ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในเขตรับผิดชอบคลินิกหมอครอบครัวศูนย์แพทย์โนนหนามแท่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • วิทวัส คอยคำ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เบญจา มุกตพันธุ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, ปัจจัย, คุณภาพชีวิต, , ผู้สูงอายุ, ปัจจัย

บทคัดย่อ

 

ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเป็นประเด็นที่สำคัญทางด้านสาธารณสุข การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านต่างๆ กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในเขตรับผิดชอบคลินิกหมอครอบครัวศูนย์แพทย์โนนหนามแท่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง ในผู้สูงอายุที่มีอายุ ≥60 ปี จำนวน 285 คน เก็บข้อมูลคุณภาพชีวิตโดยใช้แบบสัมภาษณ์คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การอนามัยโลก ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-OLD-THAI) และเก็บข้อมูล ลักษณะส่วนบุคคล ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว/สังคม ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ความเครียด และสิ่งแวดล้อม โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เก็บข้อมูลระหว่างกุมภาพันธ์–เมษายน พ.ศ. 2563 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านต่างๆ กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยใช้สถิติถดถอยพหุโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 57.1 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 71.7±8.2 ปี ไม่ได้ประกอบอาชีพร้อยละ 48 ไม่เคยออกกำลังกายร้อยละ 35.1 ได้รับการดูแลจากลูกหลานร้อยละ 69.8 มีความเครียดระดับต่ำร้อยละ 62.9 มีสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับดีร้อยละ 96.1 กลุ่มตัวอย่างถูกจัดเป็นกลุ่มติดสังคมร้อยละ 94 กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตในระดับปานกลางและระดับดีร้อยละ 68.8 และ 27.3 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตที่ดีของกลุ่มตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ กลุ่มที่มีอายุ <70 ปี (ORadj 2.28, 95% CI: 1.22-4.24, p-value=0.009) ยังประกอบอาชีพ (ORadj 2.83, 95% CI: 1.44-5.55, p-value=0.002)  การศึกษาสูงกว่าประถมศึกษา (ORadj 4.81, 95% CI: 1.81-9.32, p-value=0.001) ออกกำลังกาย ≥1 ครั้ง/สัปดาห์ (ORadj 2.81, 95% CI: 1.37-5.77, p-value=0.005) โดยสรุป สองในสามของผู้สูงอายุกลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตในระดับปานกลาง ควรส่งเสริมการประกอบอาชีพโดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่ได้ประกอบอาชีพ และจัดกิจกรรมออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้ดีขึ้น

Author Biography

เบญจา มุกตพันธุ์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

 

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. 2559. แบบประเมินความเครียด (ST5). ค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2562, จาก https://www.dmh.go.th/test/qtest5/

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2557. แบบประเมินผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพ ตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน. ค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2562. จาก http://hpc9.anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=508&filename=old

เด่น นวลไธสง, & สุภาภรณ์ สุดหนองบัว. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลวังไม้ขอบ อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 11(1), 89-103.

ธาริน สุขอนันต์, สุภาวัลย์ จาริยะศิลป์, ทัศนันท์ ทุมมานนท์ม & ปิยรัตน์ จิตรภักดี. (2554). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 41(3). 240-249

นริสา วงศ์พนารักษ์, & สายสมร เฉลยกิตต์. (2557). การศึกษาในผู้สูงอายุไทย. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 64-69.

ภัทรพงษ์ เกตุคล้าย, & วิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น, 19(2), 55-64.

ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2558). สภาพจิตใจของผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 16 กันยายน 2562, จาก https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/07172014-1131.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2560). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: พริ้นเทอรี่.

รติมา คชนันทน์. (2561). สังคมผู้สูงอายุกับการขับเครื่องเศรษฐกิจไทย. ค้นเมื่อ 16 กันยายน 2562, จาก https://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2561/jul2561-1.pdf

วัชรากรณ์ ชีวโศภิษฐ. (2562) สังคมผู้สูงอายุ: ปัจจัยการตลาดที่เปลี่ยนไป. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(1), 38-54.

วาสนา เล่าตง. (2555). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายในเขตเทศบาลตำบลเกาะสีชัง อําเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิไลพร ขำวงษ์, จตุพร หนูสวัสดิ์, วรารัตน์ ประทานปัญญา, & จิดาภา ศิริปัญญา. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 5(2), 32-39.

วีรพงษ์ ยางเดี่ยว. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตสผู้สูงอายุในเขตชนบทจังหวัดยโสธร. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรม หาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศรันยา สถิตย์. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในตำบลเกาะขนุน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารราชนครินทร์, 13(30), 133-141.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร, ภาวนา พัฒนศร, & ธนิกานต์ ศักดาพร. (2560). ชุดความรู้: การพัฒนาเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ. กรุงเทพฯ: มาตา.

เสาวณีย์ ระพีพรกุล. (2560). ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบึงคำพร้อยหมู่ 11 อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น, 9(1), 153-165.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. (2552). ยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มที่ 1: นิคมขี้ทูต. ค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2562, จาก http://elibrary.trf.or.th/project_programs.asp?pgid=AY.

สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2555). คู่มือการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ. ค้นเมื่อ 16 กันยายน 2562, จาก http://hp.anamai.moph.go.th/main.php? filename=index5

สำนักงานสถิติจังหวัดอำนาจเจริญ. (2560). ผู้สูงอายุจังหวัดอำนาจเจริญ. ค้นเมื่อ 16 กันยายน 2562, จาก https://bit.ly/3giu2KJ

Best, J. W. (1981). Research in education. New Jersey: Prentice-Hall.

Hongthong, D., Somrongthong, R., & Ward, P. (2015). Factors influencing the Quality of Life (Qol) among Thai older people in a rural area of Thailand. Iranian Journal of Public Health, 44(4), 479–485.

Hosmer, D. W., Lemeshow, S., & Cook, E. D. (2000). Applied logistic regression. New York: Wiley.

Hsieh, F. Y., Bloch, D. A. & Larson, M. D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine, 8, 1623-1634.

World Health Organization. (1997). Measuring quality of life. Retrieved 16 September 2019, from https://apps.who.int/ iris/bitstream/handle/10665/63482/WHO_MSA_MNH_PSF_97.4.pdf?sequence=1&isAllowed=y

World Health Organization. (2006). WHO-QoL Old manual. Copenhagen: WHO European Office.

World Health Organization. (2019). Ageing and Health. Retrieved 16 September 2019, from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ageing-and-health

Yodmai, K., Phummarak, S., Sirisuth, J. C., Kumar, R., & Somrongthong, R. (2015). Quality of life and fear of falling among an aging population in semi rural, Thailand. Journal of Ayub Medical College, Abbottabad, 27(4), 771–774.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-23

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ