พฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนแวงน้อยศึกษา จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • นวารินทร์ พันธุ์ชัยภูมิ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พิษณุ อุตตมะเวทิน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหาร, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงตามความเจริญก้าวหน้าของเศรษฐกิจ สังคม กระแสนิยมบริโภคส่งผลให้เกิดปัญหาทางโภชนาการ รวมทั้งการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารและปัจจัยที่อิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกบริโภคของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนแวงน้อยศึกษา จังหวัดขอนแก่น เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา แบบภาคตัดขวาง Cross-sectional Descriptive Study กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวน 173 คนใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling)  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 31 มีนาคม 2563

ผลการศึกษาส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารปิ้งย่าง พฤติกรรรมการบริโภคอาหารดิบ พฤติกรรมการบริโภคอาหารเสริมและเครื่องดื่ม และพฤติกรรมการบริโภคอาหารต่างชาติ อยู่ในระดับไม่เหมาะสม ร้อยละ 78.61, 82.08, 67.05 และ 76.88 ตามลำดับ ด้านปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารได้แก่ ปัจจัยนำที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหาร พบว่า นักเรียนมีระดับความรู้ในการบริโภคอาหารอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 52.02 (คะแนนเฉลี่ย 11.04±2.13 ) จากคะแนนเต็ม 16 คะแนน ทัศนคติต่อการบริโภคอาหารอยู่ในระดับดี ร้อยละ 60.69 ฐานนิยม 1.65 ด้านปัจจัยเอื้อที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหารภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ฐานนิยม 1.69 ร้อยละ 66.74 ด้านปัจจัยเสริมที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหารภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ฐานนิยม 1.69 ส่วนใหญ่มีปัจจัยเสริมอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 60.12 พฤติกรรมการบริโภคอาหารในภาพรวมอยู่ในระดับไม่เหมาะสม ร้อยละ 74.57 ฐานนิยม 1.52

ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหาร ได้แก่ ปัจจัยนำด้านความรู้ในการบริโภคอาหาร และปัจจัยเอื้อที่เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร พบว่า ด้านความรู้ในการบริโภคอาหารของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่อยู่ในระดับปานกลางและระดับต่ำ มีพฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารไม่เหมาะสมมากกว่านักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความรู้ในการบริโภคอาหารอยู่ในระดับดีถึง 2.62 เท่า และด้านปัจจัยเอื้อที่เกี่ยวกับการบริโภคอาหารของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีปัจจัยเอื้ออยู่ในระดับดีและระดับปานกลาง มีพฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารไม่เหมาะสมมากกว่านักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายมีปัจจัยเอื้อในระดับต่ำถึง 2.32 เท่า ปัจจัยทั้งหมดนี้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % CI

ข้อเสนอแนะ ควรมีการจัดให้ความรู้เพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเลือกบริโภคอาหารให้เหมาะสมตลอดจนการจัดสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอาหารที่เหมาะสมภายในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเลือกบริโภคอาหารให้เหมาะสมกับสุขภาพร่างกาย และค่านิยมที่เหมาะสม

 

 

 

 

References

กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มส่งเสริมป้องกัน งานโภชนาการ. รายงานอัตราวัยรุ่น 15-18 ปี สูงดีสมส่วน Health Data Center: HDCศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2561

กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2555). การสำรวจสถานการณ์ภาวะโภชนาการ. กรุงเทพฯ: กองโภชนาการ.

ณิตชาธร ภาโนมัย, & ธนพร นังตะลา. (2556). การรับรู้และพฤติกรรมการบริโภคกาแฟสดของบุคลากรทางด้านสาธารณสุข ในเขตอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 10(3), 38-43.

ทัศนา ศิริโชติ . (2555). รายงานการวิจัย ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. สงขลา: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

นลินี จงวิริยะพันธุ์, เรืองวิทย์ ตันติแพทยางกูร, & นฤมล เด่นทรัพย์สุนทร. (บรรณาธิการ). (2556). โภชนาการในเด็กและวัยรุ่น: ประเด็นที่ควรรู้. กรุงเทพฯ: ชมรมโภชนาการเด็กแห่งประเทศไทย.

พิภพ จิรภิญโญ, นฤมล เด่นทรัพย์สุนทร, ดวงเดือน ชินรุ่งเรือง, เรณู วงษ์อาน, & นุชน้อย ธรรมมนศิริ. (2548). ความเสี่ยงสัมพันธ์ในการมีน้ำหนักเกินและในการเป็นโรคอ้วนในเด็ก ภายหลัง 6 ปีในโรงเรียนมัธยมศึกษา. จดหมายเหตุทางแพทย์, 88(5), 615-654.

พิษณุ อุตตมะเวทิน. (2560). การแก้ปัญหาพฤติกรรมการปรุงและบริโภคเนื้อดิบในประชาชนโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของ อบต. และร้านค้า. ขอนแก่น: ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิโรจน์ ตระกูลสุขสันต์, & อิทธิกร ขำเดช. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารสำเร็จรูปแช่แข็งจากร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ, 3(2), 431-452.

สำนักตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แผนการตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

อดิษา สังขะทิพย์, & สุวลี โล่วิรกรณ์. (2560). พฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในตำบลกุดปลาดุก อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 19(1), 178-189.

อรุณ จิรวัฒน์กุล และคณะ. (บรรณาธิการ). (2557). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

Popkin, B. M. (2004). The nutrition transition: An overview of world patterns of change. Nutrition reviews, 62(suppl. 2), S140-S143.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-23

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ