การเปรียบเทียบเครื่องกรองอากาศระดับเมือง เพื่อกำจัดฝุ่น PM2.5

ผู้แต่ง

  • ดิลก เกียรติ์เลิศนภา คณะบริหารธุรกิจและวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ

คำสำคัญ:

PM 2.5, air purifier, HEPA filter, Electrostatic, Venturi Scrubbers

บทคัดย่อ

ในหลายประเทศได้เริ่มพัฒนาใช้เครื่องกรองอากาศระดับเมือง (Metropolitan Air Purifier) เพื่อลดปริมาณหมอกควัน ควันพิษ และ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในพื้นที่กลางแจ้ง โดยอาศัยหลักการ และเทคนิคต่าง ๆ ซึ่งในบทความนี้ได้ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบการทำงาน ประสิทธิภาพ และความเหมาะสมของเครื่องกรองอากาศระดับเมือง 3 ประเภท ได้แก่ เครื่องกรองอากาศที่ใช้แผ่นกรอง HEPA เครื่องกรองอากาศแบบไฟฟ้าสถิต (Electrostatic) และเครื่องกรองอากาศแบบเวนทูรี่ สครับเบอร์ (Venturi Scrubbers) โดยใช้ข้อมูลจากเครื่องกรองอากาศต้นแบบที่มีการพัฒนาในปัจจุบัน โดยพิจารณา ประสิทธิภาพการกรอง PM10 และ PM2.5 ขนาด อัตราการกรอง พื้นที่การกรอง กำลังไฟฟ้า และ ราคา

ผลปรากฏว่า เครื่องต้นแบบของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์มีประสิทธิภาพในการกรอง PM2.5 ได้มากกว่าเครื่องกรองอากาศ Smog Free Tower และเมื่อเทียบอัตราการกรอง เครื่องกรองอากาศ Xi’an Model มีอัตราการกรองสูงที่สุด รองลงมาคือ Smog Free Tower และ BMA Model ตามลำดับ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของตัวเครื่องปรากฏว่า เครื่องกรองอากาศ IonFresh มีอัตราการกรองที่สูงที่สุด รองลงมาคือ Smog Free Tower และ BMA Model ตามลำดับ ความสามารถในการกรองครอบคลุมพื้นที่ที่กว้างที่สุดคือเครื่องกรอง Xi’an Model รองลงมาคือ เครื่องกรองต้นแบบของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ และ Smog Free Tower ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาร่วมกับมูลค่าการลงทุนแล้ว เครื่องกรอง Xi’an Model นั้นมีการลงทุนที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับพื้นที่ครอบคลุมของการกรอง รองลงมาคือ เครื่องต้นแบบของรังสรรค์ และ BMA Model ตามลำดับ ทั้งนี้ไม่สามารถเปรียบเทียบการสิ้นเปลืองพลังงานในการกรอง เนื่องจากมีเพียงเครื่องกรองอากาศ Smog Free Tower เท่านั้นที่ระบุกำลังไฟฟ้า

References

เจนจิรา มีแสง. (2557). ประสิทธิภาพของระบบป้องกันฝุ่นละอองจากกระบวนการผลิตของโรงโม่หิน จากค่าการตรวจวัดความทึบแสง: กรณีศึกษา ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี. การศึกษาอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

เดอะสแตนดาร์ดทีม. (2563, 21 มกราคม). กระทรวงการอุดมศึกษาฯ เปิดตัว ‘ไอออนเฟรช’ เครื่องฟอกอากาศนอกอาคาร พร้อมขอมหาวิทยาลัยเปิดสอนออนไลน์หนีฝุ่น. ค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://thestandard.co/ion-fresh-electrostatic-air-purifier/

นพภาพร พานิช และคณะ. (2550). ตำราระบบบำบัดมลพิษอากาศ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประพันธ์ สุขทะใจ. (2563, 23 มกราคม). ในหลวง ทรงมีพระบรมราโชบาย ให้ติดตั้งเครื่องบำบัดอากาศต้นแบบใน กทม. ค้นเมื่อ

มีนาคม 2564, จาก https://www.naewna.com/local/468186/preview?fbclid=IwAR0L0KlNJk0iBe-apRPR2Ir6vSd_ lTSiToMgTfHtBDhN1EPU3hp_rZt2QFU

ปราโมช เชี่ยวชาญ. (2551). อาชีวอนามัยความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม. ใน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เอกสารการสอน

ชุดวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย52305 หน่วยที่ 8-15 (พิมพ์ครั้งที่ 6., หน้า 406). นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย

สุโขทัยธรรมาธิราช.

พรนภา สวัสดี. (2563, 24 มกราคม). เครื่องฟอกอากาศระบบไฟฟ้าสถิต. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. ค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.mhesi.go.th/index.php/news-and-announce-all/news-all/903-2020-01-24-07-25-26.html

มณีรัตน์ องค์วรรณดี. (2563). ถอดเกร็ดความรู้จากการสัมมนาวิชาการ My building is killing me: How to grow fresh indoor air. วารสารสิ่งแวดล้อม, 24(1), 1-8.

รังสรรค์ ตันจันทร์พงศ์. (2563). เครื่องกรองอากาศแบบไฟฟ้าสถิต ระบบการเร่งปฏิกิริยาด้วยแสง เพื่อนำไปใช้ในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.].

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2562). สวทช. อว. ผนึก สยามพิวรรธน์ พีทีทีจีซี โชว์เครื่องกรองอากาศ ‘IonFresh’ ต้นคริสต์มาสรักษ์โลก ใจกลางเมือง โครงการ Circular Living Campaign 2019. ค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2564, จาก from https://www.nstda.or.th/home/news_post/nstda-newsletter-5y9-news8/

Bangkok Post Public Company. (2019, October 1). BMA to test air purification tower. Retrieved February 23, 2021, from https://www.bangkokpost.com/thailand/general/1762664/bma-to-test-air-purification-tower

Chang, J. S., Kelly, A. J., & Crowley, J. M. (2018). Handbook of electrostatic processes. Retrieved February 23, 2021, from https://www.taylorfrancis.com/books/handbook-electrostatic-processes-jen-shih-chang-arnold-kelly-joseph-crowley/e/10.1201/9781315214559

Chen, S. (2018, December 21). China built a tower that acts like the world’s biggest air purifier, and it actually works: Business insider. Retrieved September 7, 2021, from https://www.businessinsider.com/china-builds-worlds-biggest-air-purifier-2018-12

Cooper, C. D., & Alley, F. C. (2011). Air pollution control: a design approach (4th ed.). Long Grove, Ill: Waveland Press.

Mizuno, A. (2000). Electrostatic precipitation. IEEE Transactions on Dielectrics and Electrical Insulation, 7(5),

-624.

Parker, K. R. (Ed.). (1997). Applied electrostatic precipitation. Retrieved February 23, 2021, from https://www.springer.com/gp/book/9780751402667

SLY Inc. [n.d.]. Venturi wet scrubbers. Retrieved September 7, 2021, from https://www.slyinc.com/products/wet-scrubbers/venturi-wet-scrubber/

Studio Roosegaarde. (2019, April 29). Smog free tower. Retrieved February 23, 2021, from https://www.studioroosegaarde.net/project/smog-free-tower

The Nation. (2020). Four wet scrubber prototypes to be installed in capital to deal with air pollution. Retrieved September 7, 2021, from https://www.nationthailand.com/in-focus/30380880

White, H. J. (1963). Industrial electrostatic precipitation. Reading, MA.: Addison-Wesley.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-23

ฉบับ

บท

บทความปริทัศน์