ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เขตอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional survey research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดความรู้ด้านสุขภาพของกองสุขศึกษากรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข(2561)และแนวคิดการดูแลตนเองของโอเร็ม(Orem, 2001) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อายุ 60 ปี ขึ้นไป โดยวิธีการสุ่มคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 240 คน เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 ด้วยวิธีการตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติไคสแควร์ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการดูแลตนเอง อยู่ในระดับสูง จำนวน 147 คน (ร้อยละ 61.25) ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ จำนวน 127 คน (ร้อยละ 52.92) เมื่อพิจารณาความรอบรู้สุขภาพตาม
6 องค์ประกอบ พบว่า มีความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพอยู่ในระดับต่ำร้อยละ 75.80 ด้านความรู้ความเข้าใจในระดับปานกลาง ร้อยละ 55.80 ด้านทักษะการสื่อสารในระดับต่ำ ร้อยละ 49.17 ด้านทักษะการจัดการตนเองระดับปานกลาง ร้อยละ 67.08 ด้านทักษะการตัดสินใจในระดับสูง ร้อยละ 62.92 และด้านการรู้เท่าทันสื่อในระดับต่ำ ร้อยละ 81.67 นอกจากนี้ยังพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( = 10.547 p-value 0.001)
ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
References
กมลพรรณ จักรแก้ว, รพีพร เทียมจันทร์, & วราภรณ์ ศิริสว่าง. (2562). การดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ตำบล
วงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 9(2), 32-38.
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2562). รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. ค้นเมื่อ 13 มกราคม 2564, จาก https://bit.ly/2LxLmSp
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่. ค้นเมื่อ 13 มกราคม 2564,จาก http://www.hed.go.th/ linkhed/file/865
กิตนิษฐา โพธิ์ละเดา, วรัชฎา ราชชมภู, สิรินาถ นักรำ, ประเสริฐ ประสมรักษ์, สุภาวดี พันธุมาศ, & ยุวดี สารบูรณ์. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตเมืองและเขตชนบท อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น, 2(1), 21-39.
กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข. (2564). ข้อมูลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจากระบบ HDC ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2563. ค้นเมื่อ 8 มกราคม 2564, จาก https://bit.ly/3d0uQWB
ชิตกมล ศรีชมภู, & เบญจา มุกตพันธุ์. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(2), 62-71.
ภัสราภรร์ ทองภูธรณ์, & สุวลี โล่วิรกรณ์. (2563). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ที่มารับบริการคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลกุดจับ จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 13(1), 22-32.
รัตน์ศิริ ทาโต. (2561). การวิจัยทางพยาบาลศาสตร์: แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิทยา จันทร์ทา. (2559). ความฉลาดทางสุขภาพด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดชัยนาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกการจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิษณุ เฉลิมนนท์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในคลินิกเบาหวาน สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี ตำบลโคกสลุงอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 5(2), 137-144.
ศักดิ์สิทธิ์ คำเกาะ, & รุจิรา ดวงสงค์. (2563). ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพโดยการประยุกต์ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปานเจริญ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยสาธารณสุขมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 13(3), 56-68.
สมฤทัย เพชรประยูร, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, คะนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล, & ธวัชชัย พีรพัฒน์ดิษฐ์. (2557). อิทธิพลของการรับรู้ความรุนแรงของโรค ความแตกฉานด้านสุขภาพ และการสนับสนุนจากครอบครัวต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 26(1), 38-51.
สมศุภางค์ ชัยปริญญา, ภัทระ แสนไชยสุริยา, & ลลิตภัทร ดีรักษา. (2563). การตรวจน้ำตาลด้วยตนเองต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ในกำลังพลทหารผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 แบบไม่พึ่งพาอินซูลิน โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 13(3), 99-109.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2562). โรคเบาหวาน. ค้นเมื่อ 13 มกราคม 2564, จาก https://bit.ly/3juLkXW
สุธาสินี พิชัยกาล, & รุจิรา ดวงสงค์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางสุขภาพกับระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลโนนสะอาด. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(3), 109-118.
อรไท แดงชาติ. (2562). พฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลดารารัศมี. วารสารโรงพยาบาล
นครพิงค์, 10(2), 31-45.
Orem, D. E., Taylor, S. G., & Renpenning, K. M. (2001). Nursing: Concepts of Practice (6th ed.). St. Louis: Mosby.
Kim, N. H., Yang, Y., & Lee, M. H. (2016). Effects of health literacy and knowledge on diabetic self-care in the elderly with DM living alone. Journal of Korean Academy of Community Health Nursing, 27(4), 370–379.
World Health Organization [WHO]. (2017). Diabetes: WHO updates fact sheet on diabetes. Retrieved November16, 2020, from https://www.who.int/health-topics/diabetes#tab=tab_1
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.