ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยาวอร์ฟารินกับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา ชะแงมรัมย์ คณะสาธารณสุขศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ชนัญญา จิระพรกุล

คำสำคัญ:

warfarin, stroke, atrial fibrillation

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลังครั้งนี้ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยาวอร์ฟารินกับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว และศึกษาอุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างได้จากการคำนวณขนาดตัวอย่าง 468 ราย แบ่งเป็นกลุ่มใช้ยาวอร์ฟาริน จำนวน 234 ราย และกลุ่มไม่ใช้ยาวอร์ฟาริน จำนวน 234 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลเวชระเบียนของโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 วิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติตัวแบบเชิงเส้นนัยทั่วไป (Generalized Linear Model, GLMs) นำเสนอค่า Adjusted relative risk  ค่าช่วงความเชื่อมั่น 95% ค่า p-value กำหนดที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการศึกษา พบว่า การใช้ยาวอร์ฟารินมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (RRadj=1.09 95%CI: 0.71–1.68; p = 0.682) เมื่อควบคุมผลกระทบจากตัวแปร ประวัติการใช้ยาวอร์ฟาริน เพศ อายุ สิทธิการรักษา ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง ในสมการสุดท้าย พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว คือ ภาวะไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเป็น 2.19 เท่า ของผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะไขมันในเลือดสูง (95%CI 1.14–4.19; p=0.018) ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วในกลุ่มที่ใช้ยาวอร์ฟาริน พบอุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดสมอง ร้อยละ 16.7 (95% CI=12.3-22.0) และกลุ่มไม่ใช้ยาวอร์ฟาริน พบอุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดสมอง ร้อยละ 17.1 (95% CI=12.8-22.5)

ถึงแม้ว่าการใช้ยาวอร์ฟารินมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ควรศึกษาเพิ่มในตัวแปรด้านคลินิก ด้านพฤติกรรม และตัวแปรอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง มีการพัฒนาแนวทางการตรวจคัดกรองและการควบคุมภาวะไขมันในเลือดสูง โดยมีการตรวจระดับไขมันในเลือดทุก 6 เดือน ในผู้ป่วยที่มีการใช้ยาลดไขมันในเลือด และมีการตรวจระดับไขมันในเลือดทุก 1 ปี ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว

           

References

กลุ่มข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. (2562). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2562. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน.

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย. (2555). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วในประเทศไทย. ค้นเมื่อ

สิงหาคม 2563, จาก http://www.thaiheart.org/images/column_1291454908/Thai_AF_Guideline_2012.pdf

Ail, A., Claire, B., & Ahmed H. A. (2012). Stroke prevention with oral anticoagulation in older people with atrial fibrillation:

A pragmatic approach. Aging and Disease, 3(4), 339-351.

American College of Cardiology. (2003). Stroke prevention in atrial fibrillation II study. Retrieved September 24, 2021, from https://www.acc.org/Latest-in-Cardiology/Clinical-Trials/2010/02/23/19/19/SPAF-II

January, C. T., Wann, L. S., Alpert, J. S., Calkin, H, Cigarroa, J. E., Clevelannd, J. C., et al. (2014). AHA/ACC/HRS guideline for the management of patients with atrial fibrillation: A report of the American College of Cardiology/American Heart Association Task Force on Practice Guidelines and the Heart Rhythm Society. Journal of the American College of Cardiology, 64, 1-76.

Gerhard, H., Tatjana, P., Nikolaos, D., Elerna, A., Jeroen, J. B., Carina, B., et al. (2020). 2020 ESC Guidelines for the diagnosis and management of atrial fibrillation developed in collaboration with the European Association for Cardio-Thoracic Surgery (EACTS): The Task Force for the diagnosis and management of atrial fibrillation of the European Society of Cardiology (ESC) Developed with the special contribution of the European Heart Rhythm Association (EHRA) of the ESC. European Heart Journal, 42, 373-498.

Leif, F., Marten, R., Gregory, Y. H. (2012). Evaluation of risk stratification schemes for ischemic stroke and bleeding in 182678 patients with atrial fibrillation: the Swedish atrial fibrillation cohort study. European Heart Journal, 33, 1500-1510.

Mcbried, R. (1994). Warfarin versus aspirin for prevention of thromboembolism in artrial fibrillation. The Lancet, 342,

-691.

Reiffel, J. A. (2014). Atrial fibrillation and stroke. [Electronic version]. American Journal of Medicine, 127(4), 15-16.

Van Walraven, C., Hart, R. G., Singer, D. E., Laupacis, A., Connolly, S., Petersen, P., et al. (2002). Oral anticoagulants vs aspirin in nonvalvular atrial fibrillation: An individual patient meta-analysis. [Electronic version]. JAMA, 288(19), 2441-2448.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-17

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ