เสวนาวิชาการ “ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ทางออกและแนวทางการจัดการ แนวทางป้องกัน และฝุ่นจิ๋วในสถานการณ์ปัจจุบัน”

ผู้แต่ง

  • พรพรรณ สกุลคู สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พงษ์เดช สารการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • กรุณา โสฬสจินดา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อรวรรณ ดีสุรกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อภิวัฒน์ ตั้งใฝ่คุณธรรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ชัชวาล กีรติวรสกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ฝุ่น PM 2.5, ฝุ่นละออง

บทคัดย่อ

ฝุ่น PM 2.5 เป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็กมาก เล็กกว่าขนจมูกประมาณ 25-30 เท่า ทำให้ฝุ่นละอองสามารถผ่านทะลุผนังถุงลมของปอด เข้าสู่เส้นเลือดได้โดยตรง สถานการณ์ปัจจุบัน ขอนแก่นมีเครื่องตรวจวัด 1 เครื่อง ซึ่งเป็นเครื่องที่ดีมาก สามารถตรวจวัดค่าพารามิเตอร์ได้ 6 ชนิด ต้นเหตุของฝุ่น PM 2.5 ของกรุงเทพฯและขอนแก่นนั้นไม่เหมือนกัน ของกรุงเทพฯมีการศึกษาพบว่ามาจากกการจราจร แต่ทางขอนแก่นมาจากการเผาในที่โล่ง ส่วนที่มาของอนุภาคของ PM 2.5 นั้น หลักๆ คือ “เถ้าลอย” พบว่าการทำอ้อยปีนี้เพิ่มขึ้นกว่าปีก่อน เนื่องจากได้ราคาดี และมีการส่งเสริม นอกจากนี้กำลังมีโรงงานน้ำตาลเพิ่มขึ้นอีกทั่วภาคอีสาน ทำให้เป็นที่น่ากังวลว่าจะป้องกันฝุ่นที่มาจากการเผาอ้อยอย่างไร ค่า PM 2.5 จะเกินอยู่ในช่วงประมาณเดือน มกราคม-เมษายน และการเผาอ้อยสิ้นสุดที่ประมาณกลางเดือนเมษายน เพราะเป็นฤดูปิดหีบอ้อย ชาวบ้านก็จะยกเลิกการเผา ปัญหาฝุ่น PM 2.5 นอกจากจะเป็นปัญหาที่มาจากแหล่งกำเนิดแล้ว การแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศก็มีส่วนด้วย ซึ่งเรียกว่า การผันแปรของอุณหภูมิ (Temperature Inversion) นอกจากนี้ทางการได้มีการกำหนดมาตรการเร่งด่วน ระยะกลาง ระยะยาว ข้อปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะฝุ่น และคุณภาพอากาศ อยู่ในระดับสูงเกินเกณฑ์ นั้น ได้แก่ พยายามอยู่ในอาคาร ปิดหน้าต่าง เปิดเครื่องฟอกอากาศด้วยถ้าหากมี และถ้าค่า AQI อยู่ในระดับสีส้ม (มีค่ามากกว่า 100) ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง (เช่น ผู้ปฏิบัติงานกลางแจ้งตลอดเวลา สูบบุหรี่จัด เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ โรคปอด) ควรใส่หน้ากากอนามัย N 95 ถ้าไม่มี ให้ใส่หน้ากากอนามัย 2 ชั้น ส่วนในแง่ผลกระทบสำหรับคนทั่วไป หากได้รับฝุ่นละอองชนิดนี้เข้าไป จะได้รับผลกระทบในอีก 10-20 ปี ข้างหน้า

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-13