- การสนับสนุนทางสังคมกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุไทยในชุมชน อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

Kantima Srimaksook*1, Saowanee Thuphoom2, Chawannat Rungchitcharoen3, Thanarat Plubplachai1, Chuanpis Siripaiboon1, Aittiphol Duangchinda1 Faculty of Public Health and Allied Health Sciences, Royal Institute of Thailand, Sirindhorn College of Public Health Suphanburi Province1, Ban Khlong Sakae-Pa Wai Health Promoting Hospital2, Kao Liao Hospital3

ผู้แต่ง

  • กันธิมา ศรีหมากสุก -
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองสะแก-ป่าหวาย กระทรวงสาธารณสุข
  • โรงพยาบาลเก้าเลี้ยว กระทรวงสาธารณสุข
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

การสนับสนุนทางสังคม, ภาวะซึมเศร้า, ผู้สูงอายุไทย

บทคัดย่อ

ภาวะซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางจิตใจและอารมณ์ที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ แต่มักถูกละเลยเนื่องจากเข้าใจว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นตามปกติจากการที่มีอายุเพิ่มขึ้น มีผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต ถึงแม้ว่าจะไม่มีภาวะซึมเศร้ารุนแรงก็ตาม

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุไทยในชุมชน อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ จำนวน 235 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (S-CVI) เท่ากับ 0.948 และค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.77 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า

ภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่มีภาวะซึมเศร้าปกติ ร้อยละ 77.87 และโดยรวมอยู่ในระดับเป็นผู้มีความเศร้าปกติ (Mean=8.41, S.D.=5.41) การสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุไทยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=2.41, S.D.=0.24) การสนับสนุนทางสังคมกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุไทยโดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงลบอยู่ในระดับปานกลาง (r= -0.390) ซึ่งด้านที่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุไทยในระดับปานกลาง ได้แก่ การมีโอกาสเอื้อประโยชน์ต่อผู้อื่น (r= -0.328) การได้รับความช่วยเหลือในด้านต่างๆ (r= -0.320) และความใกล้ชิดและรักใคร่ผูกพัน (r= -0.316) ส่วนด้านที่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุไทยในระดับน้อย ได้แก่ การได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ที่มีคุณค่า (r= -0.258) และการมีส่วนร่วมหรือเป็นส่วนหนึ่งของสังคม (r= -0.228) ตามลำดับ

ผลการวิจัยนี้ ชี้ให้เห็นว่าการสนับสนุนทางสังคมกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุไทยในชุมชนโดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงลบอยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกหน่วยงานและบุคคลใกล้ชิดควรให้ความสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุกับการเกิดภาวะซึมเศร้า โดยเฉพาะด้านการมีส่วนร่วมของสังคม และการได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ที่มีคุณค่า เพื่อป้องกันและลดความรุนแรงของภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้อย่างทันการ

References

กกรมกิจการผู้สูงอายุ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (2562). สถิติผู้สูงอายุประเทศไทย 77 จังหวัด. ค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://www.dop.go.th/th/know/1

กรมสุขภาพจิต. (2562). แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2562, จาก https://www.dmh.go.th/abstract/ nurse/details.asp?id=884

เขตสุขภาพที่ 5. (2562). ประชากรผู้สูงอายุเขตสุขภาพที่ 5 ปี 2562. ค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2562, จาก https://apps.hpc.go.th/

จินตนา เหลืองศิริเธียร. (2550). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์. สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา พัฒนาการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชุติมา มาลัย, รุ่งทิพย์ ไชยโยยิ่งยงค์, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์, & ศรีสกุล เฉียบแหลม. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดราชบุรี. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 39(3), 67-76.

โชติกา จันทรลาวัณย์, นภัสธนกรณ์ วรภัทรพุนสุข, & พิมลนาฏ จันทร์กลั่น. (2559). โครงงานทางจิตวิทยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โชติกา สิงหาเทพ, ธนิกานต์ ศรีจันทร์, & เสาวนีย์ จันทสังข์. (2561). บทบาทของผู้สูงอายุในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต.โคกมั่งงอย อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ดลฤทัย บุญชู, วิไลพรรณ สมบุญตนนท์, วิไลวรรณ ทองเจริญ, & ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างอายุของผู้ดูแล ภาระในการดูแล แรงสนับสนุนทางสังคมกับการปรับตัวของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 35(2), 62-78.

นภา พวงรอด. (2558). การศึกษาภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 2(1), 63-74.

นิพนธ์ พวงวรินทร์ และคณะ. (2537). แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุไทย. สารศิริราช, 46(1), 1-9.

ปุณิกา กิตติกุลธนันท์, พัชรินทร์ นินทจันทร์, & โสภิณ แสงอ่อน. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างเพศ การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความแข็งแกร่งในชีวิต และการสนับสนุนทางสังคมกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 33(2), 137-156.

พาริณี สุกใส, สุธรรม นันทมงคลชัย, ศุภชัย ปิติกุลตัง, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์, & พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในเขตเมือง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 27(5), 809-818.

พิมพ์รัตน์ โทกุล, โสภิณ แสงอ่อน, & พัชรินทร์ นินทจันทร์. (2563). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในสถานสงเคราะห์คนชรา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, 31(2), 187-200.

ภานุชนาถ พูสี, โสภิณ แสงอ่อน, & พัชรินทร์ นินทจันทร์. (2563). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 33(1), 18-35.

มุจรินทร์ พุทธเมตตา, & รังสิมันต์ สุนทรไชยา. (2559). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าในเขตภาคกลาง. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 30(2), 69-82.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ยุพา ทองสุข, ดวงใจ วัฒนสินธุ์, & ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาล

จิตเวชและสุขภาพจิต, 33(1), 95-110.

รชฏ มงคล, อธิวัฒน เจี่ยวิวรรธนกุล, & สาวิตรี ทยานศิลป. (2561). การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร, (ฉบับพิเศษ), 63-79.

รัตนา บุญพา, ผจงจิต ไกรถาวร, & นพวรรณ เปียซื่อ. (2562). การสนับสนุนทางสังคมและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่อาศัยอยู่ตามลำพังในชุมชน. วารสารสภาการพยาบาล, 34(2), 112-126.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2562). มิเตอรประเทศไทย. ค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2562, จาก http://www.thailandometers.mahidol.ac.th/index.php?#population

สรร กลิ่นวิชิต, เวธกา กลิ่นวิชิต, พวงทอง อินใจ, & พลอยพันธุ์ กลิ่นวิชิต. (2558). การประเมินภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังในชุมชน เทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี. บูรพาเวชสาร, 2(1), 21-33.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. (2563). การคัดกรองโรคซึมเศร้า (2Q) ในผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2563, จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 1 เชียงใหม่. (2563). การบริหารค่าบริการสาธารณสุข สำหรับผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563, จาก https://www.chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/document/200417158709400251.pdf

สำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. (2560). แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ สำหรับโรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล. นนทบุรี: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สุมนทิพย์ บุญเกิด, สมฤดี ดีนวนพะเนา, ปวีณา ระบำโพธิ์, ศริญญา นาคสระน้อย, & กัลยา ไผ่เกาะ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับภาวะซึมเศร้า ในผู้สูงอายุของสถานสงเคราะห์คนชรา. วารสารการพยาบาลทหารบก, 19(1), 182-190.

อมรา ชูพลสัตย์, ดวงใจ วัฒนสินธุ์, & ชนัดดา แนบเกสร. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มแข็งในการมองโลก ภาระในการดูแล แรงสนับสนุนทางสังคม และภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม. วารสารพยาบาล, 67(2), 36-43.

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, & สุชาติ พันธุ์ลาภ. (2559). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชุมชนชานเมือง กรุงเทพมหานคร. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ, 3(3), 25-36.

อรพิน พรรคโยภณ. (2561). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุ. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563, จาก http://www.oic.go.th

อาคม บุญเลิศ. (2559). ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชนเขตรับผิดชอบของสถานบริการปฐมภูมิสามเหลี่ยม จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร, 31(1), 25-33.

Best, J. W., & James, V. K. (1993). Research in education (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Girgus, J. S., Yang, K., & Ferri, C., V. (2017). The gender difference in depression: Are elderly women at greater risk for depression than elderly men? Geriatrics, 2(4), 35-46.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610

Liu, L., Gou, Z., & Zuo, J. (2016). Social support mediates loneliness and depression in elderly people. Journal of health psychology, 21(5), 750–758. https://doi.org/10.1177/1359105314536941

Statistics Solutions, (2019). Directory of statistical analyses: Pearson’s Correlation Coefficient. Retrieved October 31, 2019, from https://www.statisticssolutions.com/free-resources/directory-of-statistical-analyses/pearsons-correlation-coefficient/

Tajvar, M., Grundy, E., & Fletcher, A. (2018). Social support and mental health status of older people: A population-based study in Iran-Tehran. Aging & mental health, 22(3), 344–353.

Tawalbeh, L. I., & Ahmad, M. M. (2013). Personal Resource Questionnaire: A Systematic Review. The Journal of Nursing Research, 21(3), 170-177.

Weinert, C., & Brandt, P. A. (1987). Measuring social support with the personal resource questionnaire. Western Journal of Nursing Research, 9(4), 589-602.

World Health Organization. (2017). Mental health of older adults. Retrieved January 14, 2019, from https://www.who.int/en/news-room/fact-sheets/detail/mental-health-of-older-adults

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-07