ภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

ภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • นำพร อินสิน สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • กาญจนา วงษ์สวัสดิ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • สาวิตรี วังคะฮาด สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร
  • ยิ่งยง เสนากัง สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร
  • ช่อผกา เหวียนวัน สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร
  • ธงชัย ทาต้อง สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร

คำสำคัญ:

พฤฒพลัง, ผู้สูงอายุ, การมีส่วนร่วมทางสังคม, หลักประกันความมั่นคง

บทคัดย่อ

แนวคิดพฤฒพลังเป็นแนวทางหนึ่งในการรับมือกับสังคมผู้สูงอายุในระยะยาว โดยมุ่งเน้นให้ผู้สูงอายุพึ่งพาตนเองได้และใช้ศักยภาพของตนเพื่อทำประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับรู้ภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่จริงในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร จำนวน 393 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวมรวบข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเพื่อให้ประเมินรับรู้ภาวะพฤฒิพลังของตนเองสามด้าน ประกอบด้วยด้านการสุขภาพดี ด้านการดำเนินชีวิตอย่างมีส่วนร่วม และด้านหลักประกันและความมั่นคง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 63.82 มีการรับรู้ภาวะพฤฒพลังในภาพรวมอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ สำหรับภาวะพฤฒพลังรายองค์ประกอบ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการับรู้ภาวะพฤฒพลังด้านสุขภาพดี ด้านความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างมีส่วนร่วม และด้านหลักประกันและความมั่นคงอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 70.58 57.65 และ 67.35 ตามลำดับ จากผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นว่า ยังมีผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งที่ต้องได้รับการส่งเสริมภาวะพฤฒิพลังด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการดำเนินชีวิตอย่างมีส่วนร่วม ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองได้และนำไปสู่การใช้ศักยภาพของตนเองเพื่อสร้างคุณค่าแก่สังคมต่อไป

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2563). สถิติผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 31 มกราคม 2564, จาก http://www.dop.go.th/th/know/1

จิราภรณ์ การะเกตุ (2562). ประเทศไทยกับสังคมผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 31 มกราคม 2564, จาก https://il.mahidol.ac.th/ upload/img/2019-05-15-052430.pdf

ฐาณญา สมภู่, & คณิต เขียววิชัย. (2562). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมภาวะพฤฒิพลังของชมรมผู้สูงอายุไทย. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์, 12(1), 35-45.

นงลักษณ์ บุญเยีย, & นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. (2563). ปัจจัยทำนายการสูงวัยอย่างมีพลังของผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท. วารสารพยาบาลทหารบก, 21(1), 224-234.

ปาริชาต ญาตินิยม. (2547). ลักษณะภาวะพฤฒพลัง: กรณีศึกษาผู้สูงอายุไทยที่มีชื่อเสียง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร

มหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. (2556). การกำหนดขนาดตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงพรรณนาในงานสาธารณสุข. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 16(2), 9-18.

มาสริน ศุกลปักษ์, & กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์. (2560). องค์ประกอบด้านสุขภาพตามแนวคิดสภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุ:

การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 11(ฉบับพิเศษ), 53-63.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: บโรงพิมพ์เดือนตุลา.

ยมนา ชนะนิล, พรชัย จูลเมตต์, & นัยนา พิพัฒน์วณิชชา. (2563). ภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30(2), 83-92.

เฉลิมศรี เหล่าสุนทร, วรรณะ รัตนพงษ์, จันจิรา วิชัย, & นาวิน พรมใจสา. (2562). กลยุทธ์การใช้ศักยภาพของผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 6(ฉบับพิเศษ), 124-139.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). ดัชนีพฤฒพลังผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น.

สุภจักษ์ แสงประจักษ์สกุล. (2558). ปัจจัยกำหนดระดับวุฒิวัยของผู้สูงอายุไทย. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 21(1), 139-167.

Kalache, A., & Gatti, A. (2003). Active ageing: A policy framework. Advances in Gerontology, 11, 7-18.

Worawet, S. (2009). Poverty and financial security of the elderly in Thailand. Ageing International, 33(1), 50-61.

Yang, Y., Meng, Y., & Dong, P. (2020). Health, security and participation: A structural relationship modeling among the three pillars of active ageing in China. International Journal of Environmental Research and Public Health, 7(19), 7255.

Zaidi, A., Gasior, K., Zolyomi, E., Schmidt, A., Rodrigues, R., & Marin, B. (2017). Measuring active and healthy ageing in Europe. Journal of European Social Policy, 27(2), 138-157.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-01