ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ ในนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคแห่งหนึ่ง ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • Maneevone Phafong ศูนย์อนามัย เมืองเวียงคา แขวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว
  • เบญจา มุกตพันธุ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

พฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ, นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิค, สปป. ลาว

บทคัดย่อ

พฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพของวัยรุ่นได้แก่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การใช้สารเสพติด และพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ซึ่งวัยรุ่นมักมีพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้หลายอย่างพร้อมกัน การศึกษาจึงนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาความชุกของการมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพเพียงอย่างเดียว และหลายอย่างร่วมกัน  และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพหลายอย่างร่วมกัน ในนักศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคแห่งหนึ่ง ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) เป็นการศึกษาเชิงพรรณาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาอายุ 16-20 ปี จำนวน 330 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบให้ตอบเอง ได้แก่ ลักษณะส่วนบุคคล ทัศนคติต่อพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ ปัจจัยด้านครอบครัว ด้านเพื่อน ด้านสิ่งแวดล้อม การเข้าถึงสื่อที่เกี่ยวข้อง และพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพในด้านการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การใช้สารเสพติด และการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน วิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพหลายอย่างร่วมกัน (ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยง มีพฤติกรรมเสี่ยง 1 อย่าง มีพฤติกรรมเสี่ยง ≥2 อย่าง) โดยใช้สถิติ Multiple Ordinal Logistic Regression ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 55.15 มีอายุเฉลี่ย 18.99±1.06 ปี ความชุกของคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ 1 อย่างพบร้อยละ 46 พฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ 2 อย่าง และ >= 3 อย่างพบร้อยละ 19.7 และ 4.5 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพหลายอย่างร่วมกันได้แก่ เพศชาย (adjusted OR [ORadj]=1.92, 95% CI: 1.22–3.01) กลุ่มอายุ 19–20 ปี (ORadj=1.66, 95% CI: 1.04–2.65) มารดามีการศึกษาระดับมัธยมต้นหรือต่ำกว่า (ORadj=1.60 , 95% CI: 1.02–2.49) รายได้ครอบครัวมากกว่า 3,000,000 (กีบ/เดือน) (ORadj=2.86, 95% CI: 1.35–6.08) ปัจจัยด้านเพื่อนที่มีคะแนนความเสี่ยงมาก (ORadj=1.77, 95% CI: 1.32–2.79) ปัจจัยด้านการเข้าถึงสื่อที่มีคะแนนความเสี่ยงมาก (ORadj=1.61, 95% CI: 1.03–2.49)  สรุป: เกือบครึ่งหนึ่งของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคอาชีวศึกษา ในสปป. ลาว มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ 1 อย่าง และหนึ่งในสี่มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพร่วม 2 อย่างขึ้นไป ดังนั้นควรมีการดำเนินโครงการที่เน้นให้นักศึกษาตระหนักถึงผลกระทบของการมีพฤติกรรมเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนักศึกษาชาย ที่ครอบครัวมีรายได้มาก และมารดามีการศึกษาต่ำ โดยแนะนำให้ปฏิบัติตามอย่างเพื่อนที่มีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดี และเลือกใช้สื่อที่ให้ความรู้ที่ส่งเสริมสุขภาพ

References

กันยารัตน์ สมบัติธีระ, & ยุพา ถาวรพิทักษ์. (2558). อัตราการตอบกลับแบบสอบถามและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่ออัตราการตอบกลับแบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูล โดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ในงานวิจัย ด้านพยาบาลศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 15(1), 105-113.

จรรยา เศรษฐพงศ์, เกียรติกำจร กุศล, สายฝน เอกวรางกูร, & ปิยธิดา จุลละปิยะ. (2553). พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของวัยรุ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารพยาบาลและการศึกษา, 3(3), 51-63.

ปัญญ์กรินทร์ หอยรัตน์, & ปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 36(1), 149-163.

พัชราภรณ์ ดียางหวาย, สมลักษณ์ เทพสุริยานนท์, ชมนาค วรรณพรศิริ, & ทวีศักดิ์ ศิริพรไพบูลย์. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพของนักเรียนวัยรุ่นในสังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสาร

การพยาบาลและสุขภาพ, 8(1), 94-104.

พิมพ์รัตน์ ธรรมรักษา, & อาภาพร เผ่าวัฒนา. (2561). การป้องกันพหุพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่นไทยทำได้จริงหรือ?. วารสารวิทยาลัยพยาบาล

บรมราชชนนี กรุงเทพฯ, 34(2), 173-187.

มัณฑนา ธนะพันธุ์. (2551). พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของนักเรียน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคําแหง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลานามัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

ยุพา พูนขำ. (2553). การศึกษาแนวทางการส่งเสริมสุขภาพป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงและปัญหาสุขภาพเยาวชน. นนทบุรี: สำนักอนามัยการเจริญพันธ์.

วิทยาลัยเทคนิคแขวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว. (2562). รายงานการตรวจสารเสพติดในนักศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562. เวียงจันทน์: วิทยาลัยเทคนิคแขวงเวียงจันทน์.

วิทยาลัยเทคนิคแขวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว. (2563). รายงานการตรวจสารเสพติดในนักศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563. เวียงจันทน์: วิทยาลัยเทคนิคแขวงเวียงจันทน์.

สุขสถาพร จันทมาศ, ราณี วงศ์คงเดช, & นิรันดร์ อินทรัตน์. (2561). การเสริมสร้างพฤติกรรมการป้องกันโรค เอดส์ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิควิชาชีพ แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 7(2), 174-184

อิสรภาพ มาเรือน. (2564). รูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาวัยรุ่นเข้าสู่การเป็นนักดื่มหน้าใหม่ ในชุมชนชาติพันธุ์ ม้ง เมี่ยน ลัวะ ตำบลป่ากลาง อำเภอปัว จังหวัดน่าน. ค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2564, จาก http://cas.or.th/cas/wp-content/uploads/2021/06/รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการ.pdf

Boričić, K., Simić, S. & Erić, J. M. (2015). Demographic and socio-economic factors associated with multiple health risk behaviours among adolescents in Serbia: a cross sectional study. BMC Public Health, 15, 157.

Bozzini, A. B., Bauer, A., Maruyama, J., Simões, R., & Matijasevich, A. (2021). Factors associated with risk behaviors in adolescence: a systematic review. Revista Brasileira De Psiquiatria, 43(2), 210–221.

Center for Disease Control and Prevention. (2020). Youth Risk Behavior Surveillance System (YRBSS). Retrieved December 7, 2020, from https://1th.me/qdgf5

da Silva Brito, A. L., Hardman, C. M., & de Barros, M. V. (2015). Prevalence and factors associated with the co-occurrence of health risk behaviors in adolescents. Rev Paul Pediatr, 33(4), 423–430. Faria, Y. O., Gandolfi, L., & Moura, L. B. A. (2014). Prevalence of risk behaviors in young university students. Acta Paul Enferm, 27(6), 591-595.

Guilamo-Ramos, V., Litardo, H. A., & Jaccard, J. (2005). Prevention programs for reducing adolescent problem behaviors: implications of the cooccurrence of problem behaviors in adolescence. Journal Adolescence Health, 36,82-86.

Kim, H. H., Kim, H. J., & Kim, E. M. (2020). Exploring the Association between Suicidality and Smoking Behavior among School-Based Children in Lao People's Democratic Republic (PDR). Journal of Psychoactive Drugs, 52(1), 46–55.

Kipping, R. R., Campbell, R. M., MacArthur, G. J., Gunnell, D. J., & Hickman, M. (2012). Multiple risk behaviour in adolescence. Journal of Public Health, 34(1), 1-2.

Lao Statistics Bureau. (2018). Lao Social Indicator Survey II 2017: Survey Findings Report. Vientiane, Lao PDR: Lao Statistics Bureau and UNICEF.

Lao People’s Revolutionary Youth Union, Lao PDR, (2014). Adolescent and Youth Situation Analysis Lao People’s Democratic Republic “Investing in young people is investing in the future”. Vientiane: United Nations Population Fund.

Patton, G. C., Sawyer, S. M., Santelli, J. S., Ross, D. A., Afifi, R., Allen, N. B., et al. (2016). Our future: a Lancet commission on adolescent health and wellbeing. Lancet (London, England), 387(10036), 2423–2478.

Petersen, A. B., Muffley, N., Somsamouth, K., & Singh, P. N. (2019). Smoked Tobacco, Air Pollution, and Tuberculosis in Lao PDR: Findings from a National Sample. International Journal of Environmental Research and Public Health, 16(17), 3059.

Saito, J., Yasuoka, J., Poudel, K. C., Foung, L., Vilaysom, S., & Jimba, M. (2013). Receptivity to tobacco marketing and susceptibility to smoking among non-smoking male students in an urban setting in Lao PDR. Tobacco Control, 22(6), 389–394.

Sirirassamee T, Sirirassamee B, Jampaklay A, Borland R, Fong GT. (2009). Risk factors of tobacco use among Thai adolescents: finding from International Tobacco Control Policy Survey Southeast Asia (ICT-SEA). J Med Assoc Thai, 92 Suppl 3, S4-S8.

Sychareun, V., Thomsen, S. & Faxelid, E. (2011). Concurrent multiple health risk behaviors among adolescents in Luang Namtha province, Lao PDR. BMC Public Health, 11, 36.

Thammaraksa, P., Powwattana, A., Lagampan,S., Vatanasomboon,P., & Stoddard,S.. (2020). Understanding causes of multiple risk behaviors in Thai male adolescents from multidimensional perspectives: A qualitative study. Pacific Rim Int J Nurs Res, 24(2), 274-287.

Tsitsimpikou, C., Tsarouhas, K., Vasilaki, F., Papalexis, P., Dryllis, G., Choursalas, A., et al. (2018). Health risk behaviors among high school and university adolescent students. Experimental and Therapeutic Medicine, 16(4), 3433–3438.

Wayne, W. D. (1995). Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences (6th ed.). New York: John Wiley & Sons.

World Health Organization. (2018a). Adolescent health: The missing population in universal health coverage. Retrieved December 15, 2020, from https://1th.me/3uIz4

World Health Organization. (2018b). WHO global report on prevalence of tobacco smoking 2000–2025 second edition. Retrieved August 17, 2020, from https://1th.me/GqYR3

World Health Organization. (2019). Children in Asean. Retrieved December 1, 2020, from https://www.unicef.org/eap/ media/4281/file/Children%20in%20ASEAN.pdf

World Health Organization. (2020). Adolescent health. Retrieved December 1, 2020, from https://1th.me/4QvgJ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-07

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ