ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคกระดูกพรุนในบุคคลากรสตรีวัยกลางคนของโรงพยาบาลขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • รฐา ไชยสิงห์ Faculty of Public Health Khonkaen University

คำสำคัญ:

พฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุน ปัจจัย สตรีวัยกลางคน

บทคัดย่อ

ปัญหาโรคกระดูกพรุนซึ่งส่งผลให้เกิดโรคกระดูกหักได้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และส่วนมากเกิดในเพศหญิงมากกว่าเพศขาย การวิจัยแบบวิเคราะห์ภาคตัดขวาง ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุระดับพฤติกรรมการป้องกันโรคกระดูกพรุนและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ในบุคคลากรสตรีวัยกลางคนของโรงพยาบาลขอนแก่นที่มีอายุระหว่าง 40-59 ปี กลุ่มตัวอย่าง 720 คนที่ได้จากการสุ่มตอบสอบถามแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลระดับพฤติกรรมด้วยร้อยละและ 95% CI และการถดถอยลอจิสติกเชิงพหุเพื่อระบุปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุน

ผลการศึกษา พบว่า บุคคลากรสตรีวัยกลางคนของโรงพยาบาลขอนแก่นร้อยละ 14.4 (95% CI, 12.1-17.2) มีพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนอยู่ในระดับดี  และร้อยละ 59.9 (95% CI, 56.2-63.4) ในระดับปานกลาง และระดับไม่ดี ร้อยละ 25.7 (95% CI, 22.6-29.0)  และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคกระดูกพรุน ได้แก่ มีความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุนระดับปานกลางถึงสูง (ORadj=2.9, 95%CI: 1.7-5.0) การรับรู้ด้านที่เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุนในระดับต่ำ (ORadj=8.4, 95%CI: 2.9-24.8)  ไม่มีโรคประจำตัว (ORadj=1.8, 95%CI: 1.0-3.3) รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 25,000–35,000 บาท (ORadj=2.7, 95%CI : 1.6-4.5) ระยะเวลาปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลขอนแก่น 21 ปีขึ้นไป (ORadj=4.4, 95%CI :2.5-7.7) สถานภาพโสด หม้าย แยกกันอยู่ (ORadj=2.3, 95%CI: 1.4-3.5

References

กรมสุขภาพจิต. (2561). ภัยเงียบ!!คนไทย 90% เสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน. ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2564, จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=28429

พิชญ์ประอร ยังเจริญ, & สุภาพ อารีเอื้อ. (2554). ปัจจัยคัดสรรในการทำนายพฤติกรรมป้องกันภาวะกระดูกพรุนของบุคลากรทางการพยาบาล. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 17(1), 1-19.

ภาณี เดชาสถิตย์, ศรีเทียน ตรีศิริรัตน์, และเจียมจิต แสงสุวรรณ. (2556). การรับรู้สมรรถนะตนเองในการป้องกันโรคกระดูกพรุนของผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 18 มกราคม 2564, จาก https://gsbooks.gs.kku.ac.th/ 56/grc14/files/mmp25.pdf

มัณฑินา จ่าภา, รวิภา บุญชูช่วย, สุพัฒศิริ บุญยะวัตร, & สุรางค์ เปรมเสถียร. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุน ของข้าราชการทหารอากาศ. วารสารพยาบาลตำรวจ, 4(1), 69-82.

รัตนาภรณ์ เทิ่งขุนทด. (2560). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคกระดูกพรุนในสตรีวัยหมดประจำเดือน. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

โรงพยาบาลกรุงเทพฯ พัทยา. (2564). วิธีป้องกัน การเกิดโรคกระดูกพรุนและกระดูกหัก? ค้นเมื่อ 15 เมษายน 2565, จาก https://www.bangkokpattayahospital.com/th/disclaimer-th/item/848-osteoporosis-9-

วัชรินทร์ วงษาหล้า, & มโนไท วงษาหล้า. (2563). การเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก:แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(35), 410-424.

สำนักข่าวเอชโฟกัส. (2562). มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติชี้โรคกระดูกพรุนภัยเงียบ มีคนกระดูกหักทุก 3 วินาทีทั่วโลก. ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2564,. จาก https://www.hfocus.org/ content/2019/10/17962

สุนภัสษร สิงหไพศาล. (2564). การลดน้ำหนักสำหรับผู้หญิงที่มีดัชนีมวลกายเกิน 25 ปี. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565, จาก https://www.bim100.in.th/การลดน้ำหนักสำหรับผู้ห/

อาภาพร เผ่าวัฒนา และคณะ. การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชนการประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: คลังนานาวิทยา; 2554.

เอชโฟกัส เจาะลึกระบบสุขภาพ. (2562). มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติชี้โรคกระดูกพรุนภัยเงียบ มีคนกระดูกหักทุก 3 วินาทีทั่วโลก. ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2564, จาก https://www.hfocus.org/content/2019/10/17962

American Bone Health. (2017). Nutrients for bone health. Retrieved Mar 15, 2021, from https://americanbonehealth.org/nutrition/vitamins-for-bone-health/

Best, J. (1981). Research in education (4th ed). London: Prentice-Hall International.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.

Ebeling, P. (2014). Osteoporosis in men: Why change needs to happen. Switzerland: The International Osteoporosis Foundation.

Hsieh, F. Y., Bloch, D. A., & Larsen, M. D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine, 17(14), 1623–1634.

Khani Jeihooni, A., Hidarnia, A., Kaveh, M. H., & Hajizadeh, E. (2015). The effect of a prevention program based on health belief model on osteoporosis. Journal of Research in Health Sciences, 15(1), 47–53.

Maiman, L. A., & Becker, M. H. (1974). The health belief model: Origins and correlates in psychological theory. Health Education & Behavior, 2, 336-353.

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2006). Health promotion in nursing practice (5th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Phiboonleetrakul, Y., Aree-Ue, S., & Kittipimpanon, K. (2020). Relationships between osteoporosis knowledge, risk of falls and fall prevention behavior in older Thai females at risk of osteoporosis. Thai Journal of Public Health, 50(3),

-406.

Phiboonleetrakul, Y., Aree-Ue, S., & Kittipimpanon, K. (2020). Relationships between osteoporosis knowledge, risk of falls and fall prevention behavior in older thai females at risk of osteoporosis. Thai Journal of Public Health, 50(3), 391–406.

Pongchaiyakul, C., Songpattanasilp, T., & Taechakraichana, N. (2008). Burden of osteoporosis in Thailand. International Journal of Rheumatic Diseases, 11(4), 335-340.

Round, R., Marshall, B., & Horton, K. (2005). Planning for effective health promotion evaluation. Melbourne: Victorian Government Department of Human Services.

Thanakwang, K., & Soonthorndhada, K. (2008). Family relations and health-promoting behavior among older people in Nan Province. Journal of the Medical Association of Thailand, 91(7), 1102-1108.

Wallace, L. (2002). Osteoporosis prevention in college women: Application of the expand health belief model. American Journal Health Behavior, 26(3), 163-172.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-07