ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคระบบหายใจในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พรสุดา มโนชัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พรพรรณ สกุลคู คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

โรคระบบหายใจ, ปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน, ปัจจัยอุตุนิยมวิทยา

บทคัดย่อ

ปัจจุบันมลพิษทางอากาศและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นปัญหาและมีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้นในอนาคตและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน อย่างไรก็ตามข้อมูลทางการศึกษาความสัมพันธ์ต่อสุขภาพยังมีข้อจำกัด การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนในบรรยากาศ ปัจจัยอุตุนิยมวิทยา และการมารับการรักษาด้วยโรคระบบหายใจ และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคระบบหายใจในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบretrospective cohort study โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ ข้อมูลความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา และข้อมูลการมารับการรักษาด้วยโรคระบบหายใจระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ทั้งหมด 5 ปี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ต่ำสุด และใช้สถิติเชิงอนุมาน วิธีการทางสถิติที่ใช้ คือ Poisson regression หาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคระบบหายใจโดยนำเสนอค่า IRR และ 95% CI

การศึกษาพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 56,879 คน (ร้อยละ 55.08) ค่าเฉลี่ยเพศชาย 948 คนต่อเดือน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 193.84) และส่วนใหญ่เป็นผู้มีอายุน้อยกว่า 65 ปี จำนวน 71,815 คน (ร้อยละ 69.54) ค่าเฉลี่ยอายุน้อยกว่า 65 ปี 1,197 คนต่อเดือน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 236.81) ผลการวิเคราะห์ Poisson regression พบว่าปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดโรคระบบหายใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ได้แก่ ความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ทำให้อัตราการเกิดโรคระบบหายใจเป็น 1.0025 เท่า (IRR=1.0025; 95% CI=1.0018-1.0032) ความชื้นสัมพัทธ์ทำให้อัตราการเกิดโรคระบบหายใจเป็น 1.0047 เท่า (IRR=1.0047; 95% CI=1.0036-1.0057) ความเร็วลมทำให้อัตราการเกิดโรคระบบหายใจเป็น 0.9967 เท่า (IRR=0.9967; 95% CI=0.9953-0.9981) และความกดอากาศทำให้อัตราการเกิดโรคระบบหายใจเป็น 1.0024 เท่า (IRR=1.0024; 95% CI=1.0020-1.0029)

การศึกษาชี้ให้เห็นว่า เมื่อ PM2.5 สูงขึ้น 10 µg/m3 อัตราการเกิดโรคระบบหายใจเพิ่มขึ้น 2.5% นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยอุตุนิยมวิทยาก็มีผลต่อการเกิดโรคระบบหายใจเช่นเดียวกัน ซึ่งสิ่งที่ได้สามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม กำหนดมาตรการในการควบคุมป้องกัน และติดตามเฝ้าระวังปัญหาฝุ่นละอองไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ รวมถึงเตรียมรับมือกับปัญหาในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นอีกทั้งด้านข้อมูลสิ่งแวดล้อมมีจำนวนสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศอัตโนมัติที่จำกัดดังนั้นจึงควรมีการเพิ่มจุดในการเฝ้าระวัง PM2.5 ในพื้นที่ต่างๆ ให้ครอบคลุมเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่นั้นๆ ได้อย่างเหมาะสม

Author Biographies

พรสุดา มโนชัย, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

พรพรรณ สกุลคู, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

References

กรมการขนส่งทางบก. (2562). สถิติรถจดทะเบียนใหม่. ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563, จาก https://web.dlt.go.th/statistics/

กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง. (2561). โครงการศึกษาแหล่งกำเนิดและแนวทางการจัดการฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล. ค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://air4thai.pcd.go.th/webV2/download_ book.php?bookid=35

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562ก). สรุปรายงานการป่วย 2560. ค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2563, จาก http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/ default/files/ill_2560_full.pdf

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562ข). สรุปรายงานการป่วย 2561. ค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2563, จาก http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/ default/files/ill_2561_ full_19Nov19.pdf

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2563). สรุปรายงานการป่วย พ.ศ.2562. ค้นเมื่อ 23 กันยายน 2563, จาก http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/ default/files/ ill_2562_full_20200921.pdf

ชาคริต โชติอมรศักดิ์, & ดวงนภา ลาภใหญ่. (2561) ปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยาที่สัมพันธ์ต่อการเกิดปัญหามลพิษทางอากาศในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 9(2), 237-249.

พรพรรณ สกุลคู, พงษ์เดช สารการ, กรุณา โสฬสจินดา, อรวรรณ ดีรสุรกุล, อภิวัฒน์ ตั้งใฝ่คุณธรรม, & ชัชวาล กีรติวรสกุล. (2563). เสวนาวิชาการ “ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ทางออกและแนวทางการจัดการ แนวทางป้องกัน และฝุ่นจิ๋วในสถานการณ์ปัจจุบัน". วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์, 13(3), 1-6.

มนัญญา จันทฤๅวัฒน์. (2558). การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศกับภาวะสุขภาพ เปรียบเทียบระหว่างจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. (2562). รายงานสถานการณ์การปลูกอ้อยปีการผลิต 2562/63. ค้นเมื่อ 1 กันยายน 2563, จาก http://www.ocsb.go.th/upload/journal/ fileupload/923-1854.pdf

Jo, E. J., Lee, W. S., Jo, H. Y., Kim, C. H., Eom, J. S., Mok, J. H., et al. (2017). Effects of particulate matter on respiratory disease and the impact of meteorological factors in Busan, Korea. Respiratory Medicine, 124, 79-87.

Lai, L.-W. (2018). The relationship between Laoshan winds and respiratory and cardiovascular diseases in Hengchun Peninsula, Taiwan. Health Scope, 7(2), e80346.

Nakhlé, M. M., Farah, W., Ziadé, N., Abboud, M., Salameh, D., & Annesi-Maesano, I. (2015). Short-term relationships between emergency hospital admissions for respiratory and cardiovascular diseases and fine particulate air pollution in Beirut, Lebanon. Environmental Monitoring and Assessment, 187(4), 196.

Rodopoulou, S., Samoli, E., Chalbot, M. G., & Kavouras, I. G. (2015). Air pollution and cardiovascular and respiratory emergency visits in Central Arkansas: A time-series analysis. The Science of the total environment, 536, 872-879.

Zhang, Q., Zhang, J., Yang, Z., Zhang, Y., & Meng, Z. (2013). Impact of PM2.5 derived from dust events on daily outpatient numbers for respiratory and cardiovascular diseases in Wuwei, China. Procedia Environmental Sciences, 18, 290-298.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-15