ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมวัณโรคในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรค ตำบลแม่ตาว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
คำสำคัญ:
ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมวัณโรค, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, ผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรคบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมวัณโรค เปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมวัณโรค และปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมวัณโรค ในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่เป็นคนไทย และผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่เป็นแรงงานข้ามชายแดน ในตำบลแม่ตาว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 169 คน เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถาม เปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมวัณโรคของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of variance: ANOVA) และวิธีความแตกต่างระดับนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมวัณโรคของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ P-value น้อยกว่า 0.05
ผลการศึกษาพบว่าผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่เป็นคนไทยมีความรู้ในการป้องกันและควบคุมวัณโรคสูงกว่าผู้ดูแลกลุ่มอื่นๆ ทุกกลุ่มมีทัศนคติในการป้องกันและควบคุมวัณโรคอยู่ในระดับดี และผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่เป็นคนไทยมีพฤติกรรมในการป้องกันและควบคุมวัณโรคอยู่ในระดับดีมาก เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมวัณโรค ผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่เป็นคนไทยมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมวัณโรคมากกว่า อสม. อยู่ 7.63 คะแนน และมากกว่าผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่เป็นแรงงานข้ามชายแดนอยู่ 6.28 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.001) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมวัณโรคของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อายุ สถานภาพ อาชีพหลัก ความถี่ในการใช้บริการสุขภาพ และทัศนคติการป้องกันและควบคุมวัณโรค
จากการศึกษาที่พบว่ากลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่เป็นแรงงานข้ามชายแดนยังมีความรู้อยู่ในระดับที่ต่ำ และมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมน้อยกว่าผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่เป็นคนไทย ดังนั้นจึงควรมีการให้รู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมวัณโรค และส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมวัณโรคให้กับผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่เป็นแรงงานข้ามชายแดน และ อสม.
References
ขวัญใจ มอนไธสง, จีราภรณ์ กรรมบุตร, & วนลดา ทองใบ. (2560). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคของผู้สัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรคปอดที่พักอาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(ฉบับพิเศษ), 306-314.
คลินิกวัณโรค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่ตาว.(2561). ข้อมูลผู้ป่วยวัณโรคดที่ขึ้นทะเบียนรักษากับคลินิกวัณโรคตั้งแต่ปี 2559-2561. ตาก: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่ตาว.
จตุพร พันธะเกษม, พิษณุรักษ์ กันทวี, & อมรรัตน์ อนุวัฒนนทเขตต์. (2561). ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตัวในการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคในผู้สัมผัส ร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร, 10(1), 169-178.
ญาดา เรียมริมมะดัน, & ศิรินันท์ คำสี. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสาร มฉก. วิชาการ, 21(42), 72-91.
ณัฐวุฒิ ช่วยหอม. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมวัณโรคของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน ในตําบลท่าทองใหม่ อําเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์, 32(1), 889-906.
ทศพล สุวรรณ. (2563). พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค ภายหลังการใช้ โปรแกรมการป้องกันโรควัณโรค ในบุคลากรกลุ่มเสี่ยง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, 4(8), 122-132.
นงนุช เสือพูมี. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้กับพฤติกรรมการปูองกันวัณโรค ปอดของประชาชน ตำบล
สวนกล้วย อำเภอบ้านโปร่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 79-93.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สุริยาสาสน์.
บุญรักษ์ พันธมิตร, & เสน่ห์ แสงเงิน. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมวัณโรค ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เชี่ยวชาญ อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์. วารสารสาธารณสุขนครสวรรค์, 2(3), 30-38.
มะลิณี บุตรโท, & พรนภา ศุกรเวทย์ศิร. (2554). การป้องกันวัณโรคในผู้สัมผัสร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะ พบเชื้อที่ขึ้นทะเบียนรักษา อำเภอประโคนชัย อำเภอกระสัง และอำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น, 18(3), 11-21.
วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). หลักการสร้างและวิเคราะห์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ศิริวรรณ-เสรีรัตน์ และคณะ. (2548). กลยุทธ์การตลาด การบริหารการตลาด และกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2556). แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ:
สำนักวัณโรค.
สำนักโรคเอดสวัณโรคและโรคติดตอทางเพศสัมพันธ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แนวทางการปฏิบัติการผสมผสานวัณโรคและเอดส์ปี 2560. กรุงเทพฯ: เจ.เอส.การพิมพ.
สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2560). ระบบสถิติทางการทะเบียนจำนวนประชากรจังหวัดตาก.
ค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2561, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByYear.php.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก. (2556). ข้อมูลประชากรต่างชาติ Tak information system (Takis ตากคิด) ค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2561, จาก http://www.tako.moph.go.th/takmoph2016/index.php
สิทธิพงษ์ ศรีชาติ. (2556). ศึกษาการประเมินความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคปอดใน กลุ่มผู้อพยพชาวพม่าที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้อพยพ บ้านใหม่ในสอย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวรรณาภา ศรีนาค. (2562). แนวทางส่งเสริมเพื่อป้องกันการเกิดวัณโรคปอดเสมหะบวกรายใหม่ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว จังหวัดนครราชสีมา.วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 5(2), 88-107.
Bloom, B. S. (1997). Human characteristics and school learning. New York: McGraw-Hill.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.