ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฉีดวัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่ของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ เขตสุขภาพที่ 8

ผู้แต่ง

  • พรชนก เพ็ญศรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เลิศชัย เจริญธัญรักษ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบ Case–control study ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฉีดวัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่ของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ เขตสุขภาพที่ 8 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยสอบถามการได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563 กลุ่มที่ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ จำนวน 110 คน และกลุ่มที่ไม่ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ จำนวน 110 คน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ โดยใช้สถิติ Multiple logistic regression

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มฉีดและไม่ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ พบว่า กลุ่มฉีดวัคซีนมีระดับความรู้ปานกลางขึ้นไป เป็น 5.82 เท่าของกลุ่มที่ไม่ฉีด (ORadj = 5.82, 95% CI = 1.67-20.24), กลุ่มฉีดวัคซีนมีอัตราส่วนการไม่เชื่อว่า “การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้วจะทำให้เป็นไข้หวัดตามมา” เป็น 2.55 เท่าของกลุ่มที่ไม่ฉีด (ORadj=2.55, 95% CI=1.23-5.13), กลุ่มฉีดวัคซีนมีอัตราส่วนการไม่เชื่อว่า “การออกกำลังกายทุกวัน ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่” เป็น 7.17 เท่าของกลุ่มที่ไม่ฉีด (ORadj=7.17, 95% CI=3.28-15.66), กลุ่มฉีดวัคซีนมีอัตราส่วนการรับรู้ข่าวสารทางหนังสือราชการ เป็น 2.68 เท่า ของกลุ่มที่ไม่ฉีดวัคซีน (ORadj=2.68, 95% CI=1.30-5.51)

ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา พบว่า ปัจจัยด้านความรู้ และความเชื่อ มีความสัมพันธ์กับฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ จึงควรมีการจัดทำแผนการให้ความรู้ทางด้านสาธารณสุขในช่องทางต่างๆ เช่น บรรจุเข้าในวาระประชุมของช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ และเกิดความเชื่อ ทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เพื่อให้การฉีดวัคซีนมีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ลดอัตราการเกิดโรคและเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่

References

กรมควบคุมโรค. (2563). สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่. ค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2563, จาก http://www.boe.moph.go.th

เกล็ดดาว จันทฑีโร, ปรีดาวรรณ บุญมาก, ณิชาดา กิมศรี, อมาวสี กมลสุขยืนยง, & งามตา เจริญธรรม. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ (เอ็ช 1 เอ็น 1) 2009 ของบุคลากรโรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า, 28(2), 85-97.

ธนชัย แสนลัง, กรกช สร้อยทอง, กฤษณา ทวีทรัพย์, ธีรินทร์ ลาน้ำเที่ยง, ภฤศ อารีย์สว่างวงศ์, & วรรณิสา โกมลไพศาล และคณะ. (2556). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ของบุคลากรสังกัดคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร, 28(2), 229-238.

ปณิตา ครองยุทธ, จินดา คำแก้ว, ปฐวี สาระติ, & วิรินรัตน์ สุขรี. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(6), 815-822.

เพชรารัตน์ สินธุโคตร, & เลิศชัย เจริญธัญรักษ์. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(4), 58-64.

สุนทรา พลเจริญ. (2557). ปัจจัยทำนายการรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1 เอ็น 1 พบว่า ปัจจัยที่สามารถทำนายการรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1 เอ็น 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลด้านการควบคุมการติดเชื้อ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2558). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

Becker, M. H. (1974). Belief, attitude, intention and behavior. Massachusetts: Addision Wesley Publishing.

Bernard, R. (2000). Fundamentals of biostatistics (5th ed.). Duxbery: Thomson learning.

Hsieh, F. Y., Bloch, D. A., & Larsen, M. D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in medicine, 17(14), 1623-1634.

World Health Organization [WHO]. (2018). Fact sheets influenza (seasonal). Retrieved September 10, 2020, form https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/influenza-(seasonal)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-14

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ