การเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อส่งเสริมพฤฒพลังสู่สังคมผู้สูงอายุตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • เบญจมาศ พุทธิมา -

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นแบบแผนงานวิจัยโดยมีโครงการย่อย ได้แก่ 1) การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพฤฒพลังสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน 2) รูปแบบกิจกรรมการมีส่วนร่วมของคนสองวัยเพื่อส่งเสริมพฤฒพลังของวัยก่อนสูงอายุ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจในการส่งเสริมพฤฒพลังสู่สังคมผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน จำนวน 30 คน และวัยก่อนสูงอายุที่มีอายุระหว่าง 45–59 ปี จำนวน 30 คน ได้มาด้วยการเลือกโดยอาสาสมัคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบวัดพฤฒพลังสำหรับผู้สูงอายุและวัยก่อนสูงอายุ ก่อนและหลังการใช้กิจกรรม งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีการวิเคราะห์บริบทชุมชน วางแผนและออกแบบอย่างมีส่วนร่วม มีการสนทนากลุ่ม ดำเนินกิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมาย ติดตามและสะท้อนผลการเรียนรู้ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เปรียบเทียบพฤฒพลัง โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า หลังการเข้าร่วมกิจกรรมผู้สูงอายุและวัยก่อนสูงอายุมีพฤฒพลังเพิ่มขึ้น สาขาวิชาภาษาอังกฤษ โดยพฤฒพลังของผู้สูงอายุก่อนการใช้ชุดกิจกรรม อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 65.33 และหลังการใช้ชุดกิจกรรมผู้สูงอายุมีพฤฒพลังเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 92.08 และพฤฒพลังของวัยก่อนสูงอายุก่อนการใช้รูปแบบกิจกรรมการมีส่วนร่วมของคนสองวัย อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 68.47 และหลังการใช้รูปแบบกิจกรรมการมีส่วนร่วมของคนสองวัย วัยก่อนสูงอายุมีพฤฒพลังเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 90.13

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2563). การดูแลผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2563, จาก https://www.dop.go.th

กระทรวงสาธารณสุข. (2562). คู่มือแนวงทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ กรมอนามัย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

นารีรมย์ รัตนสัมฤทธิ์, & เรณุมาศ มาอุ่น. (2562). รูปแบบการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตนเองตามแนวคิดพฤฒพลังเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(9), 4455-4472.

นำพร อินสิน, กาญจนา วงษ์สวัสดิ์, สาวิตรี วังคะฮาด, ยิ่งยง เสนากัง, ช่อผกา เหวียนวัน, & ธงชัย ทาต้อง. (2564). ภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุในอำเมือง จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(3), 94-103.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2553). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์.

พินทุสร โพธิ์อุไร. (2562). แนวคิดว่าด้วยการเสิรมพลังชุมชนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารพัฒนาสังคม, 21(2), 65-77.

ยมนา ชนะนิล และคณะ. (2563). ภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30(2), 83-92.

รัชนีกร เทิดขุดทด. (2562). การพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพตนเองโดยกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจ บ้านมาบกราด ตำบลพันชนะ อำเภอด่านขุดทด จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). ดัชนีพฤฒพลังผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัลพับลิเคชั่น.

สำนักงานจังหวัดลำปาง. (2560). แผนพัฒนาจังหวัดลำปาง 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564). ลำปาง: กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดลำปาง.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง. (2563). กลุ่มรายงานมาตรฐาน ข้อมูลประชากร. ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2563, จาก https://hdcservice.moph.go.th

อรสา ธาตวากร. (2562). การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุในภาวะพฤฒพลังให้เกิดการยังประโยชน์ด้านสังคม. วารสารสังคมภิวัฒน์, 10(3), 39-63.

Gibson, C. H. (1993). A study of empowerment in mothers of chronically ill children. Doctor of Philosophy Dissertation in Nursing, The Graduate School of Arts and Sciences, Boston College.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-13