สุระศักดิ์ เจริญคุณ, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2563). สุนทรียทักษะภาวะผู้นำที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะการมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น.วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 13(3), 69-77.

อ้อมขวัญ ศรีทะ, ประจักร บัวผัน, & สุทิน ชนะบุญ. (2562). คุณลักษณะส่วนบุคคลและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการควบคุมกำกับการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 12(3), 595-603.

Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (2nd ed.). Hillsdale NJ: Lawrence Erlbaum Associates.

Crosbie, R. (2005). Learning the soft skills of leadership. Industrial and Commercial Training, 37(1), 45-51.

Elifson, K.W., Runyon, R.P., & Haber, A. (1990). Fundamentals of Social Statistics (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.

Likert, R. (1967). The human organization: Its management and values. New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-20