ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ของผู้ปกครอง ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สุพิชญา หอมทอง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ชนัญญา จิระพรกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เนาวรัตน์ มณีนิล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

คำสำคัญ:  พฤติกรรมการป้องกันโรค โรคมือ เท้า ปาก  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

บทคัดย่อ

โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคติดต่อสำคัญทางสาธารณสุขที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของพฤติกรรมการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ของผู้ปกครอง และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ของผู้ปกครอง  ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เป็นการศึกษาแบบ Cross-sectional Analytical Study กลุ่มตัวอย่างจำนวน 221 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ระหว่างวันที่ 9 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 10 เดือนเมษายน พ.ศ. 2563 วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ด้วยสถิติพหุถดถอยแบบลอจิสติก (Multiple logistic regression) นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Adjusted Odds ratio (ORadj) และค่า 95% Confidence interval (95% CI)

ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ของผู้ปกครอง ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) เมื่อควบคุมผลกระทบจากตัวแปรอื่นๆ ในสมการสุดท้าย คือ ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือสูงกว่า (ORadj=3.02, 95% CI=1.71-5.31; p-value=<0.001) และผู้ที่มีระดับความรู้ระดับสูง (≥ 80%) (ORadj=1.82, 95% CI=1.04-3.19; p-value=0.035) และความชุกของพฤติกรรมการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ระดับดี ร้อยละ 57.5 (95% CI=50.8-64.0)

ดังนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และคุณครูประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควรมีการจัดอบรมให้ความรู้เรื่อง โรคมือ เท้า ปาก โดยเน้นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก เพื่อให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงความรุนแรงของโรคที่อาจจะเกิดขึ้น

References

กชกร เป็นแผ่น. (2552). การปฏิบัติของผู้ดูแลและผู้ปกครองในการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ของเด็กที่รับการดูแลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาล

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กนกวรรณ นวนเกิด และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ของผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข, 30(1), 107-119.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2550). แนวทางการปฏิบัติงานโรคมือ เท้า ปาก และโรคติดเชื้อเอนเทอโรคไวรัส 71 สำหรับบุคลากรการแพทย์และสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่น. (2559). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงาน. (เอกสารอัดสำเนา).

กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา. (2562). ภูมิอากาศจังหวัดขอนแก่น. ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2562, จาก https://sl.moph.go.th/MHO-KOA.

คณะทำงานจัดทำแนวทางการวินิจฉัยและดูแลรักษาโรคมือ เท้า ปาก. (2555). แนวทางการวินิจฉัยโรคมือ เท้า ปาก สำหรับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์. ค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2562, จาก http://www.dms.moph.go.th/dmsweb/main_page/ hand_foot_mouth/HFMD%20CPG.pdf .

จันทราวดี พรมโสภณ, & สมคิด ปราบภัย. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากของผู้ปกครองและเด็กก่อนวัยเรียน อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารควบคุมโรค, 43(4), 356-367.

จีระพงษ์ ทะนงศักดิ์ศรีกุล, ผ่องศรี ทองทวี, & พจนีย์ ศรีมาโนชญ์. (2557). โรคมือเท้าปาก: ไวรัสก่อโรคและการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ. วารสารเทคนิคการแพทย์, 42(1), 47-67.

ชฎาพร อินต๊ะ, ศิริญาพร สิทธิสาร, พิลาสินี วงษ์นุช, ผุสดี ลออ, ญาณสินี สุมา, กรกช จันทร์เสรีวิทยา, และคณะ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อโรคมือ เท้า ปาก ของเด็กที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพวารสาร, 25(1), 1-21.

ดาว เวียงคำ, จุฑามาศ ผลมาก, ปรัชญาพร ธิสาระ, & สุทิตย์ เสมอเชื้อ. (2560). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(2), 16-24..

ทัศนีย์ พาณิช์กุล, & สุชาดา โทผล. (2552). โรคมือ เท้า ปากในเด็ก. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 39(2), 214.

นิธิพงศ์ ศรีเบญจมาศ, กิ่งแก้ว สำรวยรื่น, & วิภาดา ศรีเจริญ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ของผู้ปกครองเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสาร PSRU Journal of Science and Technology, 2(3), 9-19.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2546). คู่มือการวิจัย: การเขียนรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: จามจุรี.

พัชราภรณ์ บดีรัฐ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรค มือ เท้า ปาก ของผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กก่อนวัยเรียน ในศูนย์เด็กเล็ก อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศิริรัตน์ ปานโต, & อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. (2561). ความรู้และทัศนคติที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ของผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนเขตตำบลบ้านหมอ อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน, 1(2), 30-40.

สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). คู่มือการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เลี้ยงเด็กสำหรับผู้ดูแลเด็ก. กรุงเทพฯ: อาร์ต ควอลิไฟท์.

สมนึก เลิศสุโภชวณิชย์, มัลลิกา ผดุงหมาย, วรยุทธ นาคอ้าย, & พรศักดิ์ อยู่เจริญ. (2561). ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติเกี่ยวกับการปองกันควบคุมโรคติดต่อในเด็กของผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองเด็กปี 2560.วารสารกรมควบคุมโรค, 44(2), 207-216.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. (2562). ข้อมูลเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคติดต่อ (รง. 506). ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2562, จาก https://sl.moph.go.th/c42KZCE

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). สรุปรายงาน การเฝ้าระวังโรคประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: สำนักระบาดวิทยา.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). สรุปสถานการณ์จากการเฝ้าระวังโรค 506. ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2562, จาก http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/y61/rate_HFM_61.rtf

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2554). แนวทางการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็ก (สำหรับครูและผู้ดูแล) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2554). องค์ความรู้ (Factsheet) เรื่องโรคติดต่ออุบัติใหม่. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สิวารีย์ พิมพ์ประเสริฐ. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากของมารดาเด็ก กรณีศึกษาศูนย์เด็กเล็ก ตำบลประชาสุขสันต์ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุรเกียรติ อาชานุภาพ. (2553). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

อำพัน ไชยงำเมือง. (2552). การปฏิบัติของผู้ดูแลในการป้องกันโรคมือ เท้า และ ปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอเมืองเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชการพยาบาลชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Best, J. W. (1977). Research in Education (3rd ed). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Bloom, B. S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York:

McGraw–Hill.

Chang, L. Y., King, C. C., Hsu, K. H., Ning, H. C., Tsao, K. C., Li, C. C., et al. (2002). Risk factors of enterovirus 71 infection and associated hand, foot, and mouth disease/herpangina in children during an epidemic in Taiwan. Pediatrics, 109(6), e88.

Hsieh, F. Y., Bloch, D. A., & Larsen, M. D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine, 17(14), 1623–1634.

World Health Organization. (2018). Regional Office for the Western Pacific. Manila: organization.

Yin, X., Yi, H., Shu, J., Wang, X., Wu, X., & Yu, L. (2014). Clinical and epidemiological characteristics or adult hand, foot, and mouth disease in northern Zhejiang, China, May 2008 – November 2013. BMC Infectious Diseases, 14(1), e251.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-23

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ