การพัฒนาตำรับอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
คำสำคัญ:
อาหารว่างคาว, อาหารว่างหวาน, เครื่องดื่ม, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
เด็กไทยในวัยเรียนที่มีปัญหาทุพโภชนาการ 4 คนจากทั้งหมด 10 คน สาเหตุมาจากการรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่มที่ไม่เหมาะสม การพัฒนาตำรับอาหารว่างและเครื่องดื่มเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยให้เด็กรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อพัฒนาตำรับอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 วิธีดําเนินการวิจัย ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับเด็ก พัฒนาและปรับปรุงสูตรให้มีพลังงานและสารอาหารที่เหมาะสมตามเกณฑ์คู่มือการจําแนกอาหาร ขนม นม และเครื่องดื่มตามมาตรฐานโภชนาการ สําหรับเด็กอายุ 3-15 ปี (ฉบับปรับปรุง) นำตำรับที่ได้ไปประเมินความคิดเห็นต่อความเหมาะสมของอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 กับบุคลากรด้านโภชนาการ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรม INMUCAL-Nutrients V.4.0 วิเคราะห์พลังงานและคุณค่าของสารอาหารของตำรับอาหารว่างและเครื่องดื่ม และวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมินด้วยสถิติพรรณนา ผลการศึกษา ได้ตำรับอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 มี 3 หมวด ได้แก่ อาหารว่างคาว อาหารว่างหวาน และเครื่องดื่ม รวมทั้งหมด 20 เมนู มีคะแนนเฉลี่ยในภาพโดยรวมต่อการนำไปใช้กับเด็กชั้นประถมศึกษาตอนปลายมีคะแนน 4.40±0.62 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน แปลผลได้ว่ามีความเหมาะสมมากที่สุด เมนูอาหารว่างคาวที่มีพลังงานต่ำต่อหนึ่งหน่วยบริโภคอยู่ที่ระหว่าง 63-90 แคลอรี่และเมนูอาหารว่างคาวที่มีพลังงานสูงต่อหนึ่งหน่วยบริโภคอยู่ที่ระหว่าง 122-140 แคลอรี่ เมนูอาหารว่างคาวทั้งหมดเป็นเกรด B ยกเว้นเมนูคานาเป้ปูอัดที่ได้เกรด A เมนูอาหารว่างหวานที่มีพลังงานต่ำต่อหนึ่งหน่วยบริโภคอยู่ที่ระหว่าง 41-96 แคลอรี่และเมนูอาหารว่างหวานที่มีพลังงานสูงต่อหนึ่งหน่วยบริโภคอยู่ที่ระหว่าง 105-194 แคลอรี่ เมนูอาหารว่างหวานทั้งหมดเป็นเกรด B และเมนูเครื่องดื่มมีพลังงานต่อหนึ่งหน่วยบริโภคอยู่ที่ระหว่าง 54-102 แคลอรี่ เมนูเครื่องดื่มทั้งหมดเป็นเกรด B ยกเว้นเมนูฮันนี่ไซรัปน้ำขิงและสาคูแคนตาลูปสิงคโปร์ที่ได้เกรด A สรุปผลการวิจัย อาหารว่างและเครื่องดื่มที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในการนำไปใช้กับเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 เพื่อส่งเสริมให้เด็กรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ
References
ชุติมา ศิริกุลชยานนท์. (2554). โรคอ้วนในเด็กวัยเรียน: จากอณูสู่ชุมชน. กรุงเทพฯ: เบสท์ กราฟฟิค เพรส.
นงนุช ใจชื่น, สิรินทร์ยา พูลเกิด, สุรศักดิ์ ไชยสงค์, & ทักษพล ธรรมรังสี. (2556). การซื้อและการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 7(1), 137-150.
นลินี จงวิริยพันธ์. (2546). อาหารและโภชนาการในวัยรุ่น. ใน รายงานการประชุมวิชาการโภชนาการเรื่องอาหารและโภชนาการ
สร้างคน; 16-18 ธันวาคม 2546. (หน้า 173-177). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยโภชนาการ.
ลัดดา เหมาะสุวรรณ. (2548). ภาวะโภชนาการและเชาวน์ปัญญาของเด็กไทย. ใน อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ (บรรณาธิการ). ทันยุคโภชนาการในเด็ก. (หน้า 13-19). กรุงเทพฯ: บียอนด์เอ็นเทอร์ไพร์ซ.
วราภรณ์ เสถียรนพเก้า, สุภัทรา ลิลิตชาญ, จีรนันท์ แกล้วกล้า, & พร้อมลักษณ์ สมบูรณ์ปัญญากุล. (2558) โภชนาการในงานสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: วิฑูรย์การปก 1997.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2563). ร้อยละของเด็กอายุ 6-14 ปี สูงดีสมส่วน ปี งบประมาณ 2563. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2563, จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report_kpi.php?flag_kpi_level=1&flag_kpi_year=2020&source=pformated/format1.php&id=e28682b2718e6cc82b8dbb3e00f2e28e
สํานักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2561). สํารวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร พ.ศ. 2560. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2563, จาก https://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขาสุขภาพ/Food_consumption_behavior_of_the_population/2560/รายงานฉบับสมบูรณ์.pdf
สํานักโภชนาการ กรมอนามัย. (2560). คู่มือการจําแนกอาหาร ขนม นม และ เครื่องดื่มตามมาตรฐานโภชนาการ สําหรับเด็กอายุ 3-15 ปี (ฉบับปรับปรุง) (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สํานักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สุจิตรา วีรวรรณ. (2540). กุมารเวชศาสตร์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.
อุไรพร จิตต์แจ้ง, ประไพศรี ศิริจักรวาล, กิตติ สรณเจริญพงศ์, ปิยะดา ประเสริฐสม, & ผุสดี จันทร์บาง. (2547) การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคขนมและอาหารว่างของเด็ก 3-15 ปี. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2563, จาก http://www.sweetenough.in.th/ images/stories/download/study/FoodHealth05.pdf
Allison, B. (2008) Cook up a recipe for safety in your kitchen. American Academy of Pediatrics News, 27(2), 1.
Caraher, M., Wu, M., & Seeley, A. (2010). Should we teach cooking in schools? A systematic review of the literature of school-based cooking interventions. Journal of the Home Economics Institute of Australia, 17(1), 10-18.
Cunningham-Sabo, L., & Lohse, B. (2014). Impact of a school-based cooking curriculum for fourth-grade students on attitudes and behaviors is influenced by gender and prior cooking experience. Journal of Nutrition Education and Behavior, 46(2), 110-120.
Rola, Z., & Lindiwe, S. (2017). Influence of a school-based cooking course on students’ food preferences, cooking skills, and confidence Canadian. Journal of Dietetic Practice and Research, 78(1), 37-41.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.