ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ไม่ครบ 4 ครั้งตามเกณฑ์ ในเขตเมืองยมมะลาด แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • ODAY PANYASAVANH Khon Kaen University
  • ภัทระ แสนไชยสุริยา

บทคัดย่อ

การฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์อาจส่งผลให้เกิดอันตรายทั้งต่อมารดาและทารกได้ โดยเฉพาะปัญหาการเสียชีวิตของมารดาในระหว่างตั้งครรภ์และคลอดบุตร ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว เป็นประเทศหนึ่งที่ประสบกับปัญหาดังกล่าว การศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง (Analytical cross-sectional study) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับมาฝากครรภ์ไม่ครบ 4 ครั้งตามเกณฑ์ โดยพื้นที่ศึกษา คือ เขตเมืองยมมะลาด แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาที่มาฝากครรภ์ที่สถานบริการสาธารณสุขในเขตเมืองยมมะลาดและคลอดบุตร ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 31 ธันวาคม 2563 จำนวน 234 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติทดสอบ Multiple logistic regression analysis ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 25.61 ปี ± 5.88 อายุน้อยที่สุด 16 ปี อายุ มากที่สุด 43 ปี ส่วนมากมีสถานภาพแต่งงาน ระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษาลงมา มีอัตราความชุกการฝากครรภ์ไม่ครบ 4 ครั้งตามเกณฑ์ร้อยละ 70.94 (95%CI= 64.67-76.67) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฝากครรภ์ไม่ครบ 4 ครั้งตามเกณฑ์ ได้แก่ การฝากครรภ์ครั้งแรกอายุครรภ์ มากกว่า 12 สัปดาห์ (AOR=178.10, 95%CI=20.63-1537.16) ระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษาลงมา(AOR=57.23, 95%CI=8.55-382.87) ความสะดวกในการเดินทางมา ฝากครรภ์ระดับน้อย (AOR=19.84, 95%CI=6.26-62.89) และทัศนคติต่อผู้ให้บริการและสถานบริการฝากครรภ์ระดับปานกลาง (AOR=10.18, 95%CI=1.81-57.08)

References

เอกสารอ้างอิง

ปิยะมาพร เลาหตีรานนท์, สุมัทนา กลางคาร, & เสฐียรพงษ์ ศิวินา. (2562). การประยุกต์ใช้โปรแกรมการดูแลตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ้นที่มาฝากครรภ์ โรงพยาบาลนิคมคำสร้อยจังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 5(4), 73-82.

ชมพูนุท โตโพธิไทย, วลัยพร พัชรนฤมล, วีระศักดิ์ พุทธาศรี, ฐิติกร โตโพธิ์ไทย, อังคณา สมนัสทวีชัย, ประเทือง เผ่าดิษฐ, และคณะ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดบริการฝากครรภ์ของสถานพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 24, 885-892.

เรณู ศรีสุข. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการฝากครรภ์แรกภายใน 12 สัปดาห์ของหญิงตั้งครรภ์ ที่มาฝากครรภ์ในสถานบริการเขตอำเภอพนัสสิคม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศรีสุรางค์ ภัทรคามินทร์. (2558). ปัจจัยด้านผู้รับบริการที่มีผลต่อการเข้ารับการฝากครรภ์ครั้งแรกล่าช้าและการฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ลินน ซอเหมียว, ศริยามล ติรพัฒน์, & เนตร หงษ์ไกร. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการรับบริการฝากครรภ์คุณภาพของกลุ่มแรงงานข้ามชาติพม่าในโรงพยาบาลไทย: จังหวัดตากและสมุทรสาคร. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา, 14(3), 45-57.

สุจิตต์ แสนมงคล. (2559). การรับรู้ภาวะสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก จังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 30, 105-114.

สุวิมล สุรินทรัพย์. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมาฝากครรภ์ล่าช้าของหญิงตั้งครรภ์พื้นที่โซนตะวันชิงพลบ อำเภอเมือง จังหวัด ลำพูน. การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานสาธารณสุขแขวงคำม่วน. (2562). รายงานสาธารณสุขแขวงคำม่วน. ลาว: สำนักงานสาธารณสุขแขวงคำม่วน.

Antenatal Care Module. (2020). Course handbook for participants: Basic maternal and newborn care learning resource package, ReproLinePlus. Retrieved October 3, 2020, from http://reprolineplus.org/resources/antenatal-care-module-course-handbook-participants-basic-maternal-and-newborn-care

Basha, G. W. (2019, August 14). Factors affecting the utilization of a minimum of four antenatal care services in Ethiopia. Retrieved January 19, 2021, from https://www.hindawi.com/journals/ogi/2019/5036783/

Ewunetie, A. A., Munea, A. M., Meselu, B. T., Simeneh, M. M., & Meteku, B. T. (2018). Delay on first antenatal care visit and its associated factors among pregnant women in public health facilities of Debre Markos town, North West Ethiopia. BMC Pregnancy and Childbirth, 18(1), 173.

Gebresilassie, B., Mossie, T., Tilahun, W., Berhane, B., & Gebresilassie, S. (2019). Timing of first antenatal care attendance and associated factors among pregnant women in public health institutions of Axum town, Tigray, Ethiopia, 2017:

A mixed design study. BMC Pregnancy and Childbirth, 19.

NHSR Lao. (2019). Google docs. Retrieved February 24, 2021, from https://drive.google.com/file/d/1P_0TbAGWmTlu2QQDY1l_ auv6r01PtV1v/ view?usp=sharing&usp=embed_facebook

Phommachanh, S., Essink, D. R., Jansen, M., Broerse, J. E. W., Wright, P., & Mayxay, M. (2019). Improvement of Quality of Antenatal Care (ANC) Service Provision at the Public Health Facilities in Lao PDR: Perspective and Experiences of Supply and Demand Sides. BMC Pregnancy and Childbirth, 19.

Prusty, R. K., Buoy, S., Kumar, P., & Pradhan, M. R. (2015). Factors associated with utilization of antenatal care services in Cambodia. Journal of Public Health, 23(5), 297–310.

Tekelab, T., Chojenta, C., Smith, R., & Loxton, D. (2019). Factors affecting utilization of antenatal care in Ethiopia: A systematic review and meta-analysis. PloS One, 14(4), e0214848.

Trends in Maternal Mortality: 1990 to 2015. (n.d.). Retrieved October 3, 2020, from http://publications/trends-maternal-mortality-1990-2015

Trends in Maternal Mortality: 2000 to 2017. (n.d.). Retrieved October 3, 2020, from http://featured-publication/trends-maternal-mortality-2000-2017

UNICEF. (2021). UNICEF global databases, 2021, of antanatal care, based on MICS, DHS and other nationally representative household survey data. Geneva: UNICEF

World Health Organziation [WHO]. (2019). WHO recommendations on antenatal care for a positive pregnancy experience. Retrieved October 3, 2020, from https://www.who.int/reproductivehealth/publications/maternal_ perinatal_health/anc-positivepregnancy-experience/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-07