ผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กทารกที่เกิดจากมารดาวัยรุ่นในอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
ผลกระทบทางสุขภาพ, ทารก, มารดาวัยรุ่นบทคัดย่อ
ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพของทารกตามมา การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาพัฒนาการภาวะโภชนาการ ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนของเด็กทารกที่เกิดจากมารดาวัยรุ่น ในเขตพื้นที่อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม พร้อมการคัดลอกข้อมูลจาก สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก และคู่มือเฝ้าระวังคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของเด็กทารกที่เกิดจากมารดาวัยรุ่นในเขตพื้นที่อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่คลอดระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 – 30 กันยายน 2563 จำนวน 112 คน วิเคราะห์ทางสถิติโดยสถิติพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่าเด็กทารกที่เกิดจากมารดาวัยรุ่นมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ16.9 ส่วนใหญ่ได้กินนมแม่และนมผสม ร้อยละ 37.5 ด้านการเจริญเติบโตและภาวะทางโภชนาการของเด็กอายุ 6 เดือน และ 18 เดือน พบว่า เด็กมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 7.1 และน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 6.4 ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ พบมีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์อายุร้อยละ 10.7 และเมื่อวิเคราะห์น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง พบมีน้ำหนักค่อนข้างผอมและผอม ร้อยละ 8.9 ท้วมและอ้วน ร้อยละ 6.3 ด้านพัฒนาการพบว่า เด็กอายุ 6 เดือนและ 18 เดือน มีด้านพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวสมวัยมากที่สุด ร้อยละ 96.9 และ 95.7 ตามลำดับ และเด็กอายุ 6 เดือนและ 18 เดือน มีพัฒนาการด้านการใช้ภาษาระดับสงสัยล่าช้าและล่าช้า ที่ควรเฝ้าระวังมากที่สุด ร้อยละ 59.1 และ 15.2 ตามลำดับ การได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันตามเกณฑ์อายุ พบกลุ่มอายุ 6 เดือน และ 18 เดือน ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ ร้อยละ 98.5 และ 97.8 ตามลำดับ ไม่ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ ร้อยละ 1.5 และ 2.2 ตามลำดับ
จากผลการศึกษาจึงควรมีการฝากครรภ์และดูแลมารดาวัยรุ่นก่อนคลอดเน้นโภชนาการให้ครบถ้วน เพื่อป้องกันภาวะทารกในครรภ์เจริญเติบโตล่าช้า การคลอดก่อนกำหนดและทารกน้ำหนักตัวน้อย พร้อมทั้งให้การติดตามการเจริญเติบโต และพัฒนาการเด็กทารกไปจนถึงอายุ 5 ปี
References
กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. (2556). คู่มือนักส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยหลักสูตรเร่งรัดประจำโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. (2561). สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก. กรุงเทพฯ: กลุ่มอนามัยแม่และเด็ก สำนักส่งเสริมสุขภาพกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน. (2562). ตำราวัคซีนและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปี 2562. กรุงเทพฯ: กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
ณัฐติพร อ้นด้วง, สมศรี ทาทาน, นงนุช ปัญจธรรมเจริญ. (2561). การเจริญเติบโต พัฒนาการและภาวะสุขภาพของเด็กต่ำกว่า 5 ปีที่เกิดจากมารดาวัยรุ่น. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา, 19(3), 59-71.
ทวีชัย สายวงศ์, อัครภา จุฬคุปต์, อรณิชชา ฐิติถากุล, ชนกันต์ วณิชชานนท์, ณัฐธิดา พฤกษ์งามพันธ์, ศุภัช ทรงวศิน, และคณะ. (2559). ความสัมพันธ์ของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นกับการให้กำเนิดทารกที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐานในมารดาที่คลอดที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. เวชสารวิทยาศาสตร์การแพทย์, 1(1), 32-101.
มยุรา เรืองเสรี. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน ของมารดาวัยรุ่นหลังคลอดในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์, 6(1), 37-48.
รัตนา กาสุริย์. (2557). สุขภาพของทารกที่เกิดจากมารดาตั้งครรภ์วัยรุ่นในอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร. วารสารวิชาการแพทย์, 8(2),
-56.
วิรุฬห์ พรพัฒน์กุล. (2560). ผลการรักษาทารกแรกเกิดจากมารดาวัยรุ่น. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 7(1). 56-64.
รุสนา ดอแม็ง. (2560). ปัจจัยที่มีผลในการนำบุตรหลานอายุ 0-5 ปี รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคพื้นฐานของผู้ปกครอง จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. (2558). คู่มือสำหรับพ่อแม่ เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็กตอน วัยเด็กเล็ก 0-3 ปี.
กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย, สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. (เอกสารอัดสำเนา).
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. (2562). สถานการณ์การตั้งครรภ์มารดาวัยรุ่น. ค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2563, จาก http://rh.anamai.moph.go.th/
download/all_file/index/situation/FactSheet@62.pdf
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. (2562). งานอนามัยแม่และเด็ก. ค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2563, จาก https://ksn.hdc.moph.go.th/hdc/ reports/page.php?cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b3 2af425ae5
หนึ่งฤทัย เกื้อเอียด, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, & สมเกียรติยศ วรเดช. (2561). สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการของเด็กไทยอายุ
ต่ำกว่า 5 ปี: การทบทวนวรรณกรรม. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(1), 281–296.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.