คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ ตำบลหนองม่วง อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • วารุณี สุดตา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, คุณภาพชีวิต, ชมรมผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

       

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ ตำบลหนองม่วง อำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี ประชากรเป็นผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุตำบลหนองม่วงไม่น้อยกว่า 6 เดือนจำนวน 171 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุในชมรมเป็นเพศหญิง ร้อยละ 71.30 มีอายุระหว่าง 70-79 ปี ร้อยละ 49.10 อายุเฉลี่ย 72.11 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 88.90 สถานภาพสมรส ร้อยละ 48.50 รายได้มาจากบุตรหลานและเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ร้อยละ 66.10 รายได้เพียงพอกับรายจ่ายและมีเหลือเก็บ ร้อยละ 35.10 มีโรคประจำตัว ร้อยละ74.30 เป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 62.60 คุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 69.60 และระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ร้อยละ 73.10 ด้านจิตใจ ร้อยละ 69.60 ด้านสัมพันธภาพทางสังคม ร้อยละ 75.50  และด้านสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 60.80 ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลและส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เช่น การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับช่วงวัย เพื่อให้ผู้สูงอายุหันมาดูแลสุขภาพและสามารถดูแลตนเองได้

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). สถิตประชากรในประเทศไทย 77 จังหวัด. ค้นเมื่อ 26เมษายน 2563, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/ pk/pk_62.pdf

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2563). สถิตประชากรในประเทศไทย 77 จังหวัด. ค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/ stat/pk/pk_62.pdf

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2556). แนวทางการดูแลทางด้านสังคมจิตใจของผู้สูงอายุเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิต. ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2563, จาก http://164.115.41.179/promote/sites/default/files/sites/default/files/sw1.pdf

โกศล สอดส่อง. (2561). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, 6(1), 162-175.

จิรัชยา เคล้าดี, & จักรวาล สุขไมตรี. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารราชพฤกษ์, 15(1),

-32.

จิราภรณ์ การะเกตุ. (2562). ประเทศไทยกับสังคมผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 26 เมษายน 2563, จาก https://il.mahidol.ac.th/upload/img/2019-05-15-052430.pdf

เจษฎา นกน้อย, & วรรณภรณ์ บริพันธ์. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 9(3), 94-105.

ชนนิพัทธ์ ประเสริฐพรรณ, นพวรรณ เปียซื่อ, สุจินดา จารุพัฒน์ มารุโอ, & กมลรัตน์ กิติพิมพานนท์. (2557). กิจกรรมและผลการดำเนินกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุในชุมชนเมือง: กรณีศึกษา. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 20(3), 388-400.

ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. ค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2563, จาก https://library2.parliament.go.th/ ejournal/content_af/2561/jul2561-1.pdf

ชวนนท์ อิ่มอาบ. (2563). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5, 39(1), 65-77.

ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร, วรัญญา มณีรัตน์, กรรณิการณ์ เทพกิจ, อนัญญา เหล่ารินทอง, & พัชรินทร์ วินยางค์กูล . (2561). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุชาติพันธุ์ จังหวัดเชียงราย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(4), 74-82.

ปรางทิพย์ ภักดีคีรีไพรวัลย์. (2559). การศึกษาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนบ้านแสนตอ หมู่ 11 ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. สารนิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มหาวิทยาลัยมหิดล. (2560). ภาวะสูงวัยของประชากร. ค้นเมื่อ 26 เมษายน 2563, จาก http://.ipsr.mahidol.ac.th/ipsrbeta/th/ ResearchClusters.aspx?ArticleId

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2562). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2561. ค้นเมื่อ 26 เมษายน 2563, จาก https://thaitgri.org/?wpdmpro38671&refresh=5ef05c349ded11592810548

วัชรากรณ์ ชีวโศภิษฐ. (2562). สังคมผู้สูงอายุกับปัจจัยการตลาดที่เปลี่ยนไป. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(1), 38-54.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. (2545). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององคการอนามัยโลกชุดยอ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL – BREF – THAI). ค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2563, จาก https://www.dmh.go.th/test/download/files/whoqol.pdf

Pradeep, G. C., Tiraphat, S., & Chompikul, J. (2017). Factors associated with quality of life among the elderly in Baglung District, Nepal. Journal of Public Health and Development, 15(3), 51–64.

Rondón García, L. M., & Ramírez Navarrro, J. M. (2018). The Impact of Quality of Life on the Health of Older People from a Multidimensional Perspective. Journal of Aging Research, 1-7..

World Health Organization. (1997). Programme on mental health: WHOQOL Measuring quality of life. Geneva: WHO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-07