ผลของโปรเเกรมการส่งเสริมสุขภาพที่ประยุกต์ส่วนผสมการตลาดเชิงสังคมต่อความรู้เรื่องการปนเปื้อนของปรสิตเเละพฤติกรรมการล้างผักในอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน ตําบลโพธิ์เเทน อําเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
คำสำคัญ:
fresh vegetables, parasite, social marketing mix, health promotion programบทคัดย่อ
โรคติดเชื้อปรสิตยังคงเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขทั่วโลก สาเหตุหลักเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อดังกล่าว โดยปัจจุบันประชาชนให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเองและเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้นโดยเฉพาะผักและผลไม้สด หากไม่ได้รับการทำความสะอาดอย่างเพียงพอและถูกสุขลักษณะอาจทำให้มีโอกาสติดเชื้อปรสิตและแบคทีเรียก่อโรคและเกิดอาการเจ็บป่วยตามมา งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพที่ประยุกต์ส่วนผสมการตลาดเชิงสังคม (4P’s: Product, Price, Place, Promotion) ต่อความรู้เรื่องการปนเปื้อนของปรสิตในผักสดเเละพฤติกรรมการล้างผักที่ถูกต้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน จำนวน 25 คน เข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพที่ประยุกต์ส่วนผสมการตลาดเชิงสังคม 5 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดความรู้และแบบวัดพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired sample t-test และ McNemar test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่าหลังจากสิ้นสุดโปรแกรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เพิ่มขึ้น 0.84 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value>0.05) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการล้างผักหลังจากเข้าร่วมโปรแกรมเพิ่มขึ้น 0.22 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ค่าสัดส่วนของผู้มีความรู้และพฤติกรรมในระดับดีหลังเข้าร่วมโปรแกรมเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value>0.05) เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างปฏิบัติตนเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากการปนเปื้อนปรสิตและล้างผักก่อนรับประทานสม่ำเสมอ โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพที่ประยุกต์ส่วนผสมการตลาดเชิงสังคม สามารถนำไปใช้เป็นรูปแบบการให้คำแนะนำกับประชาชนโดยมีแกนนำเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านเพื่อสร้างเสริมให้สามารถดูแลสุขภาพตนเองและมีส่วนร่วมในการป้องกันการปนเปื้อนของปรสิตในผักสดมากกว่าการรักษาโรค
References
กรมควบคุมโรค (2565). ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง การป้องกันโรคและภัยสุขภาพ ที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย พ.ศ. 2565นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
จันทรา ทิมเวียง, & ธนิดา ผาติเสนะ. (2561). การส่งเสริมการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกของสตรีกลุ่มเสี่ยงโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตลาดเชิงสังคมตำบลท่าโรง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 18(4), 115-124.
ชลิตา ไชยศิริ, สุณี สาธิตานันต์, & วงศา เล้าหศิริวงศ์. (2555). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ด้วยกลยุทธ์การตลาดเพื่อสังคมในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารช่อพะยอม, 23, 82-97.
เทียนทิพย์ เศียรเมฆัน, ประภาพรรณ อบอุ่น, พรทิพย์ สัมปัตตะวนิช, & จิตรสุดา ลิมเกรียงไกร. (2558). กระบวนการการตลาดเพื่อสังคมในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ:กรณีศึกษาโครงการกิจกรรมบ้านปลอดบุหรี่ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
บุรฉัตร จันทร์แดง, เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร, & สัญญา เคณาภูมิ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม Factors that Affecting Behavior Change. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 19(4), 235-243.
ปะการัง ศรีมี, สุนิสา สงสัยเกตุ, เกศริน แซ่เซียว, ปติญญา อิศรางกูร ณ อยุธยา, & รัตน์ติพร โกสุวินทร์. (2564). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพที่ประยุกต์ส่วนผสมการตลาดเชิงสังคมต่อความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วารสารควบคุมโรค, 47,1330-1340.
พรทิพย์ สัมปัตตะวนิช. (2547). การตลาดเพื่อสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ยุพารัตน์ อดกลั้น, & ภัทธกร บุบผัน. (2566). ประสิทธิผลของโปรแกรมส่วนผสมการตลาดเชิงสังคมเพื่อส่งเสริมการบริโภคผักในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 5(3), 14-27.
วรณัน แส่วภูเขียว, พิจิตรา กุนเสน, ธัญญลักษณ์ รักบ้านดอน, มะลิวัลย์ กระจ่างศรี, จันทิมา กันพนม, & บุญเลี้ยง สุพิมพ์. (2567).
การสำรวจการปนเปื้อนเชื้อปรสิตและการลดเชื้อปรสิตในผักสดที่จำหน่ายในตลาดสด จังหวัดเลย. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 20(1), 31-40.
ศรีสมร กมลเพ็ชร, นัชชา พรหมพันใจ, วีรศักดิ์ คฃสืบชาติ, สุพรรณี เจริญวงศ์เพ็ชร, นิ่มนวล พรายน้ำ, & ฉัตรพิมล ชุนประสาน. (2550). ประสิทธิผลการประยุกต์ใช้การตลาดเชิงสังคมในการส่งเสริมการรับบริการอดบุหรี่ของกลุ่มทหารชั้นประทวนในค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา. วารสารควบคุมโรค, 33(2), 81-92.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2563). อัตราป่วยโรคอุจจาระร่วงต่อประชากรแสนคน. ค้นเมื่อ 12 กรกฏาคม 2564, จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=formated/ format_2.php&cat_id=7f9ab56b0f39fd053143ecc4f05354fc&id=309e77ea6f4c09faa9bcf75a8c9aee13
สุนิสา ไกรนรา, ศิริกุล ธรรมจิตรสกุล, ฐาปนี ดิษฐเกษร, เมธาพร สุวรรณกลาง, วรัญญา พานทอง, & รัตน์ติพร โกสุวินทร์. (2565).
การตรวจหาการปนเปื้อนของปรสิตและโคลิฟอร์มแบคทีเรียในผักสดในตลาดองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วารสารควบคุมโรค, 48(3), 616-625.
สุนิสา สงสัยเกตุ, รัตน์ติพร โกสุวินทร์, ปะการัง ศรีมี, สันธาน จันทะมุด, กนกวรรณ ยั่งยืน, & กัญชลิตา ธวัชเมธานันท์. (2564). ผลของโปรแกรมการสอนสุขศึกษาที่มีต่อความรู้และพฤติกรรมสุขภาพ เรื่องสุขบัญญัติ 10 ประการของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนชุมชนวัดเชี่ยวโอสถ จังหวัดนครนายก. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 37(1), 206-217.
Bloom, B. S., et al. (1956). The function of executive. London: Oxford University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.