การจัดการทางการยศาสตร์เพื่อลดความผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตในภาคอุตสาหกรรม: การทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบ

ผู้แต่ง

  • สุดารัตน์ บุญหล้า คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

อุตสาหกรรม, การจัดการทางการยศาสตร์, การปรับปรุง, ความผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อ

บทคัดย่อ

การทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิธีการจัดการทางการยศาสตร์ที่นำมาดำเนินการเพื่อลดความผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตในภาคอุตสาหกรรม ข้อมูลที่ได้มาจากการศึกษาค้นคว้างานวิจัยที่มีการศึกษาในประเทศไทยและต่างประเทศที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ และเป็นรายงานการวิจัยในช่วงปี พ.ศ. 2553 – 2563 (ค.ศ. 2010 -2020) จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีแหล่งสืบค้นข้อมูลคือ Google scholar และ PubMed ได้จำนวน 10 เรื่อง ซึ่งผลการศึกษาพบว่า การจัดการทางการยศาสตร์เพื่อลดความความผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการทำงานนั้นเป็นการนำผลจากการประเมินความเสี่ยงจากการสัมผัสปัจจัยทางการยศาสตร์ด้วยเทคนิค REBA, RULA แบบประเมินของ NIOSH, ACGIH TLVs (HAL), ประเมิน Nordic และความรู้สึกไม่สบายทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานฝ่ายผลิตในภาคอุตสาหกรรม เพื่อดำเนินการจัดการทางการยศาสตร์ พบว่ามี 2 แนวทางที่นำมาดำเนินการ คือ 1) การปรับปรุงสถานีงาน เป็นการออกแบบสถานีงาน / เครื่องมือ/ เครื่องจักร / อุปกรณ์ ที่จะช่วยในการปรับปรุงท่าทางการทำงาน โดยออกแบบจากการประยุกต์ใช้ข้อมูลขนาดสัดส่วนร่างกาย 2) การใช้หลักการยศาสตร์แบบมีส่วนร่วม (Participatory Ergonomics; PE) คือ การเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากทุกหน่วยงานเข้ามาแก้ไขปัญหาด้านการยศาสตร์ผ่านการแสดงความคิดเห็น การตัดสินใจ การศึกษาปัญหา ร่วมกันวางแผนและร่วมลงมือปฏิบัติ โดยมีเป้าหมายร่วมกันที่ชัดเจน ทั้งสองแนวทางสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อได้ และหากนำทั้งสองแนวทางมาใช้ร่วมกันจะเป็นประโยชน์มากกว่าการใช้เพียงแนวทางเดียว อย่างไรก็ตามในงานวิจัยที่ผ่านมาไม่พบการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพด้านความผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อโดยหลักเมตริกความเสี่ยงของการประเมินทางการยศาสตร์ร่วมกับการรับรู้อาการของพนักงานที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่การประเมินความเสี่ยงและการวัดผลการจัดการทางการยศาสตร์ จึงเสนอแนะให้นำการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพด้านความผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อสู่การศึกษาเพื่อการจัดการทางการยศาสตร์ที่จะเป็นประโยชน์ในการเฝ้าระวังสุขภาพของพนักงานและป้องกันความผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานฝ่ายผลิตในภาคอุตสาหกรรมได้

References

ทรงวิทย์ บุราสิทธิ์, ศรีศักดิ์ สุนทรไชย, & สุดาว เลิศวิสุทธิ์ไพบูลย์. (2559). การปรับปรุงวิธีการทำงานเพื่อลดความเสี่ยงด้านการยศาสตร์จากการยกกล่องฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ กรณีศึกษา บริษัท เอชจีเอสที (ประเทศไทย) จำกัด. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2563, จาก http://www.est.or.th/ErgoCon2016_Proceedings/docs/F03.pdf

นิติเศรษฐ เพชรจู. (2555). การลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บจากการทำงานโดยหลักการทางการยศาสตร์ กรณีศึกษา สหกรณ์กองทุนสวนยางพิจิตร จำกัด, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและระบบ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พงศ์ธร สุระวุฒิ. (2558). การปรับปรุงวิธีการบรรจุวุ้นเส้นโดยประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัฐวุฒิ สมบูรณ์ธรรม. (2560). การปรับปรุงสภาพงานโดยใช้หลักการยศาสตร์แบบมีส่วนร่วมเพื่อลดความเสี่ยงบริเวณหลังส่วนล่างในพนักงานแผนกลอกยางของโรงงานยางพาราแผ่นรมควันแห่งหนึ่งในจังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรศักดิ์ สมบัติแก้ว. (2559). การออกแบบและพัฒนามีดกรีดยางตามหลักการยศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและระบบ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม กรมแรงงาน. (2561).รายงานประจำปี 2561 กองทุนเงินทดแทน. ค้นเมื่อ

กันยายน 2563, จาก https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso.pdf

สุนิสา ชายเกลี้ยง, & วรวรรณ ภูชาดา. (2559). ประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับปรุงตามหลักการยศาสตร์ในพนักงานศูนย์บริการข้อมูล. ศรีนครินทร์เวชสาร, 31(5), 325-331.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, & อารยา ปานนาค. (2560). การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการปวดไหล่ในพนักงานและประกอบชิ้นส่วนอิเล้กทรอนิกส์. วารสารสาธารสุขศาสตร์, 47(2), 212-221.

สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2557). สรีรวิทยาการทำงานและการยศาสตร์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2562). การเฝ้าระวังสุขภาพในสถานที่ทำงาน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุพร มีเกียรติกุลธร, ปวีณา มีประดิษฐ์, & ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข. (2561). การปรับปรุงสภาพงานโดยใช้หลักการยศาสตร์แบบมีส่วนร่วมเพื่อลดความเสี่ยงที่มือของคนงานในโรงงานผลิตและประกอบชุดสายไฟในรถยนต์แห่งหนึ่ง ใน จ .ระยอง. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 6. (หน้า 578-587). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

องุ่น สังขพงษ์, กลางเดือน โพชนา, & วรพล เอื้อสุริตวงศ์ (2556). การปรับปรุงสถานีงานตามหลักการยศาสร์เพื่อลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อของแรงงานในกระบวนการผลิตปลาทูน่า : กรณีศึกษาโรงงานแปรรูปอาหารทะเลแห่งหนึ่ง. วารสารวิชาการพระนครเหนือ, 23(3), 654-663.

อรณิชา ยมเกิด, ปิยะวัฒน์ ตรีวิทยา, & นิวิท เจริญใจ. (2558). การปรับปรุงท่าทางการทำงานของพนักงานในอุตสาหกรรมตีมีดด้วยหลักการยศาสตร์. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยชียงใหม่, 22(3), 10-20.

Aghilinejad, M., Azar, N. S., Ghasemi, M. S., Dehghan, N., & Mokamelkhah, E. K. (2016). An ergonomic intervention to reduce musculoskeletal discomfort among semiconductor assembly workers. Work, 54(2), 445-450.

Chaiklieng S. (2019). Health risk assessment on musculoskeletal disorders among potato-chip processing workers. PLoS One, 14(12), e0224980.

Chaiklieng, S., & Karusan, M. (2015). Health risk assessment and incidence of shoulder pain among office workers. Procedia Manufacturing, 3, 4941-4947

Daneshmandi, H., Kee, D., Kamalinia, M., Oliaei, M., & Mohammadi, H. (2018). An ergonomic intervention to relieve musculoskeletal symptoms of assembly line workers at an electronic parts manufacturer in Iran. Work, 61(4), 515-521.

Miguez S. A., Hallbeck M. S., & Vink P. (2012). Participatory ergonomics and new work: reducing neck complaints in assembling. Work, 41, 5108-5113.

Mohamed M. S. S., Halim I., Azani A. H., & Saptari D. A. (2019). Work posture improvement at plastic process in plastic manufacturing industry. Journal of Advanced Manufacturing Technology, 13(3), 25-36.

Rasmussen C. D. N., Lindberg N. K., Ravn M. H., Jorgensen M. B., Sogaard K., & Holtermann A. (2016). Processes, barriers and facilitators to implementation of a participatory ergonomics program among eldercare workers. Applied Ergonomics, 58, 491-499.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-03