ภาวะโภชนาการของผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร

ผู้แต่ง

  • ภัทรพล คำสอนทา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุวลี โล่วิรกรณ์ สาขาวิชาการบริการสาธารณสุข การส่งเสริมสุขภาพ โภชนาการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ภาวะโภชนาการ, การประเมินภาวะทุพโภชนาการ, ผู้ป่วยศัลยกรรม, ระยะวันนอน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะโภชนาการของผู้ป่วยศัลยกรรมที่รักษาตัวในหอผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยศัลยกรรม อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 399 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน ระหว่างเดือน พฤษภาคม - ตุลาคม 2562 ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วนได้แก่  การคัดกรองภาวะทุพโภชนาการผู้ป่วยใน, การประเมินภาวะทุพโภชนาการผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงทุพโภชนาการ  และแบบบันทึกปริมาณพลังงานที่ผู้ป่วยได้รับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)  ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด (Min-Max) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงทุพโภชนาการ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงภาวะทุพโภชนาการด้วยสถิติการทดสอบไคสแควร์ (Chi-square Test) และสถิติการทดสอบของฟิชเชอร์ (Fisher’s Exact Test) โดยใช้โปรแกรม STATA Version 14.0

ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยศัลยกรรมมีอายุระหว่าง 20-95 ปี อายุเฉลี่ย 59.44 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 16.31) เป็นเพศหญิงร้อยละ 54.64 การวินิจฉัยโรคเมื่อแรกรับเข้าหอผู้ป่วย คือ โรคระบบกล้ามเนื้อ โรคทางระบบประสาท และโรคระบบทางเดินอาหารร้อยละ 42.10, 12.78 และ 11.53 ตามลำดับ ผู้ป่วยมีค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ย 23.74 กิโลกรัม/เมตร2 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 5.06) โดยจัดอยู่ในกลุ่มภาวะโภชนาการปกติ (BMI 18.5-22.9 กก./ม.2) ร้อยละ 33.33 ด้านการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา พบว่ามีน้ำหนักเท่าเดิมร้อยละ 68.42 มีน้ำหนักลดลงร้อยละ 23.06 และมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.52 ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดเล็กร้อยละ 72.68 ส่วนใหญ่ไม่ได้รับเคมีบำบัดและรังสีรักษาร้อยละ 84.96 อัตราของความเสี่ยงทุพโภชนาการจากการประเมินด้วยแบบคัดกรองด้านโภชนาการของสมาคมผู้ให้อาหารทางหลอดเลือดดำแห่งประเทศไทย (SPENT) พบร้อยละ 18.79 โดยปัจจัยด้านเพศ อายุ การวินิจฉัยเมื่อแรกรับ การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัว ประเภทการผ่าตัด และการได้รับเคมีบำบัดและรังสีรักษา มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงทุพโภชนาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) และเมื่อประเมินภาวะทุพโภชนาการ (NT 2013) ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงภาวะทุพโภชนาการ พบว่า มีระดับทุพโภชนาการรุนแรง (NT-4) ร้อยละ 22.67 ผู้ป่วยศัลยกรรมมีระยะวันนอนระหว่าง 3-33 วัน มีวันนอนเฉลี่ย 14.35 วัน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 7.40) โดยส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 7 -14 วัน ร้อยละ 44.00 โดยปัจจัยด้านการวินิจฉัยเมื่อแรกรับ ปริมาณพลังงานที่ได้รับและการติดเชื้อ มีความสัมพันธ์กับระดับทุพโภชนาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) และระยะวันนอนมีความสัมพันธ์กับระดับทุพโภชนาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001)

References

ขนิษฐา อยู่เพ็ชร์, ปรียาภรณ์ แสงทวี, & เอกพล อัจฉริยะประสิทธิ์. (2563). การจัดการทางการพยาบาลด้านโภชนาการสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง. เวชบันทึกศิริราช, 13(2), 133-140.

ธารินี เพชรรัตน์, พัสดา ภักดีกำจร, จิตอารีย์ ตันติยาสวัสดิกุล, บัณฑิตา จาดนอก, ศจีมาศ แก้วโคตร, ลดาวัลย์ บูรณะปิยะวงศ์, และคณะ. (2561). ภาวะโภชนาการของผู้ป่วยแผนกการพยาบาลศัลยกรรมและออร์โธปิดิกส์. ศรีนครินทร์เวชสาร, 33(3), 241-246.

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. (2556). การกำหนดขนาดตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงพรรณนาในงานสาธารณสุข. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 16(2), 1-16.

โสภิศ เกตุพร. (2557). ภาวะโภชนาการผู้ป่วยวิกฤติที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 4(2), 135-142.

Ainsley, M., & Cynthia, H. (2013). The academy of nutrition and dietetics/the American society for parenteral and enteral nutrition consensus malnutrition characteristics: Application in practice. Nutrition in Clinical Practice, 28(1), 639-650.

Correia, M. I., & Waitzberg, D. L. (2003). The impact of malnutrition on morbidity, mortality, length of hospital stay and costs evaluated through a multivariate model analysis. Clinical Nutrition, 22(3), 235-239.

Faisy, C., Lerolle, N, Dachraoui, F., Savard, J. F., Abboud, I., Tadie, J. M., et al. (2009). Impact of energy deficit calculated by a predictive method on outcome in medical patients requiring prolonged acute mechanical ventilation. British Journal of Nutrition, 101(7), 1079-1087.

Jedsada, A., Karn, J., Dudsadee, S., & Vibul, T. (2020). Role of BNT (NT-2013) tool as a predicting factor of malnutrition-related complications in surgical patients. Journal of the Association of General Surgeons of Thailand under the Royal of Patronage of HM the King, 5(1), 20-27.

Mariana, R., Maria, C. G., Raquel, S., Graziela, R. R., Julio, C. R., & Dan L. W. (2011). Complementarity of Subjective Global Assessment (SGA) and Nutritional Risk Screening 2002 (NRS 2002) for predicting poor clinical outcomes in hospitalized patients. Clinical Nutrition, 30(1), 49-53.

Natally, G. A., Juliana, U. C., Fernanda, D. A., Izabele, V. S. C, & Juliana, P. V. (2020). Prevalence of malnutrition and its association with clinical complications in hospitalized cardiac patients: Retrospective cohort study. International Journal of Cardiovascular Sciences 33(6), 629-634.

Reilly, J. J. Jr., Hull, S. F., Albert, N., Waller, A., & Bringardener, S. (1988). Economic impact of malnutrition: A model system for hospitalized patients. Journal of Parenteral and Enteral Nutrition, 12(4), 371-376.

Smeltzer, S. C., & Bare, S. C. (2004). Concepts and challenges in patients management Brunner & Suddarth’s Textbook of medical–surgical nursing. (9th ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.

Ungpinitpong, W., & Asprer, J. M. Impact of nutrition support on better outcomes in surgery. Retrived May 6, 2019, from http://www.medicthai.com/picture/news/133634art306.pdf

Vania, A. L. M., & Jose, L. B. A. (2014). Determinants of malnutrition and post-operative complications in hospitalized surgical patients. Journal of Health, Population and Nutrition, 32(3), 400-410.

Vibul, T., & Bucha, P. (2020). From BNT 2000 to NT 2013 The Malnutrtion Identification in Adult Pateints. Royal Thai Air Force Medical Gazett. 66(2), 14-32.

Villet, S., Chiolero, R. L., Bollmann, M. D., Revelly, J. P., Cayeux R N, M. C., Delarue, J., & Berger, M. M. (2005). Negative impact of hypocaloric feeding and energy balance on clinical outcome in ICU patients. Clinical Nutrition, 24(4), 502–509.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-20