ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอัตราความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอด ในจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พชรพร ครองยุทธ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
  • เจษฎา สุราวรรณ์ กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
  • สุภควดี ธนสีลังกูร
  • ปัทมา ล้อพงค์พานิชย์

คำสำคัญ:

วัณโรคปอด, อัตราความสำเร็จ, ปัจจัย

บทคัดย่อ

วัณโรค เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขที่พบอัตราความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ต่ำกว่าเป้าหมาย การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (cross-sectional analytical study) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอัตราความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ในจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่จำนวน 128 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่ายจากข้อมูลการลงทะเบียนในโปรแกรมบริหารจัดการผู้ป่วยวัณโรค (Tuberculosis Case Management : TBCM) เก็บข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม ค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) เท่ากับ 0.95 หาค่าความเชื่อมั่นด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) เท่ากับ 0.72 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน Logistic Regression Analysis นำเสนอผลการวิเคราะห์ด้วย Adjusted odds ratio (ORadj.) ด้วยค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (95% confidence interval: 95%CI)

ผลการวิจัยพบว่า อัตราความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่เท่ากับร้อยละ 75 (96 คน) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอัตราความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การเคยอาศัยอยู่กับผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคมาก่อน (OR adj. 0.14, 95% CI=0.05–0.39, p-value<0.001) และการรับประทานยาต้านวัณโรค (OR adj. 22.44, 95% CI= 6.09–82.65, p-value<0.001)

จากผลการศึกษาดังกล่าว สามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ให้มีประสิทธิผลที่ดียิ่งขึ้น

Author Biographies

เจษฎา สุราวรรณ์, กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

เจษฎา   สุราวรรณ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

สุภควดี ธนสีลังกูร

สุภควดี ธนสีลังกูร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

ปัทมา ล้อพงค์พานิชย์

ปัทมา ล้อพงค์พานิชย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

References

กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. (2563). รายงานประจำปี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ประจำปีงบประมาณ 2562. ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.

เฉวตสรร นามวาท, สุธาสินี คำหลวง, นัยนา ประดิษฐ์สิทธิกร, ยงเจือ เหล่าศิริถาวร, ศศิธันว์ มาแอเคียน, วิธัญญา ปิณฑะดิษ, และคณะ. (2560). ความคุ้มค่าการลงทุนเพื่อยุติปัญหาวัณโรคในประเทศไทย: การวิเคราะห์ต้นทุนผลได้. ค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2563, จาก https://www.hitap.net/wp-content/uploads/2018/08/Full-report_TB.pdf

ธวัชชัย วรพงศธร, & สุรีย์พันธ์ุ วรพงศธร. (2561). การคำนวณขนาดตัวอย่างสำหรับงานวิจัยโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G*Power. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 41(2), 11-21.

นรเทพ อัศวพัชระ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอด ในจังหวัดระนอง. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 8(2), 201-211.

พนารัตน์ บูรณะชนอาภา, ปวีณา สนธิสมบัติ, & สมบูรณ์ ตันสุภสวัสดิกุล. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อ sputum non-conversion หลังสิ้นสุดการรักษาวัณโรคเดือนที่ 2 คลินิกวัณโรค โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. ใน การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 14 วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556. (หน้า 686-697). ขอนแก่น: วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรพิสุทธิ์ เดชแสง. (2561). ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อ โรงพยาบาลห้วยยอด จังหวัดตรัง. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 27(5), 908-919.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2555). หลักการและการใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคสำหรับการวิจัย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 4(1), 1-12.

วราภรณ์ แสงวิเชียร, จิราพร คำแก้ว, ชญานิน กำลัง, ปริญดา จันทร์บรรเจิด, & มยุรี พงศ์เพชรดิถ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราความสำเร็จในการรักษาวัณโรคปอด ในคลินิกวัณโรค โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 11(3), 83-91.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. (2563). รายงานผลการตรวจราชการระดับจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (รอบที่ 1). ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ:

อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

Chaves Torres, N. M., Quijano Rodríguez, J. J., Porras Andrade, P. S., Arriaga, M. B., & Netto, E. M. (2019). Factors predictive of the success of tuberculosis treatment: A systematic review with meta-analysis. PloS One, 14(12), e0226507.

Chung, W. S., Chang, Y. C., & Yang, M. C. (2007). Factors influencing the successful treatment of infectious pulmonary tuberculosis. International Journal of Tuberculosis and Lung Disease, 11(1), 59–64.

World Health Organization. (2019). Global tuberculosis report 2019. Geneva: World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-15