ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความปลอดภัยเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกร อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
บทคัดย่อ
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในด้านการเกษตรของประเทศ เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตและรายได้แก่เกษตรกร ซึ่งสารเคมีเหล่านี้กระทบต่อสุขภาพทั้งแบบพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังต่อผู้ใช้โดยตรง และโดยอ้อมการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาพตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความปลอดภัยเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกร ประชากรที่ศึกษาคือ เกษตรกรที่มีอายุ ≥20 ปี และเคยใช้สารเคมีกำจัดแมลงในการเกษตร อาศัยอยู่ที่อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ นานกว่า 6 เดือน คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างจากค่าสัดส่วนหนึ่งกลุ่ม กรณีไม่ทราบจำนวนประชากรได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 325 คน ทำการสุ่มเลือกแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยชุดตรวจคัดกรองระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด และแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.80 โดยใช้สถิติ ได้แก่ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติคพหุคูณ
การศึกษานี้พบว่าเกษตรกรมีระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดระดับไม่ปลอดภัย ร้อยละ 43.70 และพบว่าเกษตรกรที่สัมผัสกับสารเคมีกำจัดแมลงเป็นระยะเวลาน้อยกว่า 10 ปี มีโอกาส 3.33 เท่า ที่จะมีระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสที่ไม่ปลอดภัยในเลือด (adjustedOR (aOR)=3.33, 95%CI=2.07-5.38, p-value<0.001) อาสาสมัครที่ได้รับสารเคมีกำจัดแมลงทางอ้อมมีโอกาสเกิดระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสที่ไม่ปลอดภัยในเลือด 1.91 เท่า เมื่อเทียบกับผู้เข้าร่วมที่ได้รับสารกำจัดแมลงโดยตรง (aOR=1.91, 95%CI=1.16-3.13, p-value=0.011) นอกจากนี้เกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดแมลง ≥ 2 ครั้งต่อเดือน มีโอกาสเกิดระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสที่ไม่ปลอดภัยในเลือดมากขึ้น 1.77 เท่า (aOR=1.77, 95%Cl=1.03-3.02, p-value=0.038)
ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมุ่งเน้นส่งเสริมพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดแมลงที่ถูกต้องให้กับเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสจะมีระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดไม่ปลอดภัย เพื่อให้สามารถใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
References
กรมควบคุมโรค. (2561). จับตาโรคและภัยสุขภาพ. ค้นเมื่อ 6 มกราคม 2563, จาก https://moph.go.th>doe>journal_detail
กลุ่มงานอาชีวะอนามัยและสิ่งแวดล้อม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. (2563). รายงานอัตราป่วยจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จังหวัด
ศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: กลุ่มงาน. (เอกสารอัดสำเนา).
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. (2561). ข้อมูลสุขภาพ. ค้นเมื่อ 6 มกราคม 2563, จาก http://bps.moph.go.th/ new_bps/healthdata
จารุวรรณ ไตรทิพย์สมบัติ, & เพลินพิศ จับกลาง. (2557). การศึกษาความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร บ้านห้วยสามขา ตำบลทัพรั้ง อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร, 29(5), 429-434.
จิตติพัฒน์ สืบสิมมา, ทัศนีย์ ศิลาวรรณ, & ณิชชาภัทร ขันสาคร. (2560). พฤติกรรมการใช้และการป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรเพาะปลูกพริกผู้ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช: กรณีศึกษา ตำบลสวยกล้วย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัด
ศรีสะเกษ. วารสารพิษวิทยาไทย, 32(1), 9-25.
ดลนภา ไชยสมบัติ, จรรยา แก้วใจบุญ, & อัมพร ยานะ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร: กรณีศึกษาเกษตรใน ต.สันป่าม่วง อ.เมือง จ.พะเยา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(ฉบับพิเศษ), 305-316.
ดวงใจ วิชัย, ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์, & ณัฐปคัลภ์ สันวิจิตร. (2561). พฤติกรรมเสี่ยงและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ในพื้นที่ต้นน้ำเขื่อนลำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 25(2), 22-34.
ทินกร ชื่นชม. (2561). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกร. วารสารแพทย์เขต 4-5, 37(2), 86-97.
นิธิยา รัตนาปนนท์, & วิบูลย์ รัตนาปนนท์. (2553). สารพิษในอาหาร. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
รัชฎาภรณ์ จันทสุวรรณ์, & อุไร จเรประพาฬ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ พฤติกรรมการปฏิบัติตนในการป้องกันสารเคมีเข้าสู่ร่างกายและระดับโคลีนเอสเตอเรสในซีรั่มของเกษตรกร ตำบลเขาพระบาท จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์, 27(1), 68-77.
ศรัญญา พันธุ์คุณ. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบกรณีศึกษา: จังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศูนย์เภสัชสนเทศ โรงพยาบาลลำพูน. (2558). พิษจากสารกำจัดศัตรูพืช. ค้นเมื่อ 21 มกราคม 2563, จาก http://www.lpnh.go.th> newlp>wp_content>uploads>2013/10>DIS-news-6
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอห้วยทับทัน. (2563). รายงานสรุปผลการตรวจสารเคมีในเลือดเกษตรกร อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ.
ศรีสะเกษ: สำนักงาน. (เอกสารอัดสำเนา).
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2558). องค์ความรู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยกระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส. ค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2562, จาก https://ddc.moph.go.th>uploads>files
สุนิสา ชายเกลี้ยง, & สายชล แปรงกระโทก. (2556). การประเมินทางชีวภาพด้านความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกรผู้ทำนา: กรณีศึกษาตำบลแก้งสนามนาง อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร, 28(3), 382-389.
สุภาวดี แหยมคง, พัทนันท์ โกธรรม, ประภาศิริ ใจผ่อง, & ปิยวดี น้อยน้ำใส. (2560). ความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรตำบลซับสมบูรณ์ อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์, 12(2), 15-25.
อนุวัฒน์ เพ็งพุฒ, & พุทธิไกร ประมวล. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างโดยการตรวจระดับโคลีนเอสเตอเรสในเลือดเกษตรกร ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(1), 47-62.
Best, J. (1977). Research in education. New Jersey: Prentice-Hall.
National Statistical Office. (2017). Summary of the labor force survey in Thailand. Retrieved January 1, 2017, from http://www.nso.go.th/
Wayne, W. D. (1995). Biostatistics: A. foundation of analysis in the health sciences (6th ed.). New York: John Wiley & Sons.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.