สถานการณ์และแนวทางการพัฒนาเครือข่ายการทำนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • ศรัณยู เรือนจันทร์ คณะวิทืยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

การพัฒนา , เครือข่าย , การทำนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ สภาพปัญหา อุปสรรคและการมีส่วนร่วมของการทำนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเครือข่ายการทำนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประชากรเป็นตัวแทนชาวนาที่ทำนา จำนวน 75 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2) แบบสนทนากลุ่ม

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการทำนาที่ไม่ใช้สารเคมีไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ลดต้นทุนการผลิต ผลผลิตมีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ปัญหา คือ มีวิธีที่ยุ่งยาก เพาะปลูกนาน การทำนาที่ใช้สารเคมี พบว่าสะดวกต่อการควบคุม ผลผลิตเจริญเติบโต ได้ปริมาณมาก เป็นที่ต้องการของตลาด ปัญหา คือ ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพร่างกายผู้บริโภค ทำลายสิ่งแวดล้อม 2) แนวทางการพัฒนาเครือข่ายการทำนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พบว่าชาวนาให้เหตุผลว่า การปรับเปลี่ยนการทำนาโดยไม่ใช้สารเคมีนั้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ต้องนำความรู้ที่ได้ไปปรับเปลี่ยนวิธีคิด เช่น การจัดกิจกรรมร่วมกัน แลกเปลี่ยนความรู้ผู้ที่ทำนาแบบใช้สารเคมีและผู้ที่ทำนาแบบไม่ใช้สารเคมี การทำประชาคมแก้ไขปัญหา การให้เกษตรกรรวมกลุ่มทำปุ๋ยชีวภาพในการทำการเกษตรจากวัตถุดิบที่มีอยู่ในหมู่บ้าน แต่กลุ่มที่ยังทำนาแบบใช้สารเคมีเหตุผลว่า มีรายได้ดีมากจากปริมาณข้าวที่ได้มากและยังประหยัดเวลาในการเพาะปลูก สำหรับโอกาสในการพัฒนาเครือข่ายการทำนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ชาวนามีมุมมองว่าควรมีหน่วยงานเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเครือข่ายอย่างจริงจัง มีการติดตามผลการดำเนินงาน รวมถึงมีแกนนำเข้ามาร่วมกระบวนการโดยมุ่งเน้นลดต้นทุนการผลิตจะได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่

References

คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.

จุฑามาศ ไทยใจดี และดาริวรรณ เศรษฐีธรรม. (2561). กระบวนการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองของเกษตรกร เพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้

สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตำบลทับกุง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 19(2), 177-188.

ชญาน์นันท์ ศิริกิจเสถียร, วีรวรรณ แจ้งโม้, & วิษณุเดช นันไชยแก้ว. (2561). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ของการปลูกข้าวแบบเกษตรเคมีแบบข้าวปลอดภัย และแบบเกษตรอินทรีย์ กรณีศึกษา: ตำบลหนองหลวง อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร. ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 18 และลำปางวิจัย

ครั้งที่ 4 “บูรณาการงานวิจัยสู่การพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน” วันที่ 20 กรกฎาคม 2561. (หน้า 905-918). ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

ธีรนันท์ วรรณศิริ, บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ, & จิริยา อินทนา. (2561). ภาวะสุขภาพของเกษตรกรที่ทำข้าวอินทรีย์ ในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(3), 218-228.

ยุพิน เถื่อนศรี, & ณิชภา โมราถบ. (2559). การพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ : กรณีศึกษา ตำบลวังกะพี้ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 5(2), 116-132.

สยาม อรุณศรีมรกต, วรพร สังเนตร, & ปิยะรักษ์ ประดับเพชรรัตน์. (2560). การใช้สารเคมีในการทำนาข้าวของเกษตรกรในอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี. วารสารเกษตรพระวรุณ, 14(2), 173-180.

สำนักงานพาณิชย์จังหวัดอุตรดิตถ์. (2560). โครงการพัฒนาอาชีพ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และระบบตลาด เพื่อสร้างการรับรู้อัตลักษณ์ข้าวเพชรพิชัย. อุตรดิตถ์: สำนักงานพาณิชย์จังหวัดอุตรดิตถ์.

อาภา หวังเกียรติ. (2562). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ตลาดอินทรีย์ของชาวนาภาคกลาง. ปทุมธานี: วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-23

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ