คุณภาพด้านโภชนาการและการดัดแปลงอาหารกลางวันและอาหารว่างสำหรับ เด็กก่อนวัยเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลจุน จังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
เด็กก่อนวัยเรียน, คุณภาพด้านโภชนาการ, การดัดแปลงอาหารกลางวันบทคัดย่อ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลจุน จังหวัดพะเยา เป็นศูนย์รับดูแลเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็ก คุณภาพด้านโภชนาการของการจัดอาหารกลางวันมีความสำคัญต่อการมีภาวะโภชนาการที่ดีในเด็ก วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อวิเคราะห์คุณภาพด้านโภชนาการและดัดแปลงอาหารกลางวันและอาหารว่าง ให้มีคุณภาพด้านโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน การศึกษาภาคตัดขวางดำเนินการในเดือนมีนาคมถึงเมษายน 2561 คณะผู้วิจัยสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารกลางวัน (อาหารคาว และอาหารว่าง) ในปริมาณที่จัดให้บริการ จากนั้นตัวอย่างอาหารกลางวันถูกนำมาวิเคราะห์คุณค่าโภชนาการด้วยโปรแกรมวิเคราะห์สารอาหาร (INMUCAL program) และจัดกลุ่มคุณภาพด้านโภชนาการของอาหารคาวและอาหารว่างตามรายละเอียดสารอาหารในแต่ละวัน อาหารที่มีคุณภาพด้านโภชนาการน้อย (เกรดซี) ถูกนำมาดัดแปลงส่วนประกอบให้มีคุณภาพด้านโภชนาการมากขึ้น ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า อาหารกลางวันทั้ง 34 รายการ (อาหารคาว 17 รายการและอาหารว่าง 17 รายการ) มีค่าเฉลี่ยพลังงาน 486.0±76.8 กิโลแคลอรี่ และมีการกระจายพลังงานของคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันเท่ากับ 60.5 13.5 และ 25.9 ของพลังงานทั้งหมดตามลำดับ ขณะที่สารอาหารอื่นมีปริมาณเป็นไปตามคำแนะนำ ยกเว้นแคลเซียมที่ต่ำกว่าปริมาณแนะนำ อีกทั้งการทดสอบทางสถิติพบว่า ปริมาณแคลเซียมมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p value<0.05 สำหรับคุณภาพโภชนาการอาหารกลางวันสามารถจัดประเภทได้ดังนี้ อาหารคาวที่จัดอยู่ในกลุ่มคุณภาพโภชนาการเกรดเอ (>16 คะแนน) เกรดบี (12-16 คะแนน) และเกรดซี (<12-16 คะแนน) ร้อยละ 47.1 29.4 และ 23.5 ตามลำดับ และอาหารว่างที่จัดอยู่ในกลุ่มคุณภาพอาหารเกรดเอ บี และซี เท่ากับร้อยละ 52.9 41.1 และ 6.0 ตามลำดับ หลังจากนั้น รายการอาหารกลุ่มซี 5 รายการถูกนำมาดัดแปลงเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านโภชนาการ และได้อาหารในเกรดเอ 3 รายการ และเกรดบี 2 รายการ การดัดแปลงอาหารกลางวันในเกรดซีพบว่า ปริมาณน้ำตาลมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
p value<0.05 ดังนั้น อาหารกลางวันส่วนใหญ่ของศูนย์เด็กเล็กเทศบาลจุนมีคุณภาพด้านโภชนาการและสารอาหารครบถ้วน รายการอาหารกลางวันเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอื่นๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพด้านโภชนาการของอาหารกลางวัน และเป็นการส่งเสริมให้เกิดภาวะโภชนาการที่ดีในเด็กวัยก่อนเรียนได้
References
กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2546.
ค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2563, จาก http://nutrition.anamai.moph.go.th/ images/file / ปริมาณสารอาหาร.pdf
ณัฎฐิรา ทองบัวศิริไล. (2557). คู่มือการจำแนกอาหาร ขนม นม และ เครื่องดื่มตามมาตรฐานโภชนาการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
บุญชอบ เกษโกวิท, & ทรงพล ตั้งศรีไพร. (2560). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยก่อนเรียนในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี. วารสารกรมการแพทย์, 42(6), 129-134.
เบญจพรรณ ธิติเลิศเดชา. (2560). กลุ่มพัฒนาอนามัยแม่และเด็ก ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. พัฒนาสํารับอาหาร เพื่อสุขภาพสําหรับเด็กปฐมวัย กรณีศึกษาศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี. ค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2563, จาก https://apps.hpc.go.th/dl/web/ upFile/2018/08-4245-20180816042129/.pdf
ประไพพิศ สิงหเสม, ศักรินทร์ สุรรณเวหา, & อติญาณ์ ศรเกษตริน. (2560). การส่งเสริมโภชนาการในเด็กวัยก่อนเรียน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(3), 226-235.
วันทนีย์ เกรียงสินยศ และคณะ. (2559). องค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการสำหรับทุกช่วงวัย. กรุงเทพฯ: ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ สำนักอาหารสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.
วีรวัลย์ ศิรินาม. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตำบลบ้านกลาง อำเภอ
สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ศักรินทร์ สุวรรณเวหา, อมาวสี อัมพันศิริรัตน์, & วิภารัตน์ สุวรรณไวพัฒนะ. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียน:การทบทวนวรรณกรรม อย่างเป็นระบบ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 25(2), 8-24.
ศิริภาภรณ์ โมทย์ม่วง. (2561). ภาวะโภชนาการของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลจุน จังหวัดพะเยา. การศึกษาอิสระปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพะเยา.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2557). การจำแนกอาหาร ขนม นม และ เครื่องดื่มตามมาตรฐานโภชนาการ. ค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2563, จาก http://nutrition.anamai.moph.go.th/ewtadmin/ ewt/nutrition/images/file/2.คู่มือจำแนกอาหาร%20ขนม %20นมและเครื่องดื่มตามมาตรฐานโภชนาการ.pdf
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการในคลินิกสุขภาพเด็กดี. ค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2563, จาก http://nutrition.anamai.moph.go.th/images/file/คู่มือส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ_ในคลินิกสุขภาพเด็กดี.pdf
อุไรพร จิตต์แจ้ง. (2557). หลักการการพัฒนาและคุณค่าสารอาหารของมาตรฐานอาหารกลางวันสำหรับเด็กไทย สำหรับบุคลากรสาธารณสุข. ค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2563, จาก https://www.thaischoollunch.in.th/download/ThaiSchool Lunch-01.pdf
Food and Nutrition Board, Institute of Medicine. (2011). Dietary Reference Intakes (DRIs): Recommended intakes for all individuals. Washington DC: National Academy of Sciences.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.