ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • รุ่งทิวา พุขุนทด สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ธีร์ กาญจนะ สาขาวิชาอาชีวอนามัยและ ความปลอดภัย สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • พัชรี ยิ้มเชิญ สาขาวิชาอาชีวอนามัยและ ความปลอดภัย สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • อภิญญา พุฒนอก สาขาวิชาอาชีวอนามัยและ ความปลอดภัย สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ณัฐสินี เต็มสระน้อย สาขาวิชาอาชีวอนามัยและ ความปลอดภัย สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • อารียา ฉลาดดี สาขาวิชาอาชีวอนามัยและ ความปลอดภัย สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ชลาลัย หาญเจนลักษณ์ สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คำสำคัญ:

ระดับความเครียด, ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียด, นักศึกษาระดับปริญญาตรี

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับระดับความ เครียดของนักศึกษา และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 469 คน ที่ศึกษาอยู่ระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน 2562 โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือแบบสอบถาม แบบวัดระดับความเครียดสวนปรุง ผู้วิจัยได้นำแบบทดสอบที่พัฒนาขึ้นมาและปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญไปทำการทดลองใช้ (Try out) กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน แล้วนำแบบสอบถามไปหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค (Cronbach Alpha Coefficient) มีค่าเท่ากับ 0.978 การวิเคราห์ผลการศึกษา โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ใช้ร้อยละ (Percentage) ค่าสถิติเฉลี่ย (average) ค่าต่ำสุด (min) ค่าสูงสุด (max) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential statistics ) โดยใช้สถิติ ความแปรปรวน (one way ANOVA) ในการเปรียบเทียบความแตกต่างระดับความเครียดของนักศึกษา ใช้สถิติการทดสอบไคสแคว์ (Chi-square Test) สำหรับทดสอบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดของนักศึกษาในการศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient)

ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (68%) อายุระหว่าง 20-22 ปี (70%)  และส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง 4,001-8,000 บาท (76%) รวมถึงกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว (89%) สถานภาพสมรสของบิดา-มารดาอยู่ด้วยกัน และเติบโตมาจากการเลี้ยงดูของบิดาและมารดาเป็นส่วนใหญ่ และผลการวัดระดับความเครียดตามแบบวัดระดับความเครียดสวนปรุง พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความเครียดในระดับเครียดรุนแรง  (26 %) เครียดระดับสูง (44%) และเครียดระดับปานกลาง (27%)  และเครียดระดับน้อย (3%)  และการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดของกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ปัจจัยด้านบุคคลและปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัย โดยปัจจัยด้านบุคลประกอบด้วย หลักสูตรที่กำลังศึกษา (c2=34.22, p-value=0.00) รายได้เฉลี่ยต่อเดือน (c2=27.78, p-value=0.02) สถานภาพสมรสบิดา-มารดา (c2=22.31, p-value=0.03)  และบุคคลผู้เลี้ยงดู (c2=40.41, p-value=0.00) และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยประกอบด้วย ด้านการเรียน (r=0.920, p-value= 0.000) ด้านการทำกิจกรรม (r=0.196, p-value=0.008) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (r= 0.489, p-value=0.000) ด้านสภาพแวดล้อมและเศรษฐกิจ (r=0.477, p-value=0.000) จากผลการศึกษาที่พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในระดับเครียดรุนแรง และเครียดระดับสูง นั้น หากกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวไม่สามารถปรับตัวที่จะลดระดับความเครียดลงได้ในเวลาอันสั้นถือว่าอยู่ในเขตอันตรายในเรื่องความเครียด และหากไม่ได้รับการบรรเทาจะนำไปสู่ความเครียดเรื้อรัง ซึ่งจะก่อให้เกิดโรคต่างๆ ในภายหลังได้ ดังนั้นการศึกษาเรื่องวิธีการผ่อนคลายความเครียดของกลุ่มตัวอย่างกลุ่มนี้จึงมีความจำเป็นจะต้องดำเนินการต่อไป

References

คลินิกสุขภาพจิต โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. (2562). ข้อมูลการใช้บริการคลินิกสุขภาพจิต. นครราชสีมา: โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สุทธิรักษ์ ไชยรักษ์. (2556). ปัญหาการปรับตัวของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

นิธิพันธ์ บุญเพิ่ม. (2553). ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาของนักศึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ระวิวรรณ แสงฉาย .(2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของนักศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, & พิมมาศ ตาปัญญา. (2541). การสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. จิตเวชวิทยาสาร, 13(3), 1-20.

สุนิตยา แวะเถื่อน และคณะ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของนักศึกษา. อุบลราชธานี: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ศิริยากร พุกสิน และคณะ .(2557). การประเมินสุขภาพจิตและความเครียดของนักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ศริญญา จริงมา .(2561). ความเครียด และวิธีการจัดการความเครียดของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. อุดรธานี: สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-01