ผลของโปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์โดยการประยุกต์แนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพใน นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนแห่งหนึ่ง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ปฏิกาญจน์ สีชาลี คณะสาธารณสุขศาสาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • รุจิรา ดวงสงค์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทคัดย่อ

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ พบว่าวัยรุ่นหญิงทั่วโลกมีการตั้งครรภ์ ประมาณ 12 ล้านคน และประมาณ 3.9 ล้านคน มีการทำแท้งและการคลอดบุตรที่ไม่ปลอดภัยนำไปสู่การเสียชีวิต วิธีลดปัญหาคือการส่งเสริมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์ โดยการประยุกต์แนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพในนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนแห่งหนึ่ง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 78 คน แบ่งเป็นโรงเรียนกลุ่มทดลอง จำนวน 39 คน และโรงเรียนกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 39 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสุขศึกษาประกอบด้วยกิจกรรมการให้ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยบรรยายประกอบสื่อ Power Point, Info graphic, You Tube ฝึกการค้นหาข้อมูลจาก Website ฝึกการใช้ LINE OpenChat ฝึกวิเคราะห์ปัญหา ระดมสมองและอภิปรายกลุ่มตามใบงาน ให้คำปรึกษา ให้กำลังใจ กระตุ้นชมเชยผ่าน LINE OpenChat ระยะเวลาดำเนินการ 10 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนภายในกลุ่มวิเคราะห์ด้วยสถิติ Paired Sample t-test และระหว่างกลุ่ม ใช้สถิติ Independent Sample t-test กำหนดระดับค่าความเชื่อมั่น 95% (p<0.05)

จากผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนน การเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การตัดสินใจเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และความตั้งใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมากกว่าก่อนการทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)

References

จุฑารัตน์ หลักทรัพย์, & รุจิรา ดวงสงค์. (2560). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาร่วมกับการใช้แอพพลิเคชั่น LINE เพื่อพัฒนาพฤติกรรมในการป้องกันการตั้งครรภ์ในนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น. วารสารสุขศึกษา, 40(2), 51-63.

ชัชนัย ติยะไทธาดา, & พรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2556). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศรีนครินทร์เวชสาร, 28(2), 146-154.

ทัศนีย์ รอดชมพู, & ธัญญาลักษณ์ วัฒน์ศิริธรรม. (2556). การพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น. 5(2), 28-48.

นาตยา แก้วพิภพ, & พรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2562). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการรับรู้ความสามารถตนเองเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์. วารสารสุขศึกษา, 42(1), 55-67.

นิลุบล สิทธิบุญมา, & จุฬาภรณ์ โสตะ. (2560). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคและแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียนในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น. วารสารสุขศึกษา, 40(1), 12-23.

ประไพวรรณ ด่านประดิษฐ์, เปรมวดี คฤหเดช, อุดรพร ยิ่งไพบูลย์สุข, บุญศรี กิตติโชติพาณิชย์, & ผ่องศรี สวยสม. (2561). ผลของ โปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองและการสร้างเสริมทักษะชีวิตต่อความมั่นใจในการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์และการป้องกันการตั้งครรภ์ในนักเรียนวัยรุ่นหญิงกลุ่มเสี่ยงทางเพศ. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 30(1), 11-22.

พีรพล ชัยชาติ, & เกศินี สราญฤทธิชัย. (2562). ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อ พฤติกรรมการป้องกัน การตั้งครรภ์ของวัยรุ่นตอนต้น. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(4), 42-51.

วันวิสาข์ บัวลอย, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, ภรณี วัฒนสมบูรณ์, & นิรัตน์ อิมามี. (2557). ประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้เรื่อเพศศึกษาเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารพยาบาลรามาฯ ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 20(1), 127-142.

วนิดา ภูพันหงษ์, กฤษณา วุฒิสินธ์, & ธวัชวงศ์ชัย ไตรทิพย์. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 3(2), 54-72.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2563). แนวทางการรายงานโรคติดต่ออันตรายและโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

สำนักอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560). ยุทธศาสตร์การป้องกันกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2569 ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์

เทพเพ็ญวานิสย์.

สำนักอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2562). สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ ในวัยรุ่นและเยาวชน ปี 2562. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563, จาก http://rh.anamai.moph.go.th/download/all_file/index/สถานการณ์RH_2562_Website.pdf

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2551). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อัญชลีพร อิษฎากร [ม.ป.ป.]. ผลของการใช้สื่อทันตอินโฟกราฟฟิคผ่าน LINE Application เพื่อพัฒนาการรับรู้ประโยชน์ของการดูแล

ทันตสุขภาพในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563, จาก http://hpc9.anamai.moph.go.th/ ewt_dl_link.php?nid=2557&filename=DM_KM_Aunchareeporn

เอ็มวิกา แสงชาติ, & รุจิรา ดวงสงค์. (2559). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Facebook) ในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น สำหรับนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารสำนักป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น, 23(1), 96-104.

HLS-EU-Consortium. (2012). Comparative Report of Health Literacy in Eight EU member states: The European Health Literacy Survey HLS-EU. Retrieved October 3, 2020, from http://www. Health –Literracy.EU.2012

Sorensen, K., Van den Broucke, S., Fullam, J., Doyle, G., Pelikan, J., Slonska, Z., et al. (2012). Health literacy and public health: A systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health, 12(80), 1-13.

World Health Organization [WHO]. (2012). Health education: Theoretical concepts, effective strategies and core competencies. Retrieved October 2, 2020, from https://apps.who.int/iris/handle/10665/119953

World Health Organization [WHO]. (2020). Adolescent pregnancy. Retrieved October 1, 2020, from https://www.who.int/ news-room/fact-sheets/detail/adolescent-pregnancy

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-14

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ