ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการคัดแยกขยะมูลฝอยของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ขยะมูลฝอย, การคัดแยกขยะมูลฝอย, นักศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการคัดแยกขยะมูลฝอยในมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคามและ ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการคัดแยกขยะมูลฝอยของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ประชากรคือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 11,909 คน โดยคำนวณขนาดตัวอย่างได้ 427คน มีการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอนและรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2561 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2562 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่าสูงสุด ต่ำสุด และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะมูลฝอยอยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.80 (S.D.=1.20) การคัดแยกขยะมูลฝอยอยู่ในระดับประจำ มีค่าเฉลี่ย 2.39 (S.D.=0.57) เจตคติเกี่ยวกับการคัดแยกขยะมูลฝอยอยู่ในระดับสูง คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.59 (S.D.=0.49) ซึ่งมีการรับรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะมูลฝอยอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.74 (S.D.=0.45) และผลการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการคัดแยกขยะมูลฝอยของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พบว่า เพศ อายุ คณะ ชั้นปี ปัจจัยด้านความรู้ ปัจจัยด้านเจตคติ ปัจจัยด้านการรับรู้ มีความสัมพันธ์ต่อการคัดแยกขยะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ดังนั้น มหาวิทยาลัยควรมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้มีรูปแบบในการคัดแยกที่เป็นระบบและเป็นรูปธรรม ทั้งนี้เนื่องจากนักศึกษามีความรู้ เจตคติและการปฏิบัติที่ดี ซึ่งจะก่อให้เกิดการดำเนินการในการคัดแยกขยะอย่างต่อเนื่อง รวมถึงควรมีการประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมสื่อและการรณรงค์ เพื่อให้เกิดความตระหนัก โดยจะส่งผลต่อการแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน ซึ่งจะส่งผลดีต่อมหาวิทยาลัยในการจัดการขยะมูลฝอยได้เป็นอย่างดี
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2560). โครงการทำความดีด้วยหัวใจลดภัยสิ่งแวดล้อม. ค้นเมื่อ 4 มกราคม 2562, จาก https://www.pcd.go.th/
กรมควบคุมมลพิษ. (2560). สถานการณ์ขยะมูลฝอยในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 1 มกราคม 2562, จาก https://www.pcd.go.th
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). นโยบายการจัดการขยะมูลฝอย. ค้นเมื่อ 1 มกราคม 2562, จาก https://www.pcd.go.th/
จอมจันทร์ นทีวัฒนา, & วิชัย เทียนถาวร. (2560). ความรู้และทัศนคติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการลดขยะชุมชนแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), 25(2), 316-330.
ทักษิกา ชัชวรัตน์, จรรยา แก้วใจบุญ, & วรรณิภา เวียงคํา.. (2560). การรับรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการจัดการขยะของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา, 19(2), 168-179.
นโยบายประชารัฐ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. ค้นเมื่อ 14 มกราคม 2562, จาก http://www.library2.parliament.go.th
บุญจง ขาวสิทธิวงษ์. (2554). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคัดแยกมูลฝอยชุมชน: ศึกษากรณีเขตยานนาวาและเขตบางกะปิ.วารสารพัฒนาสังคม, 13(1), 33-58.
ประพาพร แก่นจันทร์, เสน่ห์ จุ้ยโต, & ชินรัตน์ สมสืบ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(3), 295-302.
ประภาพร แก้วสุกใส. (2549). การศึกษาเพื่อหาแนวทางในการจัดการขยะมูลฝอยของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์. ปริญญานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์.
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. (2561). ข้อมูลทั่วไปของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ค้นเมื่อ 16 มกราคม 2562, จาก https://www.rmu.ac.th/
มัณฑนา กลมเกลียว. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมในเขตมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ค้นเมื่อ 14 มกราคม 2562, จาก http://mkho.moph.go.th/research2018/showdata2.php?id=87
ศุภษร วิเศษชาติ, สมบัติ ศิลา, & สุนิศา แสงจันทร์. (2560). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยของประชาชนชุมชนที่2 เมืองวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 5(2), 422-445.
สมเจตน์ ทองดำ, & จินตนา ศิริบูรณ์พิพัฒนา. (2561). ผลกระทบทางด้านสุขภาพของแรงงานคุ้ยขยะในหลุมฝังกลบขยะเทศบาลเมืองวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 20(1), 14-27.
สมพงษ์ แก้วประยูร. (2558). ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สำนักงานสถิติ จังหวัดมหาสารคาม. (2561). รายงานสถิติจังหวัดมหาสารคาม. ค้นเมื่อ 14 มกราคม 2562, จาก http://www.mahasarakham.nso.go.th
สำนักประชาสัมพันธ์จังหวัดพิจิตร. (2560). ประโยชน์ของการคัดแยกขยะมูลฝอย. ค้นเมื่อ 14 มกราคม 2562, จาก http://www.pr.prd.go.th
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2547). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.