ประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการทักษะการเอาตัวรอดและเทคนิคการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติภัยทางน้ำ: กรณีศึกษา โรงเรียนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลค้อทอง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
อุบัติภัยทางน้ำ, โปรแกรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ, การมีส่วนร่วมในชุมชนบทคัดย่อ
อุบัติภัยทางน้ำ เป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยที่ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต อัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำในไทย พบว่าเด็กมีการจมน้ำและเสียชีวิตมากที่สุดมีอายุต่ำกว่า 15 ปี และใน 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2551-พ.ศ. 2560) มีเด็กจมน้ำเสียชีวิต 9,574 คน โดยในปี พ.ศ. 2560 เฉลี่ย 708 คน ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความสูญเสียคือ เด็กนักเรียนขาดทักษะการเอาตัวรอดและเทคนิคการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติภัยทางน้ำ ทำให้เมื่อเกิดอุบัติภัยทางน้ำเกิดขึ้นจึงไม่สามารถช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้อย่างถูกต้องและนำมาสู่การสูญเสีย ตำบลค้อทอง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่เกิดอุบัติการณ์อุบัติภัยทางน้ำและมีเด็กนักเรียนเสียชีวิตจากการจมน้ำ ดังนั้นจากความสำคัญดังกล่าว จึงทำการศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการทักษะการเอาตัวรอดและเทคนิคการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติภัยทางน้ำ เพื่อเป็นแนวทางในการมีส่วนร่วมในการสร้างมาตรฐานควบคุมและป้องกันอุบัติภัยทางน้ำในชุมชน ในลำดับถัดไป
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) ดำเนินการเป็นระยะเวลา 5 เดือน โดยมีประชากรเป็นนักเรียนที่อยู่ในวัยเรียนประถมศึกษา จำนวน 148 คน กลุ่มตัวอย่าง 76 คน ได้จากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบความรอบรู้ในการเอาตัวรอดและเทคนิคการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ แบบทดสอบทักษะความสามารถในการเอาตัวรอดและเทคนิคการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ แบบสำรวจสภาพความปลอดภัยของแหล่งน้ำ และอบรมเชิงปฏิบัติการการเอาตัวรอดและเทคนิคการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ โดยใช้แนวทางคู่มือของสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค โดยใช้ระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิตเชิงอนุมาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการอบรม โดยใช้ Paired Samples Test
ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการใช้โปรแกรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการทักษะการเอาตัวรอดและเทคนิคการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติภัยทางน้ำ นักเรียนและมีความรอบรู้ระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 65.00 และหลังการใช้โปรแกรมฯ นักเรียนมีความรอบรู้ระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 100.00 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรอบรู้ในการเอาตัวรอดและเทคนิคการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ สูงขึ้นกว่าก่อนใช้โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<.001 ( t= -18.66) ก่อนการใช้โปรแกรมฯ ทักษะการเอาตัวรอดและเทคนิคการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำอยู่ในระดับปานกลาง ระดับค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.88±0.205 และหลังการใช้โปรแกรมฯ ทักษะการเอาตัวรอดและเทคนิคการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำอยู่ในระดับมาก ระดับค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33±0.279 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยทักษะความสามารถในการเอาตัวรอดและเทคนิคการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ สูงขึ้นกว่าก่อนการใช้โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < .001 ( t = -52.76) ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้จึงมีส่วนสำคัญต่อการมีส่วนร่วมในการสร้างมาตรฐานควบคุมและป้องกันอุบัติภัยทางน้ำในชุมชนสำหรับหน่วยงานในพื้นที่ แล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนนโยบายในการดำเนินงานความปลอดภัยทางน้ำในชุมชนให้ยั่งยืนต่อไป
References
กิรณา เอี่ยมสำอางค์, สิริลักษณ์ บัวเย็น, & สมชัย จิรโรจน์วัฒน. (2557). การสร้างและขยายให้เกิดเครือข่ายการดำเนินงานป้องกันเด็กตกน้ำจมน้ำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ภาคตะวันออก. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 27(4), 975-983.
จารุพร ดวงศรี, ญาณิฐา แพงประโคน, มณฑิชา รักศิลป์, รัชนี จูมจี, ชัยกฤต ยกพลชนชัย, & วาสนา สำเร็จ. (2564). การพัฒนามาตรการชุมชนในการควบคุมและป้องกันอุบัติภัยทางน้ำในชุมชนตำบลค้อทอง อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 15(38),
-527.
ภมร ดรุณ. (2562). ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนจังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 15(3), 71-82.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2552). หลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและคู่มือการสอน. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2561ก). สถานการณ์เด็กจมน้ำในประเทศไทย 2561. ค้นเมื่อ 22 กันยายน 2562, จาก http://thaincd.com/2016/media-detail.php?id=13002&gid=1-015-009
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2561ข). คู่มือปฏิบัติการการป้องกันการจมน้ำ. ค้นเมื่อ 22 กันยายน 2562, จาก http://www.thaincd.com/ document/file/download/paper-manual/คู่มือปฏิบัติการการป้องกันการจมน้ำ_(Preventing_drowning).pdf
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2561ค). แบบรายงานการจมน้ำทุกกลุ่มอายุ. ค้นเมื่อ 22 กันยายน 2562, จาก http://www.thaincd.com/ document/file/drowning/แบบรายงานการจมน้ำทุกกลุ่มอายุ.pdf
องค์การบริหารส่วนตำบลค้อทอง. (2563). สถิติการเกิดอุบัติภัยทางน้ำในชุมชน. อุบลราชธานี: ข้อมูลพื้นฐาน. (เอกสารอัดสำเนา).
ข่าวสด. (2561). ข่าวสดออนไลน์ทุกทิศทั่วไทย. ค้นเมื่อ 22 กันยายน 2562, จาก https://www.khaosod.co.th/around-thailand/ news_1434900
Bloom, B. S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill.
Erwin, E. J. (1993). Social participation of young children with visual impairments in specialized and integrated environments. Journal of Visual Impairment & Blindness, 87(5), 138-142.
Gunatilaka, A., & Ozanne-Smith, J. (2006). A survey of inventions aimed at preventing drowning. International journal of Injury Control and Safety Promotion, 13(2), 119-121.
Health and Safety Executive [HSE]. (1997). Successful health and safety management. Sudbury: HSE Books.
Petrass, L. A., & Blitvich, J. D. (2014). Preventing adolescent drowning: Understanding water safety knowledge, attitudes and swimming ability: The effect of a short water safety intervention. Accident Analysis & Prevention, 70, 188-194.
Samuel, B. B. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill.
Stallman, R. K., Junge, M., & Blixt, T. (2008). The teaching of swimming based on a model derived from the causes of drowning. International Journal of Aquatic Research and Education, 2(4), 11.
Verra, M. L., Angst, F., Staal, J. B., Brioschi, R., Lehmann, S., Aeschlimann, A., & de Bie, R. A. (2011). Differences in pain, function and coping in Multidimensional Pain Inventory subgroups of chronic back pain: a one-group pretest-posttest study. BMC Musculoskeletal Disorders, 12(1), 145.
World Health Organization [WHO]. (2017). Preventing drowning: an implementation guide. Geneva: World Health Organization.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.