อุบัติการณ์การเกิดเหตุไม่พึงประสงค์ในการส่งกลับผู้ป่วยไปรักษาต่อเนื่องใกล้บ้าน โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • Onanong Sapphasombat -
  • ชนัญญา จิระพรกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เศรษฐพงษ์ ธนูรัตน์ กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น
  • เนาวรัตน์ มณีนิล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

เหตุไม่พึงประสงค์, การส่งกลับผู้ป่วย, อุบัติการณ์

บทคัดย่อ

การส่งกลับผู้ป่วยไปรักษาต่อเนื่องใกล้บ้าน เป็นกระบวนการช่วยลดความแออัดในสถานพยาบาลขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามยังพบความเสี่ยงไม่พึงประสงค์ในการส่งกลับไปรักษาต่อเนื่องที่ส่งผลกระทบถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดเหตุไม่พึงประสงค์ในการส่งกลับผู้ป่วย ไปรักษาต่อเนื่องใกล้บ้าน โรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โดยศึกษาในรูปแบบเชิงพรรณนา เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่เข้าพักรักษาในโรงพยาบาลที่แพทย์ประเมินให้ส่งกลับไปรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 ถึง 31 ธันวาคม 2564  จำนวน 441 คน มีขั้นตอนติดตามดังนี้ 1) ศูนย์ส่งต่อประสานส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยไปโรงพยาบาลใกล้บ้าน 2) เตรียมผู้ป่วยก่อนส่ง  3) ระหว่างการนำส่ง  4) เมื่อผู้ถึงโรงพยาบาลใกล้บ้านและติดตามอีก 48 ชั่วโมง นำเสนอค่าอุบัติการณ์และช่วงเชื่อมั่น 95%

ผลการศึกษา พบว่า อุบัติการณ์การเกิดเหตุไม่พึงประสงค์ 26.1 ต่อ 100 คน-ปี (95%CI = 22.2-30.4) โดยส่วนใหญ่พบเหตุไม่พึงประสงค์ที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลงระหว่างกระบวนการส่งกลับ จำนวน 101 คน คิดเป็นอุบัติการณ์ 87.8 ต่อ 100 คน-ปี (95%CI = 80.4-92.7 )

โดยสรุป ยังพบอุบัติการณ์การเกิดเหตุไม่พึงประสงค์ในการส่งกลับผู้ป่วยค่อนข้างสูง ดังนั้นควรมีแนวทางการเฝ้าระวังอุบัติการณ์เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ในกระบวนการเตรียมผู้ป่วยก่อนส่งกลับ  และการประเมินอาการผู้ป่วยเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง

Author Biographies

ชนัญญา จิระพรกุล, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.

สาขาวิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เศรษฐพงษ์ ธนูรัตน์, กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

โรงพยาบาลขอนแก่น

เนาวรัตน์ มณีนิล, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการระบาดและชีวิสถิติ

References

กระทรวงสาธารณสุข.(2564) จำนวนการส่งต่อ (Refer) กระทรวงสาธารณสุข [ค้นเมื่อ 10

กันยายน 2564]. จาก: http://refer.moph.go.th/#/main/reports/dashboard

กูลจิตร รุญเจริญ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดและการจัดการความเครียดของพยาบาลโรงพยาบาล

ศรีสะเกษ. ว.การแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี [วารสารออนไลน์] 2562 ; 2(1): 1-10.

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงโรงพยาบาลขอนแก่น.(2563). ระเบียบปฏิบัติการจัดการกับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ และSentinel Event โรงพยาบาลขอนแก่น [ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2564]. จาก: http://in.kkh.go.th/downloads/documents/HRMS3.pdf

คณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาและจัดทำแนวทางการส่งต่อ. (2562) คู่มือแนวทางการพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วย. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

ปราโมทย์ ถ่างกระโทรก. (2561). ระบบส่งต่อผู้ป่วย: กระบวนการสำคัญในการจัดการบริการสุขภาพ. J Med Health Sci, 25(3): 369–373.

วิลาวรรณ ตาลทรัพย์, วัชรา ศรีหาราช. (2561). การประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์ส่งต่อในจังหวัดขอนแก่น. ว.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม (4): 37-49.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน).(2561) เป้าหมายความปลอดภัยของบุคลากรสาธารณสุขของประเทศไทย Personnel Safety Goals: SIMPLE Thailand. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: เฟมัสแอนด์ซัคเซ้สฟูล.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. (2564) ระบบการรายงานและเรียนรู้อุบัติการณ์ความเสี่ยงทางคลินิกและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของประเทศไทย [ค้นเมื่อ 22 กันยายน 2564].

จาก: https://www.thai-nrls.org

ศูนย์ส่งต่อโรงพยาบาลขอนแก่น. ผลการดำเนินงานประจำเดือนกรกฎาคม 2564. เอกสารประกอบการ

ประชุมคณะกรรมการบริหารกลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล ; 13 ก.ย.2564; ห้องประชุมประมุข จันทวิมล โรงพยาบาลขอนแก่น.

เศรษฐพงษ์ ธนูรัตน์, ธัญรัศม์ ปิยวัชร์เวลา. (2564) การใช้ Real time Tele-Monitoring และการอำนวยการตรงทางการแพทย์ในการส่งต่อผู้ป่วยวิกฤตระหว่างโรงพยาบาล. ว.ศรีนครินทร์เวชสาร; 36(3); 358-365

เศรษฐพงษ์ ธนูรัตน์, พรทิพา ตันติบัณฑิต (2564) ลักษณะของผู้ป่วยที่ เสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงแรกในการ

ส่งต่อ จากโรงพยาบาลชุมชน: กรณีวิเคราะห์ข้อมูลระดับจังหวัด.ว.กรมการแพทย์ ; 46(3); 89-95

Costello WG, Zhang L, Schnipper J, Tsilimingras D. Post-Discharge Adverse Events Among

African American and Caucasian. (2021). Patients of an Urban Community Hospital. J Racial & Ethnic Health Disparities, 8(2): 439–447.

Forster AJ, Clark HD, Menard A, Dupuis N, Chernish R, Chandok N, et al. (2004) Adverse events among medical patients after discharge from hospital. CMAJ ,170(3): 345-349.

Institute for Healthcare Improvement. (2009) IHI Global Trigger Tool for Measuring Adverse Events Second Edition [cited 2021 Aug 20]. Available from: http://www.ihi.org/resources/Pages/IHIWhitePapers/IHIGlobalTriggerToolWhitePaper.aspx

Ismail MRM, Baharuddin KA, Abidin ZEZ, Bakar MAA, Sjahid AS. (2020) Study on the incidence of adverse events during intra-hospital transfer of critical care patients from emergency department. Medical Journal of Malaysia 75(4): 325–330.

Tsilimingras D, Schnipper J, Duke A, Agens J, Quintero S, Bellamy G, et al. (2015). Post-Discharge Adverse Events Among Urban and Rural Patients of an Urban Community Hospital: A Prospective Cohort Study. Journal of General Internal Medicine 30(8): 1164–1171.

Wayne W., D. (1995). Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences (6th ed.). John Wiley&Sons, Inc., 180.

World Health Organization. (2005) Referral systems-a summary of key processes to guide health services managers. [online] 2005[cited 2021 Aug 20]. Available from: https://www.who.int/management/Referralnotes.doc

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-13