ความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุไทยในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • ชวนพิศ ศิริไพบูลย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • อิทธิพล ดวงจินดา คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • กันธิมา ศรีหมากสุก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ศรีสรางค์ เคหะนาค คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • อังคณา บุญครอง คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

การรับรู้, ความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

ความเชื่อส่วนบุคคลเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมในการปฏิบัติหรือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และช่วยให้พฤติกรรมนั้นคงอยู่ในระยะยาว ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ ที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตหรือการดูแลสุขภาพของตนเอง ขึ้นอยู่กับความเชื่อและการรับรู้ด้านสุขภาพของแต่ละบุคคล การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อด้านสุขภาพ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและความสัมพันธ์ของความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุไทย ประชากร คือ คนไทยที่มีอายุ 60 ปี  ขึ้นไป ในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ใช้สูตรการคำนวณหาขนาดตัวอย่างของไวเออรส ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 376 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.892 และค่าความเชื่อมั่นโดยรวมเท่ากับ 0.936 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.51 เพศชาย ร้อยละ 41.49 เป็นผู้สูงอายุวัยต้น (อายุ 60-69 ปี)  ร้อยละ 52.13 อายุเฉลี่ย 70.61 ปี สถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 53.46 ไม่ได้ประกอบอาชีพร้อยละ 64.63 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 1,500.00 บาท การศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 67.55 มีโรคประจำตัว ร้อยละ 35.90 เป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 28.19 มีภาวะสุขภาพดี ร้อยละ 50.27 ความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean= 2.340, S.D.=0.227) พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=2.412, S.D.= 0.371) ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ การศึกษา (χ2=19.358, p=0.013) โรคประจำตัว (χ2=21.241, p<0.01) และภาวะสุขภาพ (χ2=37.460, p< 0.01) และพบว่าความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง (r=0.623, p<0.01) การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมีความสัมพันธ์ทางลบอยู่ในระดับต่ำมาก (r= -0.170) การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันและรักษาโรคมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำ (r= -0.361) การรับรู้ความรุนแรงของโรคมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำมาก (r=0.117) การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติตนมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง (r=0.567) ในขณะที่การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติ (r=0.632) ปัจจัยกระตุ้นการปฏิบัติ (r=0.627) และปัจจัยร่วม (r=0.627) มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

จากการวิจัยครั้งนี้ ความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุไทยมีความสัมพันธ์ในทางบวก แต่มีบางตัวแปรที่มีความสัมพันธ์เชิงลบ ดังนั้น ควรเน้นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการรับรู้ที่ถูกต้องตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพอย่างเป็นขั้นตอนและวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสม โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวหรือมีภาวะสุขภาพไม่ดี เพื่อให้เกิดการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต และบริบทของผู้สูงอายุ ซึ่งจะผลักดันให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2557). สถานการณ์และแนวโน้มสังคมผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2556-2573. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

กฤษดา พรหมสุวรรณ์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุตำบลหนอง ไม้แก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.

กัลยารัตน์ แก้ววันดี, วราภรณ์ ศิริสว่าง, & จิติมา กตัญญู. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองยวง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน. ค้นเมื่อ 30 มกราคม 2562, จาก http://gs.nsru.ac.th/files/5/2กัลยารัตน์%20%20แก้ววันดี.pdf

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2556). สุขภาพสูงวัย ดูแลได้ด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: บีบุ๊คส์.

เกษริน อุบลวงศ์, & นัยนา พิพัฒน์วณิชชา. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมป้องกันโรคสมองเสื่อมของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 33(2), 14-24.

จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. (2560). พฤติกรรมสุขภาพ: แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธนธัช ธนิกกุล. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เนตรดาว จิตโสภากุล. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนหมู่ที่ 6 ตำบลบึงศาล อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี 2557, 6, 171-178.

เพลินพิศ สายวิชัย. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการควบคุมภาวะน้ำหนักเกินในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2561). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา.

ละเอียด ศิลาน้อย. (2558). วิธีวิทยาการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัยเชิงปริมาณ (เชิงสํารวจและเชิงทดลอง). กรุงเทพฯ: บางกอกบลูพริ้นต์.

วรพงศ์ แซ่คู. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับการออกกำลังกายของประชาชนเขตเทศบาลเมืองบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

วัลภา บูรณกลัศ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง สัมพันธภาพในครอบครัวกับความสุขของผู้สูงอายุในชุมชนแห่งหนึ่ง เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลตำรวจ, 9(2), 24-32.

วุฒิพงษ์ เชื่อมนอก. (2558). ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ชนเผ่าผู้ไทและผู้สูงอายุชาวไทยอีสานที่เป็น โรคความดันโลหิตสูง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศศิกาญจน์ สกุลปัญญวัฒน์. (2557). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุชาวมุสลิม กรณีศึกษา อำเภอองครักษ์ ตำบลองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วารสารพยาบาลทหารบก, 3, 253-360.

ศิริสุข นาคะเสนีย์. (2561). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(1), 39-48.

ศุภกานต์ นุสรณ์รัมย์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานสถิติจังหวัดสมุทรสงคราม. (2562). รายงานสถิติจังหวัดสมุทรสงคราม: จำนวนผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 30 มกราคม 2562, จาก http://samutsongkhram.nso.go.th

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม. (2561). การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยทุกกลุ่มวัย. ค้นเมื่อ 18 กันยายน 2562, จาก http://skmo.moph.go.th

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2556). การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการ โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สุภาภรณ์ เวชบุล. (2559). พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในตำบลวังเหนือ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณทิต สาขาวิชาสุขศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เสาวลักษณ์ อุ่นละม้าย. (2553). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรคและการรับรู้ความสามารถของตนในการป้องกันการหกล้มกับพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ, จิดาภา ศรีอรุณ, นามิต้า ฉาดหลี, ฐิติพร จันทร์พร, อนงค์ จันทร์เพิ่ม, ชุลีพร ไชยสุนันท์ และคณะ. (2561). แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลบางสมัคร อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 7(2), 43-52.

อิทธิพล ดวงจินดา, ปริญดา ศรีธราพิพัฒน์, จันทร์จิรา อินจีน, & ปารวีร์ มั่นฟัก. (2562). ปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันกับระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทย ในบริบทพื้นที่จังหวัดชัยนาท. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 35(3), 60-73.

Becker, M. H., & Maiman, L. A. (1975). Sociobehavioral determinants of compliance with health medical care recommendations. Medical Care, 13(1), 10-24.

Best, J. W. (1981). Research in Education (3rd ed.). Englewood cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Harooni, J., Hassanzadeh, A., & Mostafavi, F. (2014). Influencing factors on health promoting behavior among the elderly living in the community. Journal of Education and Health Promotion, 3, 40

Ken Black. (2010). Business Statistics for Contemporary Decision Making. (6th ed.). Hoboken, NJ: John Wiley & Sons.

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2011). Health promotion in nursing practice (6th ed.). Boston: Julie Levin Alexander.

Polidori, M. C., Nelles, G., & Pientka, L. (2010). Review article-prevention of dementia: Focus on life style. International Journal of Alzheimer’s Disease, 10, 1-9.

Stretcher, V. J., & Rosenstock, I. M. (1997). The health belief model. In K. Glanz, F. M. Lewis, & B. K. Rimer, (Eds.). Health behavior and health education: Theory, research, and practice (4th ed., pp. 41-62). San Francisco: Jossey-Bass.

United Nations. (2017). World population aging 2017. New York: United Nations Publication.

Weiers, R. M. (2005). Introduction to Business Statistics, International Student Edition. (5th ed.). Pennsylvania: Duxbury Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-24