The การประเมินผลการอบรมฐานสมรรถนะเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารด้านสุขภาพสำหรับนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

The Effects of Competency – Based Training to Improve Health Communication skills

ผู้แต่ง

  • Numporn Insin -
  • Sasiwan Tassana-iem Sakon Nakhon Rajabhat University
  • Kanjana Vongsawat

คำสำคัญ:

ทักษะการสื่อสาร ข้อมูลด้านสุขภาพ สมรรถนะ การอบรม นักสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การพัฒนาทักษะการสื่อสารด้านสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญในการผลิตบุคลากรในวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน เพราะเป็นผู้ที่มีบทบาทในการให้ข้อมูลด้านสุขภาพที่ถูกต้องและทันสมัยแก่ประชาชน การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของการอบรมฐานสมรรถนะเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารด้านสุขภาพของนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์จำนวน 67 คน ที่ได้จากวิธีการสุ่มแบบเจาะจงจากนักศึกษาที่สมัครใจเข้าร่วมการอบรมฐานสมรรถนะที่สร้างความรู้ ทักษะ และทัศนคติต่อการสื่อสารด้านสุขภาพตามบทบาทวิชาชีพสาธารณสุขจำนวน 15 ชั่วโมง 7 หน่วยการเรียนรู้ การเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการอบรมใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้ระดับทักษะของตนเองต่อการสื่อสารทั่วไปและด้านการสื่อสารด้านสุขภาพ การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนระหว่างทักษะก่อนและหลังการอบรมใช้สถิติ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนทักษะการสื่อสารทั่วไปและทักษะการสื่อสารด้านสุขภาพหลังการอบรมมากกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 0.006 และ p< 0.001) ดังนั้น การบูรณาการการอบรมฐานสมรรถนะนี้กับกระบวนการเรียนรู้ในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์น่าจะส่งเสริมให้การพัฒนาทักษะการสื่อสารด้านสุขภาพของนักศึกษาได้ผลดียิ่งขึ้น

References

ญนัท วอลเตอร์, & กนกพรรณ พรหมทอง. (2564). ทักษะการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ ตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาลเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลภาคใต้. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 8(2), 13-25.

ญาณันธร กราบทิพย์, กุหลาบ รัตนสัจธรรม, วนัสรา เชาว์นิยม, & วัลลภ ใจดี. (2560). สมรรถนะที่จำเป็นของนักสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเตรียมความพร้อมและจัดการภัยพิบัติจากน้ำท่วม. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 34(3), 171-185.

ดวงกมล เทวพิทักษ์. (2559). การสื่อสารในระบบบริการสุขภาพ. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565, จาก https://www.classstart.org/classes/19271

นำพร อินสิน, นิราวรรณ บุญทน, ทัศนีย์ ทะบันหาร, นันทพร กำสี, & นวภรณ์ จ่าบุญ. (2564). พฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลด้านสุขภาพและความเชื่อมั่นต่อแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. ใน การประชุมวิชาการราชภัฏสุราษฎร์ธานีวิจัย ครั้งที่ 16. (หน้า 517-534). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์, วุฒิชัย เนียมเทศ, & ณัฐวิทย์ พจนตันติ. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(2), 208-222.

ปริทัศน์ เจริญช่าง, สุวัฒนา เกิดม่วง, & สุรินธร กลัมพากร. (2559). สมรรถนะวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิไทย. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 26(1), 40-51.

พระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2556. (2556, 16 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา, 130(118ก), 19-35.

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. (2564). หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุคนทิพย์ รุ่งเรือง, ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ, นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์, & สุธี อยู่สถาพร. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสมรรถนะของนักวิชาการสาธารณสุข กรณีศึกษาเขตบริการสุขภาพที่ 4. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 2(2), 15-29.

หนึ่งหทัย ขอผลกลาง, & กิตติ กันภัย. (2553). งานวิจัยด้านการสื่อสารสุขภาพ: กลไกในการพัฒนาสังคม. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี สังคมศาสตร์, 4(1), 65-77.

Baker, J. D. (2006). Queendom online test repository. Handbook of Research on Electronic Surveys and Measurements, 352-354. doi:10.4018/978-1-59140-792-8.ch049

Barton, G., Bruce, A., & Schreiber, R. (2017). Teaching nurses teamwork: Integrative review of competency-based team training in nursing education. Nurse Education in Practice, 32. doi:10.1016/j.nepr.2017.11.019

Brightwell, A., & Grant, J. (2012). Competency-based training: Who benefits? Postgraduate Medical Journal, 89. doi:10.1136/postgradmedj-2012-130881

Dubosh, N. M., Hall, M. M., Novack, V., Shafat, T., Shapiro, N. I., & Ullman, E. A. (2019). A Multimodal Curriculum With Patient Feedback to Improve Medical Student Communication: Pilot Study. Western Journal of Emergency Medicine, 21(1), 115-121. doi:10.5811/westjem.2018.11.44318

Haq, Z., & Hafeez, A. (2009). Knowledge and communication needs assessment of community health workers in a developing country: a qualitative study. Human Resources for Health, 7(1), 59.

Heshmati, H., Shakibazadeh, E., Mortaz Hejri, S., Foroushani, A. R., & Sadeghi, R. (2020). Development of a comprehensive communication skills curriculum bases on intervention mapping in response to an urgent need for community health workers’ education reform: A study protocol. Journal of Education and Health Promotion, 9, 75.

Hobgood, C. D., Riviello, R. J., Jouriles, N., & Hamilton, G. (2002). Assessment of communication and interpersonal skills competencies. Acadamic Emergency Medicine, 9(11), 1257-1269.

Khampirat, B., Pop, C., & Bandaranaike, S. (2019). The effectiveness of work-integrated learning in developing student work skills: A case study of Thailand. International Journal of Work-Integrated Learning, 20(2), 127-146.

Kim, A. Y., & Sim, I. O. (2020). Communication skills, problem-solving ability, understanding of patients’ conditions, and nurse's perception of professionalism among clinical nurses: A structural equation model analysis. International Journal of Environment Research and Public Health, 17(13), 4896.

Kwon, J. H., Kye, S.-Y., Park, E. Y., Oh, K. H., & Park, K. (2015). What predicts the trust of online health information? Epidemiology and Health, 37(0), e2015030.

Rider, E. A., Hinrichs, M. M., & Lown, B. A. (2006). A model for communication skills assessment across the undergraduate curriculum. Medical Teacher, 28(5), e127-134.

Schlögl, M., Singler, K., Martinez-Velilla, N., Jan, S., Bischoff-Ferrari, H. A., Roller-Wirnsberger, R. E., et al. (2021). Communication during the COVID-19 pandemic: evaluation study on self-perceived competences and views of health care professionals. European Geriatric Medicine, 12(6), 1181-1190.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-13