การประเมินระดับความสั่นสะเทือนทั้งร่างกายของผู้ปฏิบัติงานกับรถเกี่ยวนวดข้าวในจังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • ประกาศิต ทอนช่วย สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • พรรณวดี สิงห์แก้ว สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ความสั่นสะเทือนทั้งร่างกาย, รถเกี่ยวนวดข้าว, ผู้ปฏิบัติงานกับรถเกี่ยวนวดข้าว

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการเกษตรส่งผลต่อความสะดวกในการทำงาน แต่กลับทำให้เกิดปัญหาอาชีวอนามัยกับผู้ใช้เครื่องจักรเหล่านั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การวิจัยเชิงกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับความสั่นสะเทือนทั้งร่างกายของผู้ปฏิบัติงานกับรถเกี่ยวนวดข้าวพื้นที่จังหวัดพะเยา ในแต่ละสถานะการทำงาน ได้แก่ จอดอยู่กับที่ ขับเคลื่อนบนพื้นที่นา เก็บเกี่ยวและนวดข้าว และขับเคลื่อนเมื่อบรรจุเต็ม จำนวน 6 คัน ขนาดความจุ 2.5 และ 2.7 ตัน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน–ธันวาคม พ.ศ. 2562 โดยใช้เครื่องวัดความสั่นสะเทือนทั้งร่างกาย บันทึกค่าทุก 1 วินาที วิเคราะห์ระดับความสั่นสะเทือนแยกตามแนวแกน X, Y และ Z ด้วยสถิติเชิงพรรณณา และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับความสั่นสะเทือนด้วยสถิติ One-way ANOVA

ผลการศึกษา พบว่า ระดับความสั่นสะเทือนตามแกน X, Y และ Z ของทั้ง 4 สถานะการทำงานมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) และแกน Z มีความสั่นสะเทือนเฉลี่ยสูงสุด สำหรับการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ในภายหลัง พบว่า สถานะการทำงานจอดอยู่กับที่ ขับเคลื่อนบนพื้นที่นา และขับเคลื่อนเมื่อบรรจุเต็ม ระดับความสั่นสะเทือนเฉลี่ยของแกน X-Z และ Y-Z และสถานะการทำงานเก็บเกี่ยวและนวดข้าว แกน X-Y, X-Z และ
Y-Z แตกต่างกัน (p-value<0.05) และเมื่อเปรียบเทียบความสั่นสะเทือนกับเวลา 8 ชั่วโมง (A(8)) ของรถ 6 ชนิด มีค่าเกินกว่าระดับที่ต้องดำเนินการป้องกันเบื้องต้น ร้อยละ 83.33 และระดับขีดจำกัดสูงสุด ร้อยละ 16.67 ทั้งนี้ควรนำข้อมูลไปใช้ในการเฝ้าระวังและจัดการความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัย โดยการให้อาชีวสุขศึกษาและการออกแบบอุปกรณ์เครื่องมือทางวิศวกรรมเพื่อลดระดับความสั่นสะเทือนที่จะส่งผลต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานกับรถเกี่ยวนวดข้าว

Author Biography

พรรณวดี สิงห์แก้ว, สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

References

ชมพูนุช นันทจิต. (2559). ความแตกต่างในการลงทุนของธุรกิจรถเกี่ยวนวดข้าวรับจ้างภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย. วารสารแก่นเกษตร, 44(1), 59-65.

ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม, กาญจนา นาถะพินธุ, วรรณภา อิชิดะ, & ทวีศักดิ์ ปัดเต. (2016). พฤติกรรมเสี่ยงและปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาวะสุขภาพของเกษตรกรทำนา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(2), 4-12.

นิติภูมิ นวรัตน์. (2556). ประสิทธิภาพการผลิตของข้าวไทย. หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ ฉบับวันที่ 26 ธันวาคม 2556.

บังอร ศิริสัญลักษณ์. (2558). รูปแบบการทำการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 3(3), 319-330.

มนตรา พงษ์นิล. (2561). การเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรกลทางการเกษตรนาข้าวบ้านจำป่าหวายกับความพร้อมเป็นเกษตรอัจฉริยะในบริบทการพัฒนาทางเศรษฐกิจ จังหวัดพะเยา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ฉบับพิเศษ, 39-47.

วารุณี พันธ์วงศ์, & กาญจนา ปินตาคำ. (2560). ปัจจัยคุกคามสุขภาพของเกษตรกรชาวนาไทย: กรณีศึกษาชาวนาตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ, 11(3), 125-133.

ศุภัทธนันท์ รักพงษ์, ปวีณา มีประดิษฐ์ & พรทิพย์ เย็นใจ. (2557). การประเมินความเสี่ยงจากการรับสัมผัสความสั่นสะเทือนแบบทั่วร่างกายของพนักงานแผนกเย็บผ้าของโรงงานแห่งหนึ่ง. รายงานการสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2557 มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์, 219-228.

สมชาย ชวนอุดม, วารี ศรีสอน, & ทิวาพร เวียงวิเศษ. (2552). การเปรียบเทียบการสั่นสะเทือนของเครื่องเกี่ยวนวดข้าวเนื่องจากการทำงานของชุดขับราวใบมีด ล้อโน้ม และเกลียวลําเลียงหน้า. วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย, 15(1), 257-262.

สาโรช อังสุมาลิน, & นุกูล กรยืนยงค์. (2560). ธุรกิจการผลิตและการรับจ้างรถเกี่ยวนวดข้าวในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันคลังสมองของชาติ.

สาโรช อังสุมาลิน, ศักดา อินทรวิชัย, นุกูล กรยืนยงค์, & รังสรรค์ ปิติปัญญา. (2559). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเกี่ยวนวดข้าวและการประกอบการรับจ้างเกี่ยวนวดข้าว ในเขตภาคกลางของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). ทิศทางการทำงานของแรงงานไทย. ค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2561, จาก http://service.nso.go.th/ nso/nsopublish/citizen/news/news_lfsdirect.jsp

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). สถิติการปลูกข้าว จำแนกเป็นรายภาค และจังหวัด ปีเพาะปลูก 2559/60. ค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2561, จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/11.aspx

สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว. (2557). องค์ความรู้เรื่องข้าววิทยาการการเก็บเกี่ยวผลผลิต. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2561, จาก https://www.brrd.in.th

อนุชิต เกตุรวม. (2546). การศึกษาผลกระทบของความสั่นสะเทือนที่ทำเกิดความรู้สึกไม่สบายและอาการปวดหลังแก่พนักงานควบคุมเครื่องจักรกลหนักในเหมือง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Abdul-Aziz, A., Almosawi, Alkhafaji, A., & Alqazzaz, M. (2016). Vibration transmission by combine harvester to the driver at different operative conditions during paddy harvest. International Journal of Science and Nature, 7, 127–133.

Burström, L., Aminoff, A., Björ, B., Mänttäri, S., Nilsson, T., Pettersson, H., et al. (2017). Musculoskeletal symptoms and exposure to whole-body vibration among open-pit mine workers in the Arctic. International Journal of Occupational Medicine and Environmental Health, 30(4), 553–564.

Calvo, A., Preti, C., Caria, M., & Deboli, R. (2019). Vibration and noise transmitted by agricultural backpack powered machines critically examined using the current standards. International Journal of Environmental Research and Public Health, 16(12), 2210.

Essien, S. K., Bath, B., Koehncke, N., Trask, C., & Saskatchewan Farm Injury Cohort Study Team (2016). Association between farm machinery operation and low back disorder in farmers: A retrospective cohort study. Journal of Occupational and Environmental Medicine, 58(6), e212–e217.

Fethke, N. B., Schall, M. C., Merlino, L. A., Chen, H., Branch, C. A., & Ramaswamy, M. (2018). Whole-body vibration and trunk posture during operation of agricultural machinery. Annals of Work Exposures and Health, 62(9), 1123-1133.

Hamed, A. (2016). Whole body vibration exposure during operation of rice combine harvester under egyptian field conditions. Journal of Soil Sciences and Agricultural Engineering, 7(12), 961-971.

Krajnak K. (2018). Health effects associated with occupational exposure to hand-arm or whole body vibration. Journal of Toxicology and Environmental Health, Part B, Critical Reviews, 21(5), 320-334.

Neghab, M., Kasaeinasab, A., Yousefi, Y., Hassanzadeh, J., Sarreshtedar, H., & Alighanbari, N. (2016). Health effects of long-term occupational exposure to whole body vibration: A study on drivers of heavy motor vehicles in Iran. Journal of Health Sciences & Surveillance System, 4(2), 76–82.

Tsujimura, H., Taoda, K., & Kitahara, T. (2015). A field study of exposure to whole-body vibration due to agricultural machines in a full-time rice farmer over one year. Journal of Occupational Health, 57(4), 378–387.

Vogel, H., Kohlhaas, R., & von Baumgarten, R. J. (1982). Dependence of motion sickness in automobiles on the direction of linear acceleration. European Journal of Applied Physiology and Occupational Physiology, 48(3), 399–405.

Zanatta, M., Amaral, F. G., & Vidor, G. (2019). The role of whole-body vibration in back pain: A cross-sectional study with agricultural pilots. International Journal of Industrial Ergonomics, 74, 102872.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-18