ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุไทยในชุมชน อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
การรับรู้, การพลัดตกหกล้ม, พฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม, ผู้สูงอายุไทยบทคัดย่อ
การพลัดตกหกล้มเป็นปัญหาสำคัญและพบได้บ่อยในผู้สูงอายุไทย อาจนำไปสู่สุขภาพที่กลับคืนมาไม่ได้ทางร่างกาย จิตใจ และมีผลกระทบที่รุนแรงคุกคามชีวิตของผู้สูงอายุ นำไปสู่การเกิดภาวะเจ็บป่วย ส่งผลต่อวิถีดำเนินชีวิตในด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ลึกซึ้ง การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยชีวสังคม ปัจจัยการรับรู้เกี่ยวกับการพลัดตกหกล้ม พฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยชีวสังคม ปัจจัยการรับรู้เกี่ยวกับการพลัดตกหกล้ม และพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุไทยในชุมชน กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุไทย อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 412 คน โดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ได้ค่าดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (S-CVI) เท่ากับ 0.956 และค่าความเที่ยงตรง โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.888 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ ทั้งหมด 412 คน ร้อยละ 63.35 เป็นเพศหญิง เป็นผู้สูงอายุตอนต้น (60-69 ปี) 251 คน (ร้อยละ 60.92) ผู้สูงอายุตอนกลาง (70-79 ปี) 108 คน (ร้อยละ 26.22) และผู้สูงอายุตอนปลาย (ตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป) 53 คน (ร้อยละ 12.86) อายุเฉลี่ย 66.84 ปี (S.D.= 5.724) จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 80.10 สถานภาพสมรส/คู่ ร้อยละ 64.08 การอยู่อาศัยกับคู่สมรส ร้อยละ 56.55 อาชีพหลักเกษตรกร ร้อยละ 37.86 มีรายได้แต่ไม่เพียงพอ ร้อยละ 58.01 มีโรคประจำตัว ร้อยละ 57.04 เป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 34.71 มีผู้ดูแลคือคู่สมรส ร้อยละ 47.82 มีการใช้ยา ร้อยละ 51.94 ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอออล์ ร้อยละ 74.03 และเคยมีประวัติการหกล้มในรอบ 6 เดือนที่ผ่าน ร้อยละ 27.43 ปัจจัยการรับรู้เกี่ยวกับการพลัดตกหกล้มโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=2.66, S.D.=0.227) พฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=2.07, S.D.=0.391) ปัจจัยชีวสังคมผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยการรับรู้เกี่ยวกับการพลัดตกหกล้มโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำกับพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุไทยในชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.01 (r=0.215, p<0.001) โดยทุกรายด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับต่ำมาก ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม (r=0.204,
p<0.001) การรับรู้ความรุนแรงของการพลัดตกหกล้ม (r=0.122, p=0.001) การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการพลัดตกหกล้ม (r=0.176, p<0.001) การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันการพลัดตกหกล้ม (r=0.179, p<0.001) และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการพลัดตกหกล้ม (r=0.168, p=0.001)
จากการวิจัยครั้งนี้ ปัจจัยการรับรู้เกี่ยวกับการพลัดตกหกล้มทุกรายด้านมีความสัมพันธ์ทางบวก แต่พบว่าอยู่ในระดับต่ำมากกับพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุไทยในชุมชน ซึ่งอาจเป็นอิทธิพลของปัจจัยด้านชีวสังคมที่มีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มช่วงวัยของผู้สูงอายุ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมและจัดกิจกรรมที่เน้นการพัฒนาความสามารถให้ผู้สูงอายุมีการรับรู้ที่ถูกต้องตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพอย่างเป็นขั้นตอนและวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้เกิดการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มที่เหมาะสม มีความปลอดภัยและสอดคล้องบริบทของผู้สูงอายุไทยในชุมชน
References
กนกวรรณ เมืองศิริ, นิภา มหารัชพงศ์, & ยุวดี รอดจากภัย. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ จังหวัดชลบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร, 25(4), 23-33.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพที่สำคัญ (KPI). ค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2563, จาก http://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi-list/view/?id=1492
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2563). สถิติผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2563, จาก http://www.dop.go.th/th/know/1
เกษริน อุบลวงศ์, & นัยนา พิพัฒน์วณิชชา. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมป้องกันโรคสมองเสื่อมของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ, 33(2), 14-24
เขตสุขภาพที่ 5. (2563). ข้อมูลประชากรผู้สูงอายุเขตสุขภาพที่ 5. ค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2563, จาก https://www.rbpho.moph.go.th/ hdc.php
จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. (2561). พฤติกรรมสุขภาพ: แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ญาดานุช บุญญรัตน์. (2561). การป้องกันการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน โดยมีผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง. ลำปางเวชสาร, 39(1), 41-43.
ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์, & กรรณิการ์ เทพกิจ. (2560). ผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มต่ออัตราการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารการวิจัยกาสะลอง, 11(3 ฉบับพิเศษ), 175-195.
ดาราวรรณ รองเมือง, ฉันทนา นาคฉัตรีย์, จีราพร ทองดี, & จิตติยา สมบัติบูรณ์. (2559). อุบัติการณ์ของการหกล้มและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการหกล้มในผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 27(1), 123-138.
นิพา ศรีช้าง, & วลวิตรา ก๋าวี. (2560). รายงานการพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทย
ปี พ.ศ. 2560-2564. ค้นเมื่อ วันที่ 16 กรกฏาคม 2564, จาก http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=12095&tid=&gid=1-027)
ปริศนา รถสีดา. (2561). การป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน: บทบาทพยาบาลกับการดูแลสุขภาพที่บ้าน. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 11(2), 15-25.
ปณิตา ลิมปะวัฒนะ, สุมิตร สุตรา, ยุพา ถาวรพิทักษ์, จาริญญ์ จินดาประเสริฐ, & พิศาล ไม้เรียง. (2555). การนอนพักรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ. จดหมายเหตุทางแพทย์ แพทย์สมาคมแห่งประเทศไทย, 95(7), 235-239.
ปวันรัตน์ ศรีคำ, & ศิริพันธุ์ สําสัตย์. (2561). ปัจจัยทำนายการหกล้มในผู้สูงอายุโรคพาร์กินสัน. วารสารพยาบาลตำรวจ, 10(1), 1-11
พิมพิสุทธิ์ บัวแก้ว, & รติพร ถึงฝั่ง. (2559). การดูแลสุขภาพและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(2), 94-109.
เพ็ญรุ่ง วรรณดี, จิรพรรณ โพธิ์ทอง, & อุมากร ใจยั่งยืน. (2563). การศึกษาสถานการณ์การหกล้มในผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9:วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 14(34), 126-141
ละออม สร้อยแสง, จริยาวัตร คมพยัคฆ์, & กนกพร นทีธนสมบัติ. (2557). การศึกษาแนวทางการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุชุมชนมิตรภาพพัฒนา. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(1), 122-129.
วีระพงศ์ สีหาปัญญา. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างโรคข้อเข่าเสื่อมกับความเสี่ยงในการล้มในผู้สูงอายุ: กรณีศึกษา ต.กังแอน อ.ปราสาท จ.สุรินทร์. การประชุมวิชาการประจำ ครั้งที่ 34 ประจำปี 2561. วารสารการแพทย์ศรีนครินทร์, 33(ฉบับพิเศษ), 57.
สุนันทา ผ่องแผ้ว. (2556). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกการพยาบาลสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). การสำรวจผู้สูงอายุในประเทศไทย 2557. กรุงเทพฯ: เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. (2562). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2562. ค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2562, จาก http://www.spo.moph.go.th/spo/
เสาวลักษณ์ อุ่นละม้าย. (2553). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันการหกล้มกับพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อัจฉรา สาระพันธ์, ณัฐกฤตา ศิริโสภณ, ประเสริฐศักดิ์ กายนาคา, สมบัติ อ่อนศิริ, บุญเลิศ อุทยานิก, สุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย, และคณะ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สุงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(ฉบับพิเศษ),
-222.
อาภาพร เผ่าวัฒนา, สิรินธร กลัมพากร, สุนีย์ ละก่ำปั่น, & ทัศนีย์ รวิวรกุล. (2561). การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน: การประยุกต์ใช้แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ (ฉบับปรับปรุง). ฉะเชิงเทรา: เอ็มเอ็นคอมพิวออฟเซท.
Al-Aama, T. (2011). Falls in the elderly: Spectrum and prevention. Canadian Family Physician, 57(7), 771-776.
Best, W. J. (1997). Research in education. Boston MA: Allyn and Bacon.
Centers for Disease Control and Prevention [CDC]. (2019). Home and recreational safety: older adult falls. Retrieved November 15, 2019, from https://www.cdc.gov/injury/wisqars/index.html
Ciprandi, D., Bertozzi, F., Zago, M., Sforza, C., & Galvani, C. (2018). Associations between objectively measured physical activity levels and physical fitness and health-related quality of life in elderly women. Sport Sciences for Health, 14(1), 183-191.
Haider, F. (2017). Countries with the largest aging population in the world. Retrieved November 14, 2019, from https://www.worldatlas.com
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Kuehn, B. M. (2010). Primary care screening and intervention helps prevent falls among elderly. JAMA, 303(20), 2019-2020.
Lovarini, M., Clemson, L., & Dean, C. (2013). Sustainability of community-based fall prevention programs:
A systematic review. Journal of Safety Research, 47, 9-17.
Maneeprom, N., Taneepanichskul, S., & Panza, A. (2018). Falls among physically active elderly in senior housings, Bangkok, Thailand: Situations and perceptions. Clinical Interventions in Aging, 13, 2149-2159.
Miguel, T., Natacha, R., Antonio, T. M., & Simoes, R. (2013). Physical consequences of falls in the elderly: A literature review from 1995 to 2010. European Review of Aging and Physical Activity, 11, 51-59.
Rubenstein, L. Z., & Josephson, K. R. (2002). The epidemiology of falls and syncope. Clinical Geriatric Medicine, 18, 141-158.
Salkind, N. J. (2011). Exploring Research (8th ed). New Jersey: Prentice-Hall.
Stretcher, V., & Rosenstock, I. M. (1997). The health belief model. In K.Glanz, F. M.Lewis, & B. K. Rimer (Eds.). Health behavior and health education: theory, research and practice (2nd ed.). San Francisco: Jossey-Bass.
Touhy, T. A., & Jett, K. F. (2010). Ebersole & Hess’ gerontological nursing & healthy aging. (3rd ed.). Saint Louis, MO: Mosby Elsevier.
United Nations. (2019). World population prospects 2019. Retrieved November 14, 2019, from https://population.un.org/wpp/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.