ผลของโปรแกรมป้องกันอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • กฤษฎา หาสีงาม คณะสาธารณสุขศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

อุบัติเหตุจักรยานยนต์, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมปลอดภัย

บทคัดย่อ

อุบัติเหตุการจราจร ทำให้มีการสูญเสียมหาศาล ทรัพย์สิน เงินทอง และชีวิต ประชากรโลกเสียชีวิตจำนวนมาก ในแต่ละปีประมาณ 1.35 ล้านคน และบาดเจ็บประมาณ 50 ล้านคน อุบัติเหตุจากจักรยานยนต์เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ผู้เสียชีวิตสาเหตุจากจักรยานยนต์ร้อยละ 23 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเยาวชน การลดปัญหานี้โดยการปรับพฤติกรรมในการขับขี่ปลอดภัย การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 68 คน แบ่งเป็นโรงเรียนกลุ่มทดลอง จำนวน 34 คน และโรงเรียนกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 34 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมป้องกันอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยประยุกต์ใช้แนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ ประกอบด้วยกิจกรรมประกอบด้วย การจำลองสถานการณ์ และให้กลุ่มนักเรียนตัดสินใจในการป้องกันอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ การวางแผนขับขี่รถจักรยานยนต์เพื่อป้องกันอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ ระยะเวลาดำเนินการ 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนภายในกลุ่มวิเคราะห์ด้วยสถิติ Paired Sample t-test และระหว่างกลุ่ม ใช้สถิติ Independent Sample t-test กำหนดระดับค่าความเชื่อมั่น 95% (p-value<0.05)

ผลการศึกษาหลังการทดลองพบว่า ความรู้การป้องกันอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ การเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและอันตรายจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ การประเมินภาวะเสี่ยงอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ ทักษะการตัดสินใจเพื่อป้องกันอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ และการปฏิบัติตนในการป้องกันอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) ข้อเสนอแนะ การศึกษาครั้งนี้เป็นการประยุกต์แนวคิดการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ได้ ซึ่งสามารถนำไปใช้กับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายได้กับโรงเรียนอื่นๆ

References

กานต์พิชชา หนูบุญ และพรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2558). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันอุบัติภัยจราจรรถจักรยานยนต์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 8(2), 1-9.

คลังข้อมูลสุขภาพ. (2562). รายงานสำหรับผู้บริหาร. ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2563, จากhttps://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page_eis.php

คลังข้อมูลสุขภาพ. (2563). รายงานสำหรับผู้บริหาร. ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2563, จากhttps://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page_eis.php

ชัชวาลย์ เพ็ชรกอง, & พรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2562). ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารสุขศึกษา, 42(2), 23-32.

ชุติมา เจียมใจ, กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์, & ประเสริฐศักดิ์ กายนาคา. (2559). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ ในการสร้างเสริมพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 31(3), 205-217.

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรสำนักแผนความปลอดภัย. (2563). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทำงถนนของกระทรวงคมนำคม พ.ศ. 2562. ค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2564, จาก https://www.otp.go.th/uploads/tiny_uploads/PDF/2563-06/ 25630601-RoadAccidentAna2562_Final.pdf

สิริกร ศรีเมือง, อาภาพร เผ่าวัฒนา, & สุนีย์ ละกำปั่น. (2562). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในวัยรุ่นหญิงตอนต้นโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 35(3), 74-85.

สิริกัลยา เศิกศิริ. (2553). การประยุกต์ใช้แผนที่จุดเสี่ยง ฮิยาริ ฮัตโตะ ร่วมกับทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค เพื่อป้องกันอุบัติภัยจราจรจากรถจักรยานยนต์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2550). ชีวสถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 4). ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

Karimi, N., Gharin, S. S., Tol, A., Sadeghi, R., Yaseri, M., & Mohebbi, M. (2019). A problem-based learning health literacy intervention program on improving health promoting behaviors among girl students. Retrieved August 4, 2020, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6967126/pdf/JEHP-8-251.pdf

The European Health Literacy Project [HLS-EU]. (2012). Measurement of health literacy in Europe: HLS-EU-Q47; HLS-EU-Q16; and HLS-EU-Q86. [n.p.].

World Health Organization [WHO]. (2013). Health literacy: The solid facts. Retrieved August 29, 2020, from https://www.euro.who.int/__data/assets/pdf_file/0008/190655/e96854.pdf

World Health Organization [WHO]. (2004). World report on road traffic injury prevention. Retrieved August 1, 2020, from https://apps.who.int/iris/rest/bitstreams/50878/retrieve

World Health Organization [WHO]. (2012). Health education: theoretical concepts, effective strategies and core competencies. Retrieved December 5, 2020, from https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/119953/ EMRPUB_2012_EN_1362.pdf

World Health Organization [WHO]. (2018). Road traffic injuries. Retrieved August 1, 2020, from https://www.who.int/ health-topics/road-safety/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-07