คุณภาพชีวิตประชากรไทยในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • อนัญญา ประดิษฐปรีชา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • วรวิช นาคแป้น สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ศรุดา จิรัฐกุลธนา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ปธานิน แสงอรุณ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • กุลธิดา บรรจงศิริ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • อารยา ประเสริฐชัย สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • จิรภัทร หลงกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตลําปาง
  • ปกกมล เหล่ารักษาวงษ์ Faculty of Public Health, Khon Kaen University

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, การแพร่ระบาด, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างขวาง ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตประชากรไทยในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยทำการเก็บข้อมูลจากประชาชนไทยที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 409 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยเทคนิคการสุ่มตัวอย่างสโนว์บอล และใช้แบบสอบถามออนไลน์ (Google form) เก็บรวบรวมข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์  ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดที่จะเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างภายใต้การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้น ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 80.44 มีอายุเฉลี่ย ± (S.D.) เท่ากับ 32.50±8.18 ปี มีรายได้เฉลี่ย ± (S.D.) เท่ากับ 25,135.92±(45,956.64) บาท โดยรวมประชาชนไทยมีระดับคุณภาพชีวิตอยู่ระดับปานกลาง และรายได้เฉลี่ยลดลง 6,102.47 บาทอย่างมีนัยสำคัญ (Mean difference = 6,102.47, 95%CI: 1,570.08 to 10,634.86, P-value= 0.008) นอกจากนี้ยังพบว่าประชาชนถูกเลิกจ้างร้อยละ 9.05 และเกิดภาวะความเครียดร้อยละ 70.17 การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนไทย โดยเฉพาะด้านจิตใจ ซึ่งก่อให้เกิดภาวะความเครียดเนื่องจากรายได้ลดลง และถูกเลิกจ้าง ดังนั้นการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และการส่งเสริมการดูแลสุขภาพจิตแก่ประชาชน จะช่วยลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคนี้ นอกจากนี้ การเสริมสร้างความพยายามในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคนที่รวดเร็ว ชัดเจน รวมถึงการจัดสรรสวัสดิการของรัฐเพื่อช่วยเหลือประชาชนในชุมชนอย่างเท่าเทียมกันก็มีความสำคัญที่จะช่วยลดผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กับสุขภาพโดยรวมได้

References

สุวัฒน์ มหันนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ, & ราณี พรมานะจิรังกุล. (2540). เปรียบเทียบตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตของ WHO 100 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง.

Algahtani, F. D., Hassan, S. U. N., Alsaif, B., & Zrieq, R. (2021). Assessment of the quality of life during COVID 19 Pandemic: A cross-sectional survey from the Kingdom of Saudi Arabia. International Journal of Environmental Research and Public Health, 18(3), 847.

Chen, N., Zhou, M., Dong, X., Qu, J., Gong, F., Han, Y., et al. (2020). Epidemiological and clinical characteristics of 99 cases of 2019 novel coronavirus pneumonia in Wuhan, China: a descriptive study. The Lancet, 395(10223), 507-513.

Daniel, W. W. (1995). Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences (6th ed.). New York: Wiley.

Epifanio, M. S., Andrei, F., Mancini, G., Agostini, F., Piombo, M. A., Spicuzza, V., et al. (2021). The impact of COVID-19 pandemic and lockdown measures on quality of life among Italian General Population. Journal of Clinical Medicine, 10(2), 289.

Li, Q., Guan, X., Wu, P., Wang, X., Zhou, L., Tong, Y., et al. (2020). Early Transmission Dynamics in Wuhan, China, of Novel Coronavirus-Infected Pneumonia. The New England Journal of Medicine, 382(13), 1199-1207.

Park, K. H., Kim, A. R., Yang, M. A., Lim, S. J., & Park, J. H. (2021). Impact of the COVID-19 pandemic on the lifestyle, mental health, and quality of life of adults in South Korea. PLoS One, 16(2), e0247970.

Pieh, C., Budimir, S., Delgadillo, J., Barkham, M., Fontaine, J., & Probst, T. (2021). Mental health during COVID-19 lockdown in the United Kingdom. Psychosomatic Medicine, 83(4), 328-337.

Rothe, C., Schunk, M., Sothmann, P., Bretzel, G., Froeschl, G., Wallrauch, C., et al. (2020). Transmission of 2019-nCoV infection from an asymptomatic contact in Germany. New England Journal of Medicine, 382(10), 970-971.

Sohrabi, C., Alsafi, Z., O’Neill, N., Khan, M., Kerwan, A., Al-Jabir, A., et al. (2020). World Health Organization declares global emergency: A review of the 2019 novel coronavirus (COVID-19). International Journal of Surgery, 76, 71–76.

The Department of Disease Control, Ministry of Public Health, Thailand. (2020). Coronavirus disease (COVID-19). Retrieved May 26, 2020, from https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/eng/index.php

Wilder-Smith, A., & Freedman, D. O. (2020). Isolation, quarantine, social distancing and community containment: pivotal role for old-style public health measures in the novel coronavirus (2019-nCoV) outbreak. Journal of Travel Medicine, 27(2), taaa020.

World Health Organization. (2020). Coronavirus disease 2019 (COVID-19): Situation report 73. Retrieved May 26, 2020, from https://apps.who.int/iris/handle/10665/331686

Zhang, Y., & Ma, Z. F. (2020). Impact of the COVID-19 pandemic on mental health and quality of life among local residents in Liaoning Province, China: A cross-sectional study. International Journal of Environmental Research and Public Health, 17(7), 2381.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-07