ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติของสามเณร ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม อำเภอปัว จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • Chanchai Mahawan -
  • รศ.ดร.วราภรณ์ บุญเชียง
  • ผศ.ดร.อักษรา ทองประชุม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ รวมถึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติของสามเณรที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดปรางค์ และโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดภูเก็ต อำเภอปัว จังหวัดน่าน จำนวน 162 รูป รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติที่ผู้วิจัยปรับปรุงจากแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ กลุ่มเด็กและเยาวชน ฉบับปรับปรุง ปี 2561 ของกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ  ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2563 การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลทั่วไป ใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการศึกษาพบว่า สามเณรมีความรอบรู้ด้านสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 66.67 เมื่อจำแนกรายองค์ประกอบทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ความเข้าใจ ด้านการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ ด้านการสื่อสารสุขภาพ ด้านการจัดการตนเอง ด้านการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และด้านการตัดสินใจเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ พบว่า อยู่ในระดับดีมากทุกองค์ประกอบ ส่วนพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ พบว่า ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 77.78 และพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีระดับความสัมพันธ์ค่อนข้างต่ำ (r=0.322, p<0.01) ผลการวิจัยนี้นำไปสู่ข้อเสนอแนะว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษานี้มาใช้เป็นแนวทางกำหนดนโยบายและแผนการดำเนินงานเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติแก่กลุ่มสามเณรในพื้นที่อื่นต่อไป

References

กองสุขศึกษา. (2557). สุขบัญญัติแห่งชาติ กรุงเทพฯ: สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

กองสุขศึกษา. (2561ก). การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเด็กและเยาวชน (อายุ 7-14 ปี) และกลุ่มประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ฉบับปรับปรุง ปี 2561. กรุงเทพฯ: สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

กองสุขศึกษา. (2561ข). รายงานผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ปี 2561 กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย).

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, & นฤมล ตรีเพชรศรีอุไร. (2554). ความฉลาดทางสุขภาพ กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย).

ธาราพรศ์ ศรีบุญญารักษ์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองตามสุขบัญญัติแห่งชาติของนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร. สิกขาวารสารศึกษาศาสตร์, 8(1), 71-73.

พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น, นิตยา ไทยาภิรมย์, & พระชินภัทร ชินภทโท. (2556). กระบวนการพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพสามเณรโรงเรียนสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ จังหวัดเชียงใหม่. พยาบาลสาร, 40(ฉบับพิเศษ), 57-65.

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว. (2562). สรุปผลการดำเนินงานด้านสาธารณสุขระดับพื้นที่ ปีงบประมาณ 2561. (เอกสารอัดสำเนา).น่าน: โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว.

สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2562). กองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์.

สิงหา จันทน์ขาว. (2555). การศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนสามเณรโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ, 15(ฉบับพิเศษ), 337-350.

สุริยเดว ทรีปาตี. (2562). พัฒนาการและการปรับตัวในวัยรุ่น. ค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563, จาก:http://www.nicfd.cf.mahidol.ac. th/th/images/documents/3.pdf

อโนชา วิปุลากร, ชัญญา อนุเคราะห์, ไพรชล ตันอุด, & นณธภัทร ธีระวรรธนศิริ. (2561). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา เขตภาคเหนือตอนบน ปี พ.ศ.2561. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 4(2), 149-163.

Nutbeam D. (2000). Health Literacy as a public health goal: A challenge for contemporary health education and communication strategies into health 21st century. Health Promotion International, 15(3), 259-267.

World Health Organization [WHO]. (1998). Health Literacy and Health Promotion: Definitions, Concepts and Examples in the Eastern Mediterranean Region, individual empowerment conference working document. Retrieved April 10, 2020, from https://www.dors.it/documentazione/testo/201409/02_2009_OMS%20Nairobi_Health%20Literacy.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-13