การออกกำลังกายและภาวะอ้วนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตเทศบาลนครแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • nittaya sirima -

บทคัดย่อ

การออกกำลังกายเป็นปัจจัยที่ช่วยป้องกันหรือชะลอการเกิดโรค อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสุขภาพอนามัยของประชาชน ดังนั้น การออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสมของ อสม. จึงมีความสำคัญในการเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับประชาชนสำหรับการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการออกกำลังกาย รวมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยทำนายภาวะอ้วนและอ้วนลงพุงของ อสม. ในเขตเทศบาลนครแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จำนวน 205 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์–เมษายน 2564 โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง และประเมินภาวะอ้วนและอ้วนลงพุงโดยการวัดส่วนสูง การชั่งน้ำหนัก และการวัดความยาวเส้นรอบเอว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสถิติการถดถอย
โลจิสติก

ผลการศึกษา พบว่า อสม. ส่วนใหญ่มีภาวะอ้วน (ดัชนีมวลกาย ≥25.0 กิโลกรัม/เมตร2) ร้อยละ 60.5 และมีเส้นรอบเอวเกินเกณฑ์มาตรฐานหรือภาวะอ้วนลงพุง ร้อยละ 75.1 ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติเกี่ยวกับการออกกำลังกาย (r=0.332) และการปฏิบัติเกี่ยวกับการออกกำลังกาย (r=0.191) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ทัศนคติและการปฏิบัติเกี่ยวกับการออกกำลังกายมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.247, p-value< 0.05) ปัจจัยที่ทำนายภาวะอ้วนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2=12.2%) ได้แก่ สถานภาพแต่งงาน (OR=3.23) สถานภาพแยกกันอยู่/หย่า/หม้าย (OR=4.14) และการออกกำลังกายตามเกณฑ์ (OR=0.30) ปัจจัยที่ทำนายภาวะอ้วนลงพุงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2=20.1%) ได้แก่ สถานภาพแต่งงาน (OR=3.20) สถานภาพแยกกันอยู่/หย่า/หม้าย (OR=2.90) โรคประจำตัว (OR=2.51) และการออกกำลังกายโดยวิธีการวิ่ง (OR=0.07) ดังนั้น ควรมีการพัฒนาโครงการหรือโปรแกรมการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคอ้วนใน อสม.

 

References

กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). รายงานผลการสำรวจข้อมูลการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาของประชาชน ประจำปี 2563. กรุงเทพฯ: กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานแสดงช่วงอายุของ อสม. ค้นเมื่อ

มิถุนายน 2564, จาก https://www.thaiphc.net/phc/phcadmin/administrator/Report/OSMRP00012.php

คลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลแม่สอด. (2564). สรุปข้อมูลรายงานประจำปี อสม. ปี 2564. ตาก: โรงพยาบาลแม่สอด.

ฉลอง อภิวงศ์. (2554). พฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ดวงพร กตัญญุตานนท์. (2556). ภาวะโภชนาการและพฤติกรรม 3 อ. ของอาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสาร มฉก.วิชาการ, 17(33), 83-98.

นิมิตร์ สะโมทาน (2560). สถานการณ์และความสัมพันธ์ของภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนกับเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในกองกำลังพลกองทัพบก จังหวัดลพบุรี. ค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2564, จาก http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2559-2560/PDF/ wpa_8156/ALL.pdf

ปัญจพร ภาสิริ และปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์ .(2558). ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการออกกำลังกายของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(1), 114-131.

พลอยฌญารินทร์ ราวินิจ, & อดิศักดิ์ สัตย์ธรรม. (2559). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะอ้วนลงพุงในประชากร ตำบลชะแมบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 5(2), 33-47.

วิชัย เอกพลากร. (บรรณาธิการ). (2564). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. [ม.ป.ท.:

ม.ป.พ.].

สุนิตรา ทองดี. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างโรคอ้วนกับปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในบุคคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. วารสารโรงพยาบาลแพร่, 27(1), 38-50.

อาภา ภัคภิญโญ ยังประดิษฐ. (2557). การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2(2), 140-154.

Armstrong, A., Jungbluth Rodriguez, K., Sabag, A., Mavros, Y., Parker, H. M., Keating, S. E., et al. (2022). Effect of aerobic exercise on waist circumference in adults with overweight or obesity: A systematic review and meta-analysis. Obesity Reviews, 23(8), e13446.

Bellicha, A., van Baak, M. A., Battista, F., Beaulieu, K., Blundell, J. E., Busetto, L., et al. (2021). Effect of exercise training on weight loss, body composition changes, and weight maintenance in adults with overweight or obesity: An overview of 12 systematic reviews and 149 studies. Obesity Reviews, 22(Suppl 4), e13256.

Dagne, S., Gelaw, Y. A., Abebe, Z., & Wassie, M. M. (2019). Factors associated with overweight and obesity among adults in northeast Ethiopia: a cross-sectional study. Diabetes, Metabolic Syndrome and Obesity: Targets And Therapy, 12, 391–399.

Hazell, T. J., Hamilton, C. D., Olver, T. D., & Lemon, P. W. (2014). Running sprint interval training induces fat loss in women. Applied Physiology, Nutrition, and Metabolism, 39(8), 944–950.

Janghorbani, M., Amini, M., Rezvanian, H., Gouya, M. M., Delavari, A., Alikhani, S., et al. (2008). Association of body mass index and abdominal obesity with marital status in adults. Archives of Iranian Medicine, 11(3), 274–281.

Okop, K. J., Levitt, N., & Puoane, T. (2015). Factors associated with excessive body fat in men and women: Cross-sectional data from Black South Africans Living in a Rural Community and an Urban Township. PloS one, 10(10), e0140153.

Omar, S. M., Taha, Z., Hassan, A. A., Al-Wutayd, O., & Adam, I. (2020). Prevalence and factors associated with overweight and central obesity among adults in the Eastern Sudan. PLoS One, 15(4), e0232624.

Zeng, Q., Dong, S. Y., Sun, X. N., Xie, J., & Cui, Y. (2012). Percent body fat is a better predictor of cardiovascular risk factors than body mass index. Brazilian Journal of Medical and Biological Research, 45(7), 591–600.

Zhang, P., Wang, R., Gao, C., Jiang, L., Lv, X., Song, Y., et al. (2016). Prevalence of Central Obesity among Adults with Normal BMI and Its Association with Metabolic Diseases in Northeast China. PLoS One, 11(7), e0160402.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-07